แนะนำ “มหาวิทยาลัย” ทั่วไทย เรียนที่ไหนดี EP.1 #มหาวิทยาลัยภาคเหนือ

เริ่มต้นกันด้วยภาคเหนือ ภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะเป็นทิวเขา ภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะ ในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน ทำให้กลายเป็นแหล่งชุมชนสำคัญของภาค อีกทั้งยังมีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนา และยังมีมหาวิทยาลัยที่สำคัญอยู่หลาย ๆ แห่ง ดังนี้

1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยโดยอยู่ในกำกับของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2501 พร้อมทั้งได้มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 นำโดยนายกีและนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ  ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน “โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย” เมื่อปี พ.ศ. 2549

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดการเรียนการสอนใน 21 คณะ 3 วิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย และมีสถาบันวิจัย 4 สถาบันโดยเปิดสอนในระดับปริญญาตรีมีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะจำนวน 340 หลักสูตร โดยมีการจำแนกหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข และหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และแบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติม

จุดเด่นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง มหาวิทยาลัยนี้ถือได้วาเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือ และนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งแล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมล้านนาอันมีวัฒนธรรมยาวนานกว่า 700 ปี โดยเป็นสถานที่จัดงานและศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรมมากมาย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดเป็นสถาบันศึกษาที่มีสิ่งแวดล้อมร่มรื่นเอื้ออำนวยต่อบรรยากาศการศึกษาและการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ภายในอาณาบริเวณกว่า 8,502 ไร่ และเนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก (ประมาณ 4 กม.) ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ จึงทำให้เป็นมหาวิทยาลัยในเมืองซึ่งนักศึกษายังสามารถออกมาหาความแปลกใหม่ของเมือง และกลับไปสู่บรรยากาศความอบอุ่นแบบล้านนาได้อย่างครบถ้วน

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะมนุษยศาสตร์ 15,000 บาท
คณะศึกษาศาสตร์ 15,000 บาท
คณะวิจิตรศิลป์ 15,000 บาท
คณะสังคมศาสตร์ 15,000 บาท
คณะวิทยาศาสตร์ 16,000 บาท
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 16,000 บาท
คณะแพทยศาสตร์ 20,000 บาท
คณะเกษตรศาสตร์ 16,000 บาท
คณะทันตแพทยศาสตร์ 20,000 บาท
คณะเภสัชศาสตร์ 20,000 บาท
คณะเทคนิคการแพทย์ 20,000 บาท
คณะพยาบาลศาสตร์ 20,000 บาท
คณะอุตสาหกรรมเกษตร 16,000 บาท
คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ 20,000 บาท
คณะบริหารธุรกิจ 15,000 บาท
คณะเศรษฐศาสตร์ 20,000 บาท
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 29,000 บาท
คณะการสื่อสารมวลชน 20,000 บาท
คณะรัฐศาสตร์ 15,000 บาท
คณะนิติศาสตร์ 15,000 บาท
วิทยาลัยสื่อศิลปะและเทคโนโลยี อนิเมชั่น 35,000 บาท
วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล 55,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าเทอมที่กล่าวมาเป็นค่าเทอมเริ่มต้น ขึ้นอยู่กับสาขาแยกย่อยเพิ่ม

 

2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ”  พ.ศ. ๒๕๓๙ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เพื่อขยายขอบเขตการให้การศึกษาและเกิดความคล่องตัวทางวิชาการและการบริหารมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกโดยมีความหลากหลายในสาขาวิชานอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมซึ่งแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมถึงยังมีการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ โดยวิทยาเขตแรกคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 20 ในประเทศไทย

จุดเด่นและเอกลักษณ์ซึ่งเป็นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม คือ “คาวบอย” เพราะเป็นสัญลักษณ์ของการเกษตรและสัตวศาสตร์ ทุกปีจะมีงานคาวบอยไนท์ ลูกแม่โจ้ทุกคนจะแต่งชุดคาวบอยเข้าร่วมงาน ไม่เว้นแม้แต่อธิการบดี บางสาขาสามารถใส่ชุดคาวบอยเข้าเรียนได้ (แต่ต้องสุภาพและดูเรียบร้อย)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เชียงใหม่

คณะผลิตรรมการเกษตร 9,850 บาท
วิทยาลัยพลังงานทดแทน 9,850 บาท
คณะสัตวสาสตร์และเทคโนโลยี 9,850 บาท
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม 9,850 บาท
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ 9,850 บาท
คณะบริหารธุรกิจ 8,850 บาท
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว 6,850 บาท ยกเว้นสาขาวิชาจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ 23,850 บาท
คณะเศรษฐศาสตร์ 8,850 บาท ยกเว้นสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างต่างประเทศ 19,500 บาท
คณะศิลปศาสตร์ 9,850 บาท ยกเว้นสาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างปะเทศ 16,800 บาท
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร 9,850 บาท
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 11,350 บาท
คณะวิทยาศาสตร์ 9,850 บาท ยกเว้น สาขาวิชานวัฒกรรมเคมีอุตสาหกรรม 22,000 บาท
วิทยาลัยบริหารศาสตร์ 11,850 บาท
วิทยาลัยนานาชาติ 37,000 บาท
คณะพยาบาลศาสตร์ 45,000

จังหวัดแพร่-แพร่เฉลิมพระเกียรติ

สาขาวิชาเทคโนโลยีารผลิตพืช/เทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมการเกาตร/เทคโนโลยีการผลิตสัตว์/เกษตรป่าไม้/เทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ 10,850 บาท
สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว/รัฐศาสตร์/บัญชี/จัดการชุมชน/ 9,350 บาท

จังหวัดชุมพร-ชุมพร

สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง/เทคโนโลยีการผลิตพืช/การท่อง
เที่ยวเชิงบูรณาการ 9,850 บาท
สาขาวิชาารจัดการสำหรับผู้ประกอบการ/การเมืองและการปกครองท้องถิ่น 8,350 บาท

หมายเหตุ
1.ยังไม่รวมค่าหอพักนักศึกษา
2.ยังไม่รวมค่ากิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาใหม่
3.ภาคการเรียนที่ 2 เป็นต้นไป จะคำนวณจากจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน

 

3 มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มต้นจากการเป็น “วิทยาลับวิชาการศึกษาพิษณุโลก” เมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 13 ปี โดยเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาแห่งแรกที่ 4 รองจาก ประสานมิตร ปทุมวัน และบางแสน ตามลำดับ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของสถานที่ นักศึกษารุ่นแรกจึงต้องถูกฝากให้ไปเรียนยังวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน และวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน แห่งละ 60 คน และกลับมาเรียนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกตามปกติในปีต่อมา

ต่อมาในปี 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ของวิทยาลัยวิชาการศึกษาในขณะนั้นจึงได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยด้วย โดยเป็นวิทยาเขตหนึ่งของ มศว. ซึ่งมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร และในปี 2522 มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตกระทรวงมหาดไทยใช้ที่ดินบริเวณทุ่งหนองอ้อ ปากคลองจิก เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค

จนกระทั่งปี 2527 มศว. วิทยาเขตพิษณุโลกจึงได้เลื่อนขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และได้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 107 ตอนที่ 131 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปีของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่แผ่นดินไทย อีกทั้งยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีประสูติกาลและจำเริญวัยที่เมืองพิษณุโลก มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันกำเนิดมหาวิทยาลัย ส่วนชื่อสถาบัน “นเรศวร” นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในปี 2532

มหาวิทยาลัยนเรศวรกลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคเหนือตอนล่างตั้งแต่นั้นมา โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนครบทุกแขนง ยกเว้นสัตวแพทย์ ในตัวมหาวิทยาลัยมีการจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ด้วยมีการถูกระบุในแผนที่ท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับหอศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าเป็นที่แสดงผลงานศิลปะกว่าร้อยชิ้นของศิลปินที่มีชื่อเสียงของเมืองไทย อาทิ ประเทือง เอมเจริญ และชวลิต เสริมปรุงสุข และมีนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชุมชนภาคเหนือตอนล่างอีกด้วย

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะเกษตรศาสตร์ 16,000 บาท
คณะวิทยาศาสตร์ 16,000 บาท
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 16,000 บาท ยกเว้นนานาชาติ 40,000 บาท
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 20,000-25,000 บาท
คณะโลจิสจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน 18,000 บาท
คณะแพทยศาสตร์ 20,000-40,000 บาท
คณะเภสัชศาสตร์ 22,000 บาท-44,000
คณะทันตแพทยศาสตร์ 50,000-100,000 บาท
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ 20,000 บาท
คณะสาธารณสุขศาสตร์ 20,000 บาท
คณะพยาบาลศาสตร์ 20,000 บาท
คณะสหเวชศาสตร์ 22,000 บาท
คณะศึกษาศาสตร์ 15,000 บาท
คณะนิติศาสตร์ 15,000 บาท
คณะมนุษยศาสตร์ 15,000 บาท
คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร 15,000 บาท
คณะสังคมศาสตร์ 15,000 บาท
คณะวิทยาลัยนานาชาติ 40,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าเทอมที่กล่าวมาเป็นค่าเทอมเริ่มต้น ขึ้นอยู่กับสาขาแยกย่อยเพิ่ม

 

4 มหาวิทยาลัยพะเยา

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ขยายเขตการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคได้ใน 11 จังหวัด คือ จังหวัดหนองคาย พะเยา จันทบุรี แพร่ สุราษฎร์ธานี ตรัง สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร และปราจีนบุรี ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงได้จัดทำโครงการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค (จังหวัดพะเยา) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ขึ้นเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นอาคารเรียนชั่วคราว

ต่อมาในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา” และได้ย้ายมาจัดการศึกษา ณ สถานที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2542เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น “มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา” เพื่อเตรียมยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคตต่อไป หลังจากนั้นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. … เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้น และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้แยกตัวออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 5,700 ไร่

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

  • หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต/บริหารธุรกิจบัณฑิต/บัญชีบัณฑิต/รัฐศาสตร์บัณฑิต/รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต/ศิลปศาสตร์บัณฑิต/เศรษฐศาสตร์บัณฑิต 15,000 บาท
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต/บริหารธุรกิจบัณฑิต(ธุรกิจดิจิทัล)/วิทยาศาสตร์บัณฑิต/
    ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต(ดนตรีและนาฏศิลป์) 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 9,000 บาท
  • หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต(การสื่อสารสื่อใหม่)/วิทยาศาสตร์บัณฑิต/วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต/
    ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต(คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมิเดีย/ศิลปะและการออกแบบ)/สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต/
    สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต 21,000 บาท ภาคฤดูร้อน 10,500 บาท
  • หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต/พยาบาลศาสตร์บัณฑิต/การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต/
    วิทยาศาสตร์บัณฑิต
    28,000 บาท ภาคฤดูร้อน 14,000 บาท 

 

5 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541 มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม อยู่ในกำกับดูแลของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ด้วยความตระหนักถึงสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คนในทางการดูแลสุขภาพอนามัย การพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงได้จัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสม บำรุงรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดสวยงาม และจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เพียงพอ เพื่อรองรับชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้สมกับความเป็น “เมืองมหาวิทยาลัย” ที่ผู้คนใช้ชีวิตด้วยความสุขและมีคุณภาพอย่างแท้จริง

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

1. คณะศิลปศาสตร์ (School of Liberal Arts)
  • ภาษาอังกฤษ: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
2. คณะวิทยาศาสตร์ (School of Science)
  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
3. คณะการจัดการ (School of Management)
  • การเงินการธนาคาร: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การบัญชี: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ: 27,500 บาท/เทอม (220,500 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การจัดการการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ: 27,500 บาท/เทอม (220,500 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การจัดการธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การจัดการด้านการตลาด: 40,000 บาท/เทอม (320,000 บาทตลอดหลักสูตร)
4. คณะเทคโนโลยีดิจิทัลประยุกต์ (School of Applied Digital Technology)
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์: 28,000 บาท/เทอม (224,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศเพื่อธุรกิจ: 28,000 บาท/เทอม (224,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การออกแบบดิจิทัล: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว: 32,000 บาท/เทอม (256,000 บาทตลอดหลักสูตร)
5. คณะอุตสาหกรรมเกษตร (School of Agro-Industry)
  • นวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • โภชนศาสตร์และการประกอบอาหาร: 34,000 บาท/เทอม (272,000 บาทตลอดหลักสูตร)
6. คณะนิติศาสตร์ (School of Law)
  • นิติศาสตร์: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • กฎหมายธุรกิจและวิธีระงับข้อพิพาท: 35,000 บาท/เทอม (280,000 บาทตลอดหลักสูตร)
7. คณะวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (School of Cosmetic Science)
  • วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง: 35,000 บาท/เทอม (280,000 บาทตลอดหลักสูตร)
8. คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (School of Health Science)
  • การส่งเสริมสุขภาพ: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • วิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา: 25,000 บาท/เทอม (200,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • เทคโนโลยีการบำบัด: 30,000 บาท/เทอม (240,000 บาทตลอดหลักสูตร)
9. คณะพยาบาลศาสตร์ (School of Nursing)
  • พยาบาลศาสตร์: 38,000 บาท/เทอม (304,000 บาทตลอดหลักสูตร)
10. คณะแพทยศาสตร์ (School of Medicine)
  • แพทยศาสตร์: 50,000 บาท/เทอม (600,000 บาทตลอดหลักสูตร)
11. คณะทันตแพทยศาสตร์ (School of Dentistry)
  • ทันตแพทยศาสตร์:
    • ค่าเทอมพื้นฐาน: 50,000 บาท
    • ค่าวัสดุทันตกรรม: 100,000 บาท/เทอม (รวม 1,800,000 บาทตลอดหลักสูตร)
12. คณะนวัตกรรมสังคม (School of Social Innovation)
  • การพัฒนาระหว่างประเทศ: 35,000 บาท/เทอม (280,000 บาทตลอดหลักสูตร)
13. คณะจีนวิทยา (School of Sinology)
  • จีนศึกษา: 38,000 บาท/เทอม (304,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • ภาษาและวัฒนธรรมจีน: 38,000 บาท/เทอม (304,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • ภาษาจีนธุรกิจ: 38,000 บาท/เทอม (304,000 บาทตลอดหลักสูตร)
  • การสอนภาษาจีน: 35,000 บาท/เทอม (280,000 บาทตลอดหลักสูตร)
14. คณะแพทย์แผนไทยประยุกต์ (School of Integrative Medicine)
    • การแพทย์แผนไทยประยุกต์: 33,000 บาท/เทอม (264,000 บาทตลอดหลักสูตร)
    • การแพทย์แผนจีน: 33,000 บาท/เทอม (264,000 บาทตลอดหลักสูตร)

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลย 

Ep.2 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/10/university-introduction-2/

Ep.3 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคใต้ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/21/university-introduction-3/

EP.4 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคกลาง คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2022/01/05/university-introduction-4/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *