แนะนำ “มหาวิทยาลัย” ทั่วไทย เรียนที่ไหนดี EP.4 #มหาวิทยาลัยภาคกลาง

ปิดท้ายกันด้วย ภาคกลาง ภาคที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกของพืชและข้าว มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำสำคัญ อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่จะเป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะ นอกจากนี้ ภาคกลางก็ยังมีมหาวิทยาลัยที่สำคัญและน่าสนใจอยู่หลายแห่งดังนี้

1 มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งอยู่ที่ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยอดีตเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปัจจุบัน) โดยมีชื่อว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเวลาต่อมา ด้วยเหตุนี้วันที่ 8 กรกฎาคม หรือที่เรียกว่า “แปดกรกฎ” ของทุกปีจึงนับเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยบูรพาขึ้นชื่อด้านผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ และเนื่องจากมีสถานที่ใกล้กับบางแสนซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหลักของคนไทยสมัยก่อน คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเลของที่นี่จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีทั้งพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอันเป็นสถานที่พักผ่อนและหาความรู้ของครอบครัว และมีอาจารย์ที่คณะนี้ทำวิจัยเกี่ยวกับการรักษาพันธ์สัตว์ และเป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและวิทยาศาสตร์การประมงในภูมิภาคชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย นอกจากนั้นแผนกศิลปกรรมของคณะมนุษยศาสตร์ก็เป็นที่รู้จักและบัณฑิตที่จบจากที่นี่ก็มีสถิติหางานทำได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศด้วย

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ภาคเรียนละ 8,800 บาท ภาคฤดูร้อน 4,400

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคเรียนละ 8,800 บาท ภาคฤดูร้อน 4,400 บาท

คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

สาขาวิชาแพทย์แผนไทยบัณฑิต ภาคเรียนละ 18,700 บาท ภาคฤดูร้อน 9,350 บาท

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ภาคเรียนละ 10,200 บาท ภาคฤดูร้อน 5,100 บาท

คณะเทคโนโลยีทางทะเล

สาขาวิชาเทคโนโลยีทางทะเล ภาคเรียนละ 11,800 บาท ภาคฤดูร้อน 5,900 บาท

คณะดนตรีและการแสดง

ทุกสาขาวิชา ภาคเรียนละ 30,000 บาท ภาคฤดูร้อน 15,000 บาท

โครงการจัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และบริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการจัดการ ภาคเรียนละ 16,000 บาท

คณะพยาบาลศาสตร์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 28,000 บาท ภาคฤดูร้อน 14,000 บาท

คณะแพทยศาสตร์

หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต กรณีได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ภาคเรียนละ 100,000 บาท

หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต กรณีไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ภาคเรียนละ 250,000 บาท

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์

สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาตร์ ภาคเรียนละ 13,700 บาท ภาคฤดูร้อน 6,850 บาท

สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาตร์ ภาคพิเศษ ภาคเรียนละ 25,500 บาท ภาคฤดูร้อน 12,750 บาท

คณะเภสัชศาสตร์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 75,000 บาท ภาคฤดูร้อน 45,000 บาท

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สาขาวิชาจิตวิทยา ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนละ 16,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,250 บาท

สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนละ 17,000 บาท ภาคฤดูร้อน 8,500 บาท

สาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาคเรียนละ  17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนละ 17,000 บาท ภาคฤดูร้อน 8,500 บาท

สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาภาษาจีน ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

การบริหารทั่วไป ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 21,000 บาท

การบริหารท้องถิ่น ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะโลจิสติกส์

สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ ภาคเรียนละ 23,000 บาท

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิขาเคมี ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาคเรียนละ 24,000 บาท ภาคฤดูร้อน 12,000 บาท

สาขาวิชาชีวเคมี ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชาชีววิทยา ภาคเรียนละ 23,000 บาท ภาคฤดูร้อน 11,500 บาท

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ภาคเรียนละ 22,520 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชาวาริชศาสตร์ ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชาสถิติ ภาคเรียนละ 22,500 บาท ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

สาขาวิชานวัตกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 22,500 ภาคฤดูร้อน 11,250 บาท

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา ภาคเรียนละ 12,000 บาท ภาคฤดูร้อน 6,000 บาท

สาขาวิชาสื่อสารมวลชนทางการกีฬา ภาคเรียนละ 11,800 บาท ภาคฤดูร้อน 5,900 บาท

สาขาวิชาการจัดการและการสอนกีฬา ภาคเรียนละ 11,800 บาท ภาคฤดูร้อน 5,900 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทุกสาขา ภาคเรียนละ 25,000 บาท ภาคฤดูร้อน 12,500 บาท

คณะศิลปกรรมศาสตร์

สาขาวิชาจิตรกรรมสร้างสรรค์ ภาคเรียนละ 18,800 บาท ภาคฤดูร้อน 9,400 บาท

สาขาวิชาครีเอทีฟอาร์ตและกราฟฟิกครีเอทีฟ ภาคเรียนละ 18,800 บาท ภาคฤดูร้อน 9,400 บาท

สาขาวิชานิเทศศิลป์ ภาคเรียนละ 18,800 บาท ภาคฤดูร้อน 9,400 บาท

สาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์ ภาคเรียนละ 18,800 บาท ภาคฤดูร้อน 9,400 บาท

สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (สองภาษา) ภาคเรียนละ 39,000 บาท ภาคฤดูร้อน 19,500 บาท

คณะศึกษาศาสตร์

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาเคมี ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

สาขาวิชาชีววิทยา ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาพลศึกษา ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาคเรียนละ 15,000 บาท ภาคฤดูร้อน 7,500 บาท

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการศึกษา ภาคเรียนละ 17,500 บาท ภาคฤดูร้อน 8,750 บาท

คณะสหเวชศาสตร์

สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,900 บาท ภาคฤดูร้อน 6,950 บาท

สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ภาคเรียนละ 33,000 บาท ภาคฤดูร้อน 16,000 บาท

สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร,กายภาพบำบัด,พยาธิกายวิภาค ภาคเรียนละ 35,000 บาท ภาคฤดูร้อน 17,500 บาท

คณะสาธารณสุขศาสตร์

สาขาวิชาการสาธารณสุขชุมชน ภาคเรียนละ 18,000 บาท ภาคฤดูร้อน 9,000 บาท

สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย,อนามัยสิ่งแวดล้อม,สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ภาคเรียนละ 20,000 บาท ภาคฤดูร้อน 10,000 บาท

คณะอัญมณี

สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ ภาคเรียนละ 19,000 บาท ภาคฤดูร้อน 9,500 บาท

สาขาวิชาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ภาคเรียนละ 18,200 บาท ภาคฤดูร้อน 9,100 บาท

สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ ภาคเรียนละ 19,300 บาท ภาคฤดูร้อน 9,650 บาท

 

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติยาวนานที่สุดของประเทศไทย ตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล ชื่อว่า “โรงเรียนแพทยากร” ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “มหิดล” อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 15 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งหมด 551 หลักสูตร โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใน 6 พื้นที่คือ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานครฯ (ประกอบด้วยพื้นที่บางกอกน้อย พญาไท และวิทยาลัยการจัดการ), มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจบุรี, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกายภาพบำบัด

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ภาคเรียนละ 25,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะเทคนิคการแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 50,000 บาท

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 25,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย ภาคเรียนละ 30,000 บาท

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรกายอุปกรณศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ ภาคเรียนละ 35,000 บาท

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต ภาคเรียนละ 25,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะพยาบาลศาสตร์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ25,000 บาท

คณะเภสัชศาสตร์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 30,000 บาท

วิทยาลัยราชสุดา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาการออกกำลังกาย ภาคเรียนละ 21,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา วิทยาเอกการออกกำลังกายและการกีฬาและวิชาเอกฟุตบอล ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาคเรียนละ 30,000 บาท

วิทยาลัยศาสนศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา ภาคเรียนละ 18,000 บาท

คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาคเรียนละ 17,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 17,000 บาท

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะสัตวแพทยศาสตร์

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภาคเรียนละ 21,000 บาท

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยาการศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 21,000 บาท

 

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 11 สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล คือมีการบรรยายทางโทรทัศน์และวิทยุผ่านดาวเทียม ซึ่งการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลและเปิดรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวนนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น นับเป็นการกระจายการศึกษาสู่ภูมิภาคที่ดีเยี่ยม มสธ. จึงเหมาะที่จะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบเอนทรานซ์ได้ หรือผู้ที่ต้องการเรียนด้วยตนเอง ไม่มีการบังคับเวลาเรียน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการศึกษาเป็นระบบตลาดวิชา รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก นักศึกษาที่นี่ไม่ต้องเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน ทุกอย่างตั้งแต่การลงทะเบียน การเรียน สามารถทำทางไกลผ่านทางไปรษณีย์ และสามารถรับบริการการสอนผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อเรียนเสร็จก็จะมีวันนัดหมายให้ไปสอบตามศูนย์การสอบซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้านของนักศึกษา และหากมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการเรียนจริง ๆ ก็สามารถโทรศัพท์สอบถามอาจารย์ที่เข้าเวรอยู่ที่มหาวิทยาลัยได้

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าลงทะเบียนเรียนของ มสธ. แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ คือ มีเพียงค่าธรรมเนียมแรกเข้า 800 บาท ค่าบำรุงการศึกษา 500 บาท และค่าชุดวิชารวมค่าวัสดุการศึกษาอีก 700-3,200 บาท (แล้วแต่ชุดวิชา)

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ. ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ ๑ ปี] และได้รับพระบรมราชาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕

ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๕๐๓ เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไปในศาสตร์และศิลปวิทยาการต่าง ๆ โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และเริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและการบริการทางวิชาการให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยสถาบันบริการ และศูนย์ เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทาง ให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จิตวิทยา  ภาคเรียนละ 26,500 บาท

ทันตแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 34,000 บาท

นิเทศศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

พยาบาลศาสตร์ ภาคเรียนละ 26,500 บาท

แพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 34,000 บาท

เภสัชศาสตร์ ภาคเรียนละ 26,500 บาท

วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 26,500 บาท

วิทยาศาสตร์การกีฬา ภาคเรียนละ 26,500 บาท

วิทยาศาสตร์สาธารณสุข ภาคเรียนละ 26,500 บาท

วิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 25,500 บาท

สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 25,500 บาท

สหเวชศาสตร์ ภาคเรียนละ 26,500 บาท

สัตวแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 34,000 บาท

ศิลปกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

ครุศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

นิติศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

ประชากรศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคเรียนละ 21,000 บาท

รัฐศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

อักษรศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,000 บาท

สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ภาคเรียนละ 21,000 บาท

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีฐานะเป็นกองวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในกรมเกษตรและประมง ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ของวิทยาลัยได้แก่พระช่วงเกษตรศิลปการ ในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งโรงเรียนวิชาชีพเฉพาะขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดแพร่ คือ โรงเรียนป่าไม้ ซึ่งเปิดสอนหลักสูตร 2 ปี และ ได้โอนกิจการไปเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวนศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2481 กระทรวงเกษตราธิการ ได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งวิทยาเขตหลักของ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน และได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ้มาบางเขน มีหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตร 3 ปี ใน ระดับ อนุปริญญา โดยมี 3 แผนก คือแผนกเกษตรศาสตร์กับแผนกสหกรณ์ ซึ่งเปิดสอนที่บางเขน (สำหรับนักศึกษาแผนก สหกรณ์ ชั้นปีที่ 3 ต้องไปเรียนที่ กรมสหกรณ์ ท่าเตียน เพื่อสะดวกในการอบรมวิชาภาคปฏิบัติ) และแผนกวนศาสตร์ซึ่งเปิดสอนที่โรงเรียนวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ (ต่อมาโรงเรียนวนศาสตร์ได้แยก ดำเนินกิจการในลักษณะเดิมอีกตั้งแต่ พ.ศ. 2499)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย เติบโตและพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยของศาสตร์แห่งแผ่นดิน ที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเชื่อมโยงศาสตร์การเกษตร ซึ่งเป็นศาสตร์พื้นฐานของมหาวิทยาลัย และน้อมนำศาสตร์แห่งพระราชา ศาสตร์ชุมชน และศาสตร์สากล ผสมผสานให้เกิดการสร้างสรรค์วิชาการ นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ ภาคเรียนละ 14,300 บาท

คณะเกษตร ภาคเรียนละ 14,300 บาท

คณะประมง ภาคเรียนละ 14,300  บาท

คณะวนศาสตร์ ภาคเรียนละ 14,300 บาท

คณะวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 16,300 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 17,300  บาท

คณะศึกษาศาสตร์ ภาคเรียนละ 12,900 บาท

คณะะเศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนละ 12,900 บาท

คณะสังคมศาสตร์ ภาคเรียนละ 12,900  บาท

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 16,300 บาท

คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาคเรียนละ 16,300 บาท

คณะมนุษยศาสตร์ภาคเรียนละ 12,900 บาท

คณะบริหารธุรกิจ ภาคเรียนละ 12,900 บาท

คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ภาคเรียนละ 14,300  บาท

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 16,300 บาท

คณะสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 16,300 บาท

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรีได้แยกเป็นสถาบันอิสระเรียกว่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการและรองรับความต้องการในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และในปี 2541 จึงถึงเวลาเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสถาบัน คือได้รับการยกฐานะขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปัจจุบันสถาบันแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านการเรียนวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ก็ทำชื่อเสียงมากมายในการประดิษฐ์เครื่องมืออุตสาหกรรมและการเกษตรขึ้นมาเพื่อช่วยงานคนไทย และชื่อเสียงที่ได้ยินกันบ่อยมากเห็นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประดิษฐ์หุ่นยนต์แบบต่าง ๆ ที่มักจะถูกนำมาร่วมแสดงทุกครั้งในงานนิทรรศการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะวิศวกรรมศาสตร์

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 170,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) 448,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 168,800 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) 413,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 168,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) 448,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ 448,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 168,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) 448,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ 170,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) 448,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 169,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน 336,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ 336,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 170,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และพลังงาน) 336,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด 167,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (สหกิจศึกษา) 336,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ) 448,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 170,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ 170,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ 171,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ 169,000 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 162,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ 229,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาสถิติ 159,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาเคมี 163,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาจุลชีววิทยา 165,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 165,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (หลักสูตรสองภาษา) เอกฟิสิกส์ 164,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (หลักสูตรสองภาษา) ฟิสิกส์วัสดุและเทคโนโลยีนาโน 162,000 บาท

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ 240,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย 165,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน  226,600 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 201,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 201,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 201,000 บาท ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า 201,000 บาท ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 167,000 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  244,800 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์(หลักสูตรภาษาอังกฤษ) 322,800 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล 362,000 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

สาขาวิชาสถาปัตยกรรม(หลักสูตรนานาชาติ) 760,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ) 775,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์(หลักสูตรนานาชาติ) 626,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม(หลักสูตรภาษาอังกฤษ) 831,000 บาท ตลอดหลักสูตร

โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอารตส์และเทคโนโลยีมีเดีย

หลักสูตรเทคโนโลยีมีเดีย 303,000 บาท ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรมีเดียอาตส์ 294,000 บาท ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ 298,500 บาท ตลอดหลักสูตร

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม

สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 440,000 บาท ตลอดหลักสูตร

วิทยาลัยสหวิทยาการ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 572,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาการออกแบบดิจิทัล(หลักสูตรนานาชาติ) 1,030,000 – 1,050,000 บาท ตลอดหลักสูตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล(หลักสูตรนานาชาติ) 990,000 – 1,000,000 บาท ตลอดหลักสูตร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กำเนิดขึ้นในปี 2502 จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรม ในขณะนั้นสถาบันนี้มีฐานะเป็นโรงเรียนในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ใช้ชื่อนี้ว่า “โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย-เยอรมัน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตช่างฝีมือระบบเยอรมันที่เน้นการปฏิบัติและประสบการณ์จริงในโรงงาน หลังจากนั้นในปี 2538 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งวิทยาเขตปราจีนบุรีขึ้น โดยมีคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมเป็นคณะแรกที่จัดการศึกษาขึ้นที่นี่

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 19,000 บาท

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ภาคเรียนละ 28,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะบริหารธุรกิจ ภาคเรียนละ 19,000 บาท

วิทยาลัยนานาชาติ ภาคเรียนละ 60,000 บาท

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ ภาคเรียนละ 19,000 บาท

นักศึกษาหลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 60,000 บาท

นักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 80,000 บาท

นักศึกษาสมทบพิเศษ ภาคเรียนละ 29,000 บาท

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง” (มธก.) มหาวิทยาลัยนี้ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง มหาดไทย ในขณะนั้น) โดยเล็งเห็นว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ขณะนั้นมีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475 ประเทศชาติ มีความจำเป็นต้องมีบุคคล ที่มีความรู้ ทางกฎหมาย การปกครอง และสังคม มารับใช้ประเทศชาติโดยด่วน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง พ.ศ.2476 เพื่อเปิดสอนในวิชาแขนงดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้มีพิธี เปิดมหาวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์เป็นผู้กระทำพิธีเปิด และ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยคนแรกของมหาวิทยาลัย (และเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยคนเดียว เพราะต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ ตำแหน่ง เป็นอธิการบดี

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิขึ้นที่ศูนย์รังสิต ซึ่งทำให้วิทยาเขตแห่งใหม่นี้มีฐานะและบทบาทเท่าเทียมกันกับวิทยาเขตท่าพระจันทร์เดิม และได้รับบทบาทสำคัญอีกครั้งเมื่อได้รับเลือกให้เป็นสถานที่หลักในการจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ในปี 2550 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขยายโอกาสทางการศึกษาออกไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเปิดอีก 2 วิทยาเขต คือ ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,800 บาท

คณะนิติศาสตร์(ลำปาง) ภาคเรียนละ 18,800 บาท

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคเรียนละ 14,200 บาท

คณะรัฐศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,000 บาท

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ภาคเรียนละ 13,800 บาท

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์(ลำปาง) ภาคเรียนละ 18,800 บาท

คณะศิลปศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,300 บาท

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ภาคเรียนละ 14,800 บาท

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาคเรียนละ 13,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนละ 17,300 บาท

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ลำปาง) ภาคเรียนละ 22,300 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 18,200 บาท

คณะแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 21,100 บาท

คณะแพทยศาสตร์(แผนไทย) ภาคเรียนละ 16,800 บาท

คณะสหเวชศาสตร์ ภาคเรียนละ 16,500 บาท

คณะทันตแพทยศาสตร์ มีค่าธรรมเนียมพิเศษ 28,000 บาท รวมเป็นภาคเรียนละ 50,000 บาท

คณะพยาบาลศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,800 บาท หลักสูตรนานาชาติ 45,000 บาท

คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 17,000 บาท

คณะศิลปกรรมศาสตร์(ลำปาง) ภาคเรียนละ 22,100 บาท

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ภาคเรียนละ 16,500 บาท

คณะเภสัชศาสตร์ ภาคเรียนละ 52,000 บาท

วิทยาลัยสหวิทยาการ(ลำปาง) ภาคเรียนละ 18,000 บาท

 

 

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็นแนวคิดตั้งแต่สมัยนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นทางเลือกกับนักศึกษาสามารถศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเมือง ชุมชนเมืองหลวง และเพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองหลวง แต่แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก ในสมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สานต่อ แนวคิดดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้เปิดการศึกษาหลายระดับแล้วในระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง คือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ โดยเน้นแผนการศึกษาวิชาการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในประเทศ และเน้นผลิตบุคลากรสาขาวิชาที่ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการของกรุงเทพมหานคร

ภายหลังจากจัดตั้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้รับภารกิจของวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยมีสภามหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร ขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชได้เปิดสอนหลักสูตรเพิ่มเติมขึ้นจากหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยในปีการศึกษา 2557 ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตขึ้นในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และเพื่อรองรับการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพและการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป สภามหาวิทยาลัยจึงอนุมัติการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพขึ้นภายในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 35,000 บาท

หลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 33,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ภาคเรียนละ 30,000 บาท

สาขาวิชารังสีเทคนิค ภาคเรียนละ 30,000 บาท

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานพยาบาล ภาคเรียนละ 30,000 บาท

สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด ภาคเรียนละ 30,000 บาท

สาขาวิชาการจัดการสาธารณภัย ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารธุรกิจการบิน ภาคเรียนละ 40,000 บาท

สาขาวิชาการพัฒนาเด็กปฐมวัย ภาคเรียนละ 24,000 บาท

สาขาวิชาการบริหารจัดการเมือง ภาคเรียนละ 24,000 บาท

หลักสูตรการจัดการบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรอาคาร พาคเรียนละ 24,000 บาท

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ภาคเรียนละ 24,000 บาท

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนละ 24,000 บาท

 

10 มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ บริเวณรามคำแหง การก่อตั้งนี้มีเหตุผลมาจากปัญหาการขาดแคลนที่เรียนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เพราะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีสถานที่เรียนจำกัด ไม่สามารถรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ทั้งหมด จึงมีผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาแล้วไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อจำนวนมาก ดังนั้นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบ “ตลาดวิชา” กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวนและไม่มีการสอบคัดเลือก ทุกคนสามารถเข้ามาจับจ่ายหาความรู้อะไรก็ได้ตามที่ใจอยากจะเรียน ดังนั้นมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงนับได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ได้รับความนิยมที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ

ด้วยปรัชญาที่ว่า “ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม” มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มีการพัฒนาตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านพัฒนาการวิชาการและพัฒนาสังคม โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในขณะเดียวกันก็พัฒนาไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ทางด้านเทคโนโลยี จนในปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เช่น การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2538 กระจายสัญญาณผ่านดาวเทียมไทคมไปยัง 3 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ปราจีนบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นก็มีการเรียนการสอนแบบ e-learning การใช้คอมพิวเตอร์ในทุกระดับการเรียนการสอน จนมหาวิทยาลัยได้ก้าวสู่การเป็น e-University ในระดับมาตรฐานสากล

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะนิติศาสตร์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะบริหารธุรกิจ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะรัฐศาสตร์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะศึกษาศาสตร์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะเศรษฐศาสตร์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

คณะสื่อสารมวลชน ส่วนกลาง 13,900 บาท ส่วนภูมิภาค 19,520 บาท ตลอดหลักสูตร

 

11 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พัฒนามาจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงและวิทยาลัยวิชาการศึกษา” ซึ่งได้สถาปนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อผลักดันการศึกษาในด้านวิชาชีพครู เพราะในขณะนั้นวิชาชีพครูขาดแคลนและไม่สมดุลกับการขยายตัวของสังคม และศาสตร์ทางด้านการศึกษาศาสตร์ยังใหม่ต่อสังคมไทยอยู่มาก ต่อมาในปี 2497 ปัญหาการขาดแคลนครูและนักการศึกษาได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในสังคมไทย ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ผู้นำการศึกษาสมัยใหม่ หรือผู้นำการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ก่อตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” (College of Education) ขึ้นแทนโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เพื่อพัฒนาปรัชญาแนวคิดและความรู้ความสามารถรอบด้าน การศึกษาสมัยใหม่ ให้สอดคล้องผสานสัมพันธ์กับสังคมประชาธิปไตย วิทยาลัยวิชาการศึกษานี้ยังเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อเป็นแปลงทดลองค้นคว้าในระบบการศึกษาใหม่ พร้อมกับจัดระบบการศึกษาแบบวิทยาเขต โดยขยายไปยังวิทยาเขตปทุมวัน วิทยาเขตบางแสน วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตมหาสารคาม วิทยาเขตสงขลา วิทยาเขตบางเขน และวิทยาเขตพลศึกษา โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ได้พัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลางเมืองที่ทันสมัยก้าวหน้าผสมผสานกับกระแสสากล และพัฒนาการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ก็พัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และผสานสัมพันธ์กับชุมชน

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ ,สถิติ ,เคมี ,ชีววิทยา ภาคเรียนละ 20,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วัสดุศาสตร์ ภาคเรียนละ 22,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 24,000 บาท

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์,ฟิสิกส์,เคมี,ชีววิทยา,วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคเรียนละ 20,000 บาท

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์

สาขาวิชา วิศวกรรมเคมี,วิศวกรรมเครื่องกล,วิศวกรรมไฟฟ้า,วิศวกรรมอุตสาหการ,วิศวกรรมโยธา,วิศวกรรมชีวการแพทย์,วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  ภาคเรียนละ 25,000 บาท

สาขาวิชา วิศวกรรมโลจิสติกส์,วิศวกรรมสิ่งแวดล้มอ หลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 40,000 บาท

สาขาวิชา วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย หลักสูตรนานาชาติ  ภาคเรียนละ 80,000 บาท

สาขาวิชา วิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ หลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 80,000 บาท

สาขาวิชา วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าชธรรมชาติ หลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 80,000 บาท

คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร

สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ,นวัตกรรมพอลิเมอร์และการจัดการ,เทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์การเกษตร ภาคเรียนละ 21,000 บาท

สาขาวิชา นวัตกรรมอาหารและธุรกิจ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ ภาคเรียนละ 22,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ภาคเรียนละ 20,000 บาท

คณะพยาบาลศาสตร์ ภาคเรียนละ 28,000 บาท

คณะแพทยศาสตร์

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ 28,000 บาท

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ภาคเรียนละ 150,000 บาท

คณะทันตแพทยศาสตร์ ภาคเรียนละ 50,000 บาท

คณะเภสัชศาสตร์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชา เภสัชกรรมอุตสาหการ ,การบริบาลทางเภสัชกรรม ภาคเรียนละ 45,000 บาท

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ภาคเรียนละ 150,000 บาท

คณะกายภาพบำบัด

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การส่งเสริมสุขภาพ ภาคเรียนละ 30,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา กายภาพบำบัด ภาคเรียนละ 31,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ภาคเรียนละ 35,000 บาท

คณะพลศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา พลศึกษา,สุขศึกษา,สุขศึกษาและพลศึกษา ภาคเรียนละ 15,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ผู้นำนันทนาการ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย,สาธารณสุขศาสตร์ ภาคเรียนละ 20,000 บาท

คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา จิตวิทยา ภาคเรียนละ 17,000 บาท

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ภาคเรียนละ 17,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วรรณกรรมสำหรับเด็ก,ปรัชญาและศาสนา,สารสนเทศศึกษา,ภาษาอังกฤษ,ภาษาฝรั่งเศส,ภาษาตะวันออก(วิชาเอก ภาษาเกาหลี ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น) ,ภาษาไทย (วิชาเอก ภาษาและวรรณคดีไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ) ภาคเรียนละ 17,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาเพื่ออาชีพ หลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 40,000 บาท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หลักสูตรนานาชาติ (วิชาเอก ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ,ภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ,ภาษาอังกฤษและภาษาเวียดนาม,ภาษาอังกฤษและภาษาเขมร) ภาคเรียนละ 50,000 บาท

คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 20,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาาขาวิชา การตลาด,การเงิน,ธุรกิจระหว่างประเทศ,ธุรกิจเพื่อสังคม,การท่องเที่ยวและการโรงแรม,การท่องเที่ยวและการโรงแรม ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 20,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

คณะเศรษฐศาสตร์

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 20,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

หลักสูตรนานาชาติ ภาคเรียนละ 50,000 บาท

คณะสังคมศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์,สังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา (วิชาเอก การวิจัยสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา ,การพัฒนาชุมชนเมือง) ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 15,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สังคมศึกษา ภาคเรียนละ 15,000 บาท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 20,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 15,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต การเมืองการปกครอง ,รัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนละ ในเวลาราชการ 20,000 บาท นอกเวลาราชการ 30.000 บาท

คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต เอกเดี่ยว  สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย,การประถมศึกษา,จิตวิทยาและการแนะแนว,อุตสาหกรรมศึกษา-ไฟฟ้า ภาคเรียนละ 20,000 บาท

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต เอกคู่ สาขาวิชา การประถมศึกษา , อุตสาหกรรมศึกษา , เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว, การวัด ประเมินและวิจัยการศึกษา ,การศึกษาพิเศษ,การศึกษาตลอดชีวิต,การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ภาคเรียนละ 20,000 บาท

คณะศิลปกรรมศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา ศิลปศึกษา,ดนตรีศึกษา,นาฏศิลป์ศึกษา ภาคเรียนละ 20,000 บาท

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ศิลปะการแสดง (วิชาเอก การออกแบบเพื่อการแสดง,การแสดงและกำกับการแสดง) ,ทัศนศิลป์ (วิชาเอก ศิลปะจินตทัศน์,เซรามิกส์,ศิลปวัฒนธรรม) ,การออกแบบสื่อสาร ,การออกแบบทัศนศิลป์ (วิชาเอก การออกแบบแฟชั่น,การออกแบบเครื่องประดับ ,การออกแบบผลิตภัณฑ์) ภาคเรียนละ 23,000 บาท

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา นาฏศิลป์สร้างสรรค์และการจัดการ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ดุริยางคศาสตร์สากล ภาคเรียนละ 33,000 บาท

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม หลักสูตร 2 ภาษา ภาคเรียนละ 40,000 บาท

 

12 มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย และเป็น มหาวิทยาลัยแห่งที่ห้าของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร” ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น “โรงเรียนศิลปากร” เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 สมัยรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงคราม ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น ได้พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศิลปากร”

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและการพิมพ์ ภาคเรียนละ 22,000 บาท

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคเรียนละ 22,000 บาท

คณะโบราณคดี ภาคเรียนละ 17,000 บาท

คณะมัณฑนศิลป์ ภาคเรียนละ 22,000 บาท

คณะอักษรศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะศึกษาศาสตร์ ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะเภสัชศาสตร์ ภาคเรียนละ 23,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาคเรียนละ 19,000 บาท

คณะดุริยางคศาสตร์ ภาคเรียนละ 69,000 บาท

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ภาคเรียนละ 15,000 บาท

คณะวิทยาการจัดการ ภาคเรียนละ 25,000 บาท

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาคเรียนละ 35,000 บาท

วิทยาลัยนานาชาติ ภาคเรียนละ 90,000 บาท

 

 

13 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เป็นมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. 2558 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2558 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม พ.ศ. 2558 มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2558 อันถือเป็นสิริมงคลยิ่งแก่มหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2558 จึงกำหนดให้วันดังกล่าว คือวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นวันเกิดของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำหรับการเปลี่ยนแปลงสถานะในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตไม่ถือเป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถกำหนดหรือออกรูปแบบการบริหารจัดการด้วยตนเองได้อย่างมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น ทั้งการบริหารงานทั่วไป การบริหารจัดการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานวิชาการ โดยมหาวิทยาลัยยังคงมีภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาตามเดิม

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

สังคมศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาภาษาจีน ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาคหกรรม ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 199,000 บาท

สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาภาษาอังกฤษ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาออกแบบนิทรรศการ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาธุรกิจการโรงแรม ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาธุรกิจการบิน ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 199,800 บาท

สาขาภาษาและการสื่อสาร ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 187,800 บาท

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 187,800 บาท

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 187,800 บาท

หลักสูตรรัฐประศาสตรบัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 187,800 บาท

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

สาขาการเงิน ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาการตลาด ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาการบริการลูกค้า ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 159,800 บาท

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาเรขานุการทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

หลักสูตรการจัดการบัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 187,800 บาท

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต

สาขาเศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 187,800 บาท

วิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 203,800 บาท

สาขาสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 171,800 บาท

สาขาเทคโนโลยีเคมี ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 203,800 บาท

สาขาอาชีวอนามัย ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 203,800 บาท

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 203,800 บาท

สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหาร ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 243,000 บาท

สาขาวิทยาการข้อมูล ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 231,000 บาท

สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 231,000 บาท

สาขาการกำหนดและการประกอบอาหาร ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 259,000 บาท

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

สาขาเทคโนโลยีอาหาร ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 259,000 บาท

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 231,000 บาท

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 335,000 บาท

 

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลย 

Ep.1 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคเหนือ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/03/university-introduction/

Ep.2 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/10/university-introduction-2/

Ep.3 แนะนำมหาวิทยาลัยภาคใต้ คลิ๊ก >>> https://www.eduzones.com/2021/12/21/university-introduction-3/ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *