แนะนำ “มหาวิทยาลัย” ทั่วไทย เรียนที่ไหนดี EP.2 #มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “ภาคอีสาน” อยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ นอกจากนี้ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรี และยังมีมหาวิทยาลัยดี ๆ ที่เราอยากแนะนำ

1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาคตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ ของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหาให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีประชากรเป็น ๑ ใน ๓ ของประเทศ ในแต่ละปีต้องเผชิญกับปัญหาภัยแห้งแล้งและผลผลิตทางภาคการเกษตรไม่ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีประชากรที่ยากจนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และได้พระราชทานพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้นเป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควรจะยินดี”

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งสุขภาวะ ด้วยภาพลักษณ์ที่โดดเด่นทางด้านการวิจัยเวชศาสตร์เขตร้อนจากผลงานของศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ความโดดเด่นด้านการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์เขตร้อนในระดับโลก จากผลงานของศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน  ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร  และศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และยังเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านอารยธรรมลุ่มน้ำ มุ่งเน้นความสุขของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ประชาคม นักศึกษา ชุมชนรอบข้าง ตลอดจนสร้างสรรค์สุขภาวะทางกาย ปัญญา และจิตให้กับประชาคมโลกโดยเน้นความโดดเด่นด้านการเป็นผู้ปราชญ์แห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

คณะทันตแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 50,000  บาท

คณะพยาบาลศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,000  บาท

คณะเภสัชศาสตร์

– หลักสูตรปกติ ภาคเรียนละ 18,000  บาท 

– หลักสูตรโครงการพิเศษ ภาคเรียนละ 35,000 บาท

– หลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 50,000 บาท

คณะเทคนิคการแพทย์ ภาคเรียนละ 26,000 บาท

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 35,000  บาท

คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรปกติ ภาคเรียนละ 18,000  บาท

สาขาวิชาอนามัย สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภาคเรียนละ 30,000 บาท

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์

– สาขาวิชา,วิศวกรรมไฟฟ้า,วิศวกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์,วิศวกรรมเครื่องกล,วิศวกรรมเกษตร,วิศวกรรมอุตสาหการ,วิศวกรรมโยธา,วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม,วิศวกรรมเคมี,วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 15,000  บาท

– สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ ภาคเรียนละ 30,000 บาท

– สาขาวิชา,วิศวกรรมโทรคมนาคม หลักสูตรนานาชาติ,วิศวกรรมโลจิสติกส์ หลักสูตรนานาชาติ,วิศวกรรมกระบวนการเคมี หลักสูตรนานาชาติ,วิศวกรรมสื่อดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 45,000 บาท

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

– สาขาวิชา,บัญชีบัณฑิต,บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการเงิน,การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว,การจัดการ การประกอบการพาณิชย์และนวัตกรรม,การจัดการธุรกิจบริการและอีเว้นท์  ภาคเรียนละ 15,000  บาท

– สาขาการจัดการธุรกิจบริการและอีเว้นท์ (กลุ่มเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ภาคเรียนละ 25,000 บาท

– สาขาวิชา,ผู้ประกอบการดิจิทัล,เทคโนโลยีการตลาด ภาคเรียนละ 30,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว (กลุ่มเรียนภาษาอังกฤษ) ภาคเรียนละ 38,000 บาท

– หลักสูตรนานาชาติ (นักศึกษาไทย) ภาคเรียนละ 55,000 บาท

– หลักสูตรนานาชาติ (นักศึกษาต่างชาติ) ภาคเรียนละ 65,000 บาท

คณะเกษตรศาสตร์ ภาคเรียนละ 12,000  บาท

คณะวิทยาศาสตร์

– หลักสูตรปกติ ภาคเรียนละ 12,000  บาท

– หลักสูตรโครงการพิเศษ ภาคเรียนละ 30,000  บาท

คณะเทคโนโลยี ภาคเรียนละ 15,000  บาท

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาคเรียนละ 12,000  บาท

คณะศิลปกรรมศาสตร์

– สาขาวิชา,ทัศนศิลป์,ออกแบบนิเทศศิลป์,นาฏศิลป์ ภาคเรียนละ 10,000  บาท

– สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชา,ดุริยางคศาสตรบัณฑิต กลุ่มวิชาดนตรีไทย,ดุริยางคศาสตรบัณฑิต กลุ่มวิชาดนตรีตะวันตก,ดุริยางคศาตรบัณฑิต กลุ่มวิชาดนตรีพื้นเมือง ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการแสดง ภาคเรียนละ 20,000 บาท

คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรปกติ ภาคเรียนละ 10,000  บาท

สาขาการสอนภาษาอังกฤษให้ผู้มีพื้นฐานภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ภาคเรียนละ 34,500  บาท

วิทยาเขตหนองคาย

– คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ ภาคเรียนละ 10,000  บาท

– คณะศิลปศาสตร์ ภาคเรียนละ 10,000  บาท

– คณะบริหารธุรกิจ ภาคเรียนละ 15,000  บาท

คณะนิติศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,000  บาท

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ภาคเรียนละ 28,000  บาท

คณะเศรษฐศาสตร์

– หลักสูตรปกติ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

– หลักสูตรนานาชาติ (ไม่รวมนักศึกษาต่างชาติ) ภาคเรียนละ 40,000  บาท

 

2 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยที่ยกฐานะมาจาก “วิทยาลัยอุบลราชธานี” สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2533 ในรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ด้วยความมุ่งหมายให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการศึกษาเน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่งกำลังมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศ กึ่งอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่ประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งให้มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปปรับปรุงการประกอบวิชาชีพของตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นต่อไป

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ  ที่เน้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตและประชาชนบนฐานภูมิปัญญาอีสานใต้และอนุ ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พร้อมสร้างสติและปัญญาแก่สังคม บนพื้นฐานความพอเพียง

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการพิเศษ ภาคเรียนละ 30,000 บาท

คณะเกษตรศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 32,000 บาท

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ ภาคเรียนละ 17,500 บาท

คณะบริหารศาสตร์ ภาคเรียนละ 17,500 บาท

คณะบริหารศาสตร์

– สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ภาคเรียนละ 40,000 บาท

– สาขาวิชาการตลาด (แผนฝึกงานด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีก) ภาคเรียนละ 22,500 บาท

คณะรัฐศาสตร์ ภาคเรียนละ 17,000 บาท

คณะศิลปศาสตร์ ภาคเรียนละ 12,000 บาท

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ ภาคเรียนละ 41,500 บาท

คณะเภสัชศาสตร์ ภาคเรียนละ 29,500 บาท

คณะเภสัชศาสตร์ โครงการพิเศษ ภาคเรียนละ 45,000 บาท

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 42,000 บาท

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

 

3 มหาวิทยาลัยนครพนม

มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการหลอมรวมสถานศึกษา 7 แห่งในจังหวัดนครพนมเข้าด้วยกันตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 122 ตอนที่ 75ก เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 จึงมีผลให้มหาวิทยาลัยนครพนมได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนับแต่นั้นเป็นต้นมา สถาบันทั้ง 7 ที่ถูกรวมเข้าด้วยกันประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม มหาวิทลาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม และเมื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนมแล้วมหาวิทยาลัยก็ยังดำเนินภารกิจภายใต้ภารกิจเดิมของสถานศึกษาที่นำมาหลอมรวม จัดการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งแตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาเดิมที่จัดตั้งสถาบันขึ้นมาใหม่

มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่มุ่งจัดการศึกษาด้านทักษะวิชาชีพ และผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ โดยเน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ชุมชน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไปถึงระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมุ่งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

– บธ.บ. (การจัดการกีฬา) ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

– นศ.บ. (นิเทศศาสตรดิจิทัล) ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

– วิทยาลัยการบินนานาชาติ บธ.บ. (การจัดการการบิน) ภาคเรียนละ 18,000 บาท ภาคฤดูร้อน 4,000 บาท

คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

คณะครุศาสตร์ ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

สถาบันนวัตกรรมธุรกิจและการบัญชี ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาคเรียนละ 5,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,500 บาท

คณะเกษตรและเทคโนโลยี ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

วิทยาลัยธาตุพนม วศ.บ. (วิศวกรรมพลังงาน) ภาคเรียนละ 5,500 บาท ภาคฤดูร้อน 2,750 บาท

คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) ภาคเรียนละ 5,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,500 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 5,500 บาท ภาคฤดูร้อน 2,750 บาท

คณะวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 4,000 บาท ภาคฤดูร้อน 2,000 บาท

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

คณะพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม (พยาบาลศาสตรบัณฑิต) ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

 

4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือกำเนิดมาจากการเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม” ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ต่างจังหวัด เริ่มแรกตั้งอยู่ที่ ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม บนเนื้อที่ 197 ไร่ และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม” ในปี พ.ศ. 2517 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จึงได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ “มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย และเริ่มย้ายการเรียนดการสอนบางหน่วยงานไปยังสถานที่แห่งใหม่ที่ ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม บนเนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบริหารการทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอกในขณะนี้

มหาวิทยาลัยมหาสารคามนับเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีนโยบายกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและภูมิภาค โดยจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นวิทยาเขตและศูนย์บริการเขตพื้นที่ต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีอายุ 25 ปี หากนับตั้งแต่การก่อตั้งในฐานะมหาวิทยาลัยอันเป็นเอกเทศแห่งนี้

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะแพทยศาสตร์ 

สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 40,000 บาท

– สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์  ภาคเรียนละ 20,000 บาท

– สาขาวิชา ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ภาคเรียนละ 22,000 บาท

คณะเภสัชศาสตร์ 

สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม ภาคเรียนละ 32,500 บาท

คณะพยาบาลศาสตร์

สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์  ภาคเรียนละ 31,000 บาท

คณะสาธารณสุขศาสตร์

– สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชา โภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภาคเรียนละ 16,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์

– สาขาวิชาเคมี ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาชีววิทยา ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาสถิติ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาพันธุศาสตร์โมเลกุล ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขานวัตกรรมทางชีวเคมี ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาฟิสิกส์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาพลังงานและการควบคุมระบบอัตโนมัติ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– ฟิสิกส์ (หลักสูตร 2 ปริญญา) ชั้นปีที่ 1-3 ภาคเรียนละ 15,000 บาท ชั้นปีที่ 4-5 ภาคเรียนละ 20,000 บาท

คณะเทคโนโลยี

– สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (วิชาเอกพืชสวน วิชาเอกพืชไร่) ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาประมง  ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะสัตวแพทยศาสตร์

– สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์  ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

– สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาและเกษตรศึกษา ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะวิทยาการสารสนเทศ

– สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,500 บาท

– สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคเรียนละ 13,500 บาท

– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาสื่อนฤมิต ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับธุรกิจสมัยใหม่ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

– สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลประยุกต์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) ภาคเรียนละ 35,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์

– สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

– สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชานฤมิตศิลป์  ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง ภาคเรียนละ 18,000 บาท

คณะการบัญชีและการจัดการ

– สาขาวิชาบัญชีบัณฑิต ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการตลาด ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

-สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ นานาชาติ ภาคเรียนละ 45,000 บาท

– สาขาวิชาการบริหารการเงิน ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม

– สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการโรงแรม ภาคเรียนละ 18,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ภาคเรียนละ 30,000 บาท

– สาขาวิชาศิลปะการปรุงอาหารและการจัดการบริการด้วยไมตรีจิต ภาคเรียนละ 18,000 บาท

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

– สาขาวิชาภาษาไทย ภาคเรียนละ 11,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาจีน ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาญี่ปุ่น) ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาคเรียนละ 11,000 บาท

– สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม ภาคเรียนละ 11,000 บาท

– สาขาวิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาเกาหลี) ภาคเรียนละ 12,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (เขมร ลาว หรือเวียดนาม) ภาคเรียนละ 11,000 บาท

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง

– สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

คณะศึกษาศาสตร์

– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาสังคมศึกษา ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาภาษาไทย ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาจิตวิทยา ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา  ภาคเรียนละ 13,000 บาท

– สาขาวิชาพลศึกษาและการกีฬา ภาคเรียนละ 13,000 บาท

คณะศิลปกรรมศาสตร์

– สาขาวิชาทัศนศิลป์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาศิลปะการแสดง ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรม ภาคเรียนละ 12,000 บาท

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

– หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 15,000 บาท

– สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาคเรียนละ 16,000 บาท

คณะนิติศาสตร์

– หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 13,000 บาท

 

5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระราชบัญญัติเมื่อวันที่ 27กรกฎาคม  2533  เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย  ที่เน้นการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาวิชาที่มีความต้องการกำลังคนสูง โดยมีหลักการที่สำคัญของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล คือ ความเป็นอิสระ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูง สามารถพัฒนาองค์กรและระบบงานที่เหมาะสมกับกิจการของมหาวิทยาลัย ลดขั้นตอนการทำงาน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประหยัด การดำเนินการต่าง ๆ ส่วนใหญ่สิ้นสุดในระดับมหาวิทยาลัย และให้มีการควบคุมจากหน่วยงานภายนอกน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

คุณภาพของหลักสูตรเป็นที่ยอมรับน่าเชื่อถือในระดับสากล โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ติดอันดับ 5 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย ซึ่งวัดผลขึ้นโดย Times Higher Education Asia University Rankings ประจำปี ค.ศ. 2020 โดยเป็นปีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีติดอันดับที่ 301–350 มหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย อยู่ในกลุ่มท็อป 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อุดมศึกษา/ปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 800 บาทหน่วยกิต

หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต 800 บาท/หน่วยกิต

หลักสูตรการจัดการบัณฑิต 800 บาท/หน่วยกิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 800 บาท/หน่วยกิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 800 บาท/หน่วยกิต

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเลือกเสรี และ กลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 800 บาท/หน่วยกิต

กลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิชาชีพแพทย์ 1,600 บาท/หน่วยกิต

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเลือกเสรี และกลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

800 บาท/หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิชาชีพแพทย์และกลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิชาชีพทันตแพทย์ 1,600 บาท/หน่วยกิต

บัณฑิตศึกษา

วิชาทั่วไป 2,400 บาท/หน่วยกิต

วิชาระดับปริญญาตรี 800 บาท/หน่วยกิต

 

6 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พุทธศักราช 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งการควบรวมมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้จะเป็นการปรับปรุงการดำเนินการ และเป็นการลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน

บทบาทหน้าที่ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ว่าด้วยให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการที่ให้ความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ทะนุบำรุงศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของรัฐและท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ ภาคเรียนละ 10,150 บาท

วิศวกรรมเครื่องกล ภาคเรียนละ 10,150 บาท

วิศวกรรมอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ ภาคเรียนละ 10,150 บาท

วิศวกรรมโลจิสติกส์ ภาคเรียนละ 10,150 บาท

วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ภาคเรียนละ 10,150 บาท

วิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร ภาคเรียนละ 8,650 บาท ภาคพิเศษ 12,000 บาท

คณะบริหารศาสตร์

บริหารธุรกิจ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

ธุรกิจอัจฉริยะ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

บัญชีบัณฑิต ภาคเรียนละ 7,150 บาท

การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ภาคเรียนละ 21,800 บาท

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ภาคเรียนละ 8,650 บาท

เทคโนโลยีการอาหาร ภาคเรียนละ 8,650 บาท

พืชศาสตร์ ภาคเรียนละ 8,650 บาท

สัตวศาสตร์ ภาคเรียนละ 8,650 บาท

ประมง ภาคเรียนละ 8,650 บาท

เทคนิคการสัตวแพทย์ ภาคเรียนละ 8,650 บาท

นวัตกรรมเกษตร ภาคเรียนละ 8,650 บาท

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 8,650 บาท

เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ภาคเรียนละ 8,650 บาท

วิทยาการการดูแลผู้สูงอายุ ภาคเรียนละ 8,650 บาท

คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา

การศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนละ 7,150 บาท

คณิตศาสตร์ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

ภาษาไทย ภาคเรียนละ 7,150 บาท

ภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคเรียนละ 8,150 บาท

คอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 8,150 บาท

คณะศิลปศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

รัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครองท้องถิ่น) ภาคเรียนละ 7,150 บาท

รัฐประศาสนศาสตร์ (อาชวิทยาและการบริหารงานตำรวจ) ภาคเรียนละ 7,150 บาท

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาคเรียนละ 7,150 บาท

การเมืองการปกครอง ภาคเรียนละ 7,150 บาท

นิติศาสตร์บัณฑิต ภาคเรียนละ 7,150 บาท

ภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 7,150 บาท

ภาษาจีน ภาคเรียนละ 7,150 บาท

นิเทศศาสตร์ ภาคเรียนละ 10,800 บาท

 

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลย

 

Ep.1 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคเหนือ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/03/university-introduction/

 

Ep.3 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคใต้ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/21/university-introduction-3/

 

EP.4 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคกลาง คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2022/01/05/university-introduction-4/

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *