ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจขององค์การอนามัยโลก โดยมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เกรนาดา ระบุว่าเราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพจิต

องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงที่สุดอย่างหนึ่ง ตามด้วยการฆ่าตัวตายซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับรองลงมาในประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-29 ปี การที่จะชี้ชัดว่ามีผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านสุขภาพจิตทั่วโลกจำนวนเท่าใดในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักเก็บความทุกข์ทรมานอยู่อย่างเงียบ ๆ ไม่เปิดเผย

มีเหตุผลมากมายที่ทำให้คนเราต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตหรือด้านจิตวิทยา ซึ่งเหตุผลอาจมาจากหลากหลายปัจจัยรวมกัน เช่น ภาวะกระทบกระเทือนทางจิตใจหลังเหตุการณ์รุนแรง ความเครียดจากการงาน หรือปัญหาในครอบครัว รวมถึงการที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบอย่างในวงกว้าง แต่ยังสร้างอุปสรรคอื่น ๆ ทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่มีใครคาดคิดหรือมีประสบการณ์มาก่อน ถึงแม้ว่าโลกจะค่อย ๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่าสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ได้นำมาซึ่งผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ต่อผู้คนจำนวนมาก

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกในปี 2563 ที่เข้าร่วมโดย 130 ประเทศรวมถึงประเทศไทย พบว่าสถานการณ์โรคระบาดสร้างผลกระทบต่อการให้บริการด้านสุขภาพจิตที่สำคัญถึงร้อยละ 93 ของประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจ  โดยมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เกรนาดา เวสต์อินดี้ ยังคงเดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสุขภาพจิตที่ดี

ที่ศูนย์ให้บริการด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เกรนาดา เวสต์อินดี้ ให้ความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่เราสื่อสารกันก็คือ ความผิดปกติด้านสุขภาพจิตทุกอย่างสามารถรักษาได้ และทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้เมื่อทุกคนช่วยกันคิดและช่วยกันทำ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถพูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของตัวเองได้อย่างสบายใจ ดังนั้นคำแนะนำที่เราให้กับบุคคลที่กลัวหรือมีความกังวลแทนผู้อื่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นเรื่องสำคัญมากเท่ากับการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่กำลังประสบปัญหา

แม้การทำงานด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพจิต แต่การบูรณาการความร่วมมือมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างผลสัมฤทธิ์ เราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และ สร้างแนวทางใหม่ที่จะแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพจิต

ปัญหาด้านสุขภาพจิตจะยังไม่หายไปในระยะเวลาอันใกล้ แต่อย่างไรก็ดีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาและความสามารถที่จะรับฟังเกี่ยวกับปัญหานี้จะช่วยคลี่คลายทัศนคติในแง่ลบที่ผู้คนมีเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตได้ ทุกบทสนทนาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตไม่ว่าจะสั้นหรือยาวสามารถที่จะผลักดันให้ผู้คนเปิดเผยความรู้สึกและรับความช่วยเหลือที่ต้องการได้

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จและโอกาสทางการศึกษาต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดรับ โปรดเยี่ยมชมที่ SGU International webpage for East Asia เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *