อยากเข้าคณะสัตวแพทย์ต้องสอบอะไรบ้าง
คณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นคณะที่ศึกษาในเรื่องทักษะ และความรู้ ในการดูแลสุขภาพสัตว์ การบำบัดรักษาโรคสัตว์ การป้องกันโรคสัตว์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ผู้ที่จบด้านนี้ ก็จะมีความรู้ความชำนาญ และความสามารถในการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ สามารถวิเคราะห์ ชันสูตร วินิจฉัย ตลอดจนบำบัด รักษาและป้องกันโรคสัตว์ต่าง ๆ ได้แต่การสอบเข้าไปยังมหาวิทยาลัยได้นั้นก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เราจึงได้ทำการรวบรวมแนวทาง GAT/PAT และ วิชาสามัญ ที่ใช้สำหรับการสอบเข้าคณะสัตวแพทย์รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่อยากจะแนะนำไว้ให้ดังนี้
เกณฑ์การคัดเลือก
- ต้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ในแผนการเรียนวิทย์-คณิต
- ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00 (ทั้งนี้คะแนน GPAX แต่ละสถาบันอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนดนะจ๊ะ)
- มีคะแนนสอบ GAT, PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- มีผลคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ (ไทย สังคม อังกฤษ คณิต1 ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
- มีผลคะแนนสอบ O-NET
** นี่เป็นเพียงเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกและคุณสมบัติของผู้สมัครในเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ในแต่ละสถาบันการศึกษาอาจจะมีการใช้ผลคะแนนและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เราจึงได้รวบรวมตัวอย่างของมหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะสัตวแพทย์ไว้ให้ดังนี้
1 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2497 โดยได้รับโอนมาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีที่ทำการอยู่ 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน มีโรงพยาบาลสัตว์ในเครือทั้งหมด 4 แห่ง
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้
รอบ 1 Portfolio
- โครงการช้างเผือก มก. รับจำนวน 10 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
กำลัง หรือ สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือ เทียบเท่า
GPAX > หรือ = 3.50
ประวัติผลงานหรือความสามารถพิเศษทางวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์ระดับชาติหรือนานาชาติ โดยมีเอกสารรับรองหรือมีคะแนน TOEFL > 78 หรือ IELTS > 6
- โครงการเรียนล่วงหน้าของ มก. รับจำนวน 40 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
ผ่านการเข้าร่วมโครงการเรียนล่วงหน้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 16 ปีการศึกษา 2564 เพื่อเข้าศึกษาในปี 2565
มีผลการเรียน 2 ใน 4 วิชาต่อไปนี้ วิชาคณิตศาสตร์/เคมี/ชีววิทยา/ฟิสิกส์ เฉลี่ยแล้ว ไม่ต่ำกว่า B+
- โครงการนักกีฬาทีมชาติและเยาวชนทีมชาติเข้าศึกษาใน มก. โดยวิธีพิเศษ รับจำนวน 1 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
กำลัง หรือ สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือ เทียบเท่า
GPAX > หรือ = 3.20
รอบ 2 โควตา
- โครงการรับนักเรียนดีเด่นจากโรงเรียนสาธิต รับจำนวน 10 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
เป็นนักเรียนชั้น ม.6 ของโรงเรียนสาธิตแห่ง มก.
GPAX 5 ภาคการศึกษา
GAT
PAT2
- โครงการลูกพระพิรุณ มก. รับจำนวน 10 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
กำลังหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
GPAX มากกว่า หรือ เท่ากับ 3.20
GAT
PAT2
คะแนนวิชาสามัญ (29,39,49,59,69)
เป็นบุตรของบุคลากรประจำหรือนิสิตเก่า มก.
- โครงการรับผู้มีความสามารถทางกีฬาดีเด่น รับจำนวน 1 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
กำลังหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
GPAX มากกว่า หรือ เท่ากับ 3.20
GAT
PAT1
PAT2
มีประวัติและผลงานตามชนิดกีฬาที่ มก. กำหนด
- โครงการรับผู้มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรม รับจำนวน 1 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
กำลังหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
GAT
PAT1
PAT2
มีคุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิ์สมัคร
รอบที่ 3 Admission
- โครงการกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) รับจำนวน 35 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
มีคุณสมบัติตามที่ กสพท. กำหนด
เข้าสอบวิชาเฉพาะ ที่จัดสอบโดย กสพท.
คะแนนวิชาสามัญรวม 7 วิชา (09,19,29,39,49,59,69)
- โครงการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อปริญญาตรี มก. รับจำนวน 10 คน
เกณฑ์การคัดเลือก
กำลังหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
GPAX (10%)
GAT (30%)
PAT1 (10%)
PAT2 (30%)
คะแนนวิชาสามัญรวม 1 วิชา (69) (20%)
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ที่ >>> https://vet.ku.ac.th/vv2018/
2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ปัจจุบัน มี 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตศาลายา จ. นครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณบดี อาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน ณ ศาลายา และวิทยาเขตไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการทางคลินิกสัตวแพทยศาสตร์ด้านปศุสัตว์และสัตว์ป่า หอพักนักศึกษาสัตวแพทย์ที่มาเรียนที่นี่ และโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน ณ ไทรโยค หรือโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้
รอบ 1 Portfolio
รับ 15 คน
สัตวแพทย์-มหิดลรับ 3 คน
สัตวแพทย์-วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯรับ 12 คน
คุณสมบัติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรแกนกลาง
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรอาชีวะ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)
ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED
เกณฑ์การคัดเลือก
คะแนน GPAX ต่ำสุด3.5
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์12
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี22
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ9
รอบ 2 โควตา
รับ 20 คน
- โครงการโครงการพัฒนาสัตวแพทย์รับ4 คน
- โครงการรับนักศึกษาโควตาวิทยาเขตของคณะสัตวแพทยศาสตร์รับ 8 คน
คุณสมบัติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรแกนกลาง
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรอาชีวะ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)
ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED
เกณฑ์การคัดเลือก
คะแนน GPAX ต่ำสุด3
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์12
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี22
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ9
โครงการกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย (รับร่วมกัน)รับ 8 คน
โครงการพื้นที่ (รับร่วมกัน)รับ 8 คน
- โครงการกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย(รับร่วมกัน)รับ 8 คน
- โครงการพื้นที่(รับร่วมกัน)รับ 8 คน
คุณสมบัติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรแกนกลาง
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรอาชีวะ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)
ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED
เกณฑ์การคัดเลือก
คะแนน GPAX ต่ำสุด3.5
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์12
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี22
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ9
รอบที่ 3 Admission
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตรับ 10 คน
คุณสมบัติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรแกนกลาง
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรอาชีวะ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)
ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED
เกณฑ์การคัดเลือก
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์12
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี22
จน.หน่วยกิตต่ำสุดกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ9
เกรดเฉลี่ย 10%
ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%
ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 10%
ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 30%
วิชาสามัญ 69 ชีววิทยา 20%
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ >>> https://vs.mahidol.ac.th/th/
3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นโดยแยกมาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ซึ่งเดิมการดำเนินงานหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นั้นถูกกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ (แผน 4 ปี) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ. 2549-2552) จากการศึกษาวิเคราะห์บทบาทของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นพร้อมด้วยหลักการและเหตุผลตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา ประกอบกับปัญหาและความต้องการสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านสัตวแพทยศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้
รอบ 1 Portfolio
รอบที่ 1 Portfolio ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จำนวน 10 คน รับสมัครระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม 2563 จำนวน 3 โครงการคะ รายละเอียดดังนี้
- โครงการบุตรเกษตรกรจำนวนรับ 3 คน
สมัคร ผ่านอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ admission.msu.ac.th
- โครงการส่งเสริมนิสิตสัตวแพทย์ศักยภาพสูง จำนวนรับ 4 คน
สมัคร ผ่านอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ admission.msu.ac.th
- โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน จำนวน 3 คน
สมัครด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ ที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://www.vet.msu.ac.th/vetnew15/?p=2690
รอบ 2 โควตา
สมัครออนไลน์ ระหว่าง วันที่ 5 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2565 ทาง
https://admission.msu.ac.th/msu65_quota/log-in.php
คุณสมบัติ
ต้องเป็นนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ในสถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า จากสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต้องมีคะแนนมาตรฐาน (Ti) GAT/PAT ตามที่คณะ/สาขาวิชากำหนด ซึ่งมหาวิทยาลัยจะพิจารณาคะแนนมาตรฐาน (Ti) GAT/PAT ครั้งที่มีคะแนนสูงสุด โดยการสอบ GAT/PAT ปีการศึกษา 2564 หรือ GAT/PAT ปีการศึกษา 2565
ต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง
รอบที่ 3 Admission
ลงทะเบียน mytcas : 9 ธันวาคม 64 เป็นต้นไป
เปิดรับสมัคร : 2 – 10 พฤษภาคม 65
ทปอ. ประมวลผลการจัดลำดับครั้งที่ 1 : 11 – 17 พฤษภาคม 65
ทปอ. ประกาศผลการคัดเลือกครั้งที่ 1 : 18 พฤษภาคม 65
เลือกยืนยันสิทธิ์ / ไม่ใช้สิทธิ์ / ขอประมวลผลครั้งที่ 2 : 18 – 19 พฤษภาคม 65
ทปอ. ประมวลผลการจัดลำดับครั้งที่ 2 : 20 – 23 พฤษภาคม 65
ทปอ. ประกาศผลการคัดเลือกครั้งที่ 2 : 24 พฤษภาคม 65
คุณสมบัติ
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า จากสถานศึกษาทั่วประเทศ
ต้องมีคะแนนมาตรฐาน (Ti) GAT/PAT และวิชาสามัญ ตามที่คณะ/สาขาวิชากำหนด มหาวิทยาลัยจะพิจารณาคะแนนมาตรฐาน (Ti ) GAT/PAT ครั้งที่มีคะแนนสูงสุด โดยการสอบ GAT/PAT ปีการศึกษา 2564 หรือ GAT/PAT ปีการศึกษา 2565 และคะแนนมาตรฐาน (Ti ) วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2565
ผู้สมัครสาขาวิชา สพ.บ. สัตวแพทยศาสตร์ (หลักสูตร 6 ปี) คณะสัตวแพทยศาสตร์ ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม(GPAX) ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
เกณฑ์การคัดเลือก
ผู้สมัครรอบ Admission ตามเกณฑ์โครงการ กสพท สาขาวิชา ภ.บ. การบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ และ สพ.บ. สัตวแพทยศาสตร์ (หลักสูตร 6 ปี) คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในระบบ TCAS รอบที่ 3 Admission จะต้องมีเกณฑ์และคุณสมบัติตามที่ กสพท กำหนด
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ที่ >>> http://www.vet.msu.ac.th/vetnew15/
4 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันอย่างเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษามีทักษะความรู้ความสามารถในทางสัตวแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับ โดยมีหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่ และศูนย์บริการชันสูตรโรคสัตว์ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้
รอบ 1 Portfolio (ไม่เปิดรับสมัครในรอบนี้)
รอบ 2 โควตา (ไม่เปิดรับสมัครในรอบนี้)
รอบที่ 3 Admission
- สาขาสุขภาพสัตว์ รับจำนวน 50 คน
คุณสมบัติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรแกนกลาง
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรอาชีวะ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)
ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED
เกณฑ์การคัดเลือก
เกรดเฉลี่ย 50%
ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%
ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 10%
ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 10%
- สาขาสัตวแพทย์ศาสตร์ รับจำนวน 60 คน
คุณสมบัติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรแกนกลาง
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรอาชีวะ
ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก โรงเรียนหลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)
ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED
เกณฑ์การคัดเลือก
เกรดเฉลี่ย 10%
ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%
ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 10%
ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 30%
คะแนนรวมวิชาสามัญ 20%
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ที่ >>> http://www.vet.mut.ac.th/main/
5 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสอนในหลักสูตรสัตวแพทย์ศาสตรบัณฑิตเป็นแห่งแรกในภาคเหนือ มุ่งเน้นการสร้างความรู้วิชาการ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้แก่ประเทศชาติ โดยสามารถเลือกเรียนได้ถึง 3 ภาควิชาตามความสนใจ คือ ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า และภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข มีโรงพยาบาลสัตว์ประจำคณะฯ เอง คือ ศูนย์บริการสุขภาพสัตว์ และศูนย์สัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิก เป็นที่ให้สามารถเข้าไปเรียนภาคปฏิบัติและลงมือทำงานได้จริง
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้
รอบ2 โควตา
- สาขา สัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ
โครงการการรับนักเรียนโควตาภาคเหนือฯ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท
คุณสมบัติ
สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โควตาภาคเหนือ
คุณสมบัติของโควตาภาคเหนือ มีดังนี้ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีสถานภาพเป็นนักเรียนติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาภาคเหนือ ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
เกณฑ์การคัดเลือก
วิชาที่ใช้ในการคัดเลือก
วิชาสามัญชุดที่ 1 (สายวิทย์)
09 ภาษาไทย, 19 สังคมศึกษา, 29 ภาษาอังกฤษ, 39 คณิตศาสตร์ 1, 49 ฟิสิกส์, 59 เคมี, 69 ชีววิทยา
- สาขาสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ
โครงการการรับนักเรียนชาวไทยภูเขา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท
คุณสมบัติ
สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยภูเขาเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นผู้มีคุณสมบัติตามเอกสารแนบท้ายประกาศ เรื่อง การรับนักเรียนตามโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยภูเขา เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยภูเขา เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เกณฑ์การคัดเลือก
วิชาที่ใช้ในการคัดเลือก
วิชาสามัญชุดที่ 1 (สายวิทย์)
09 ภาษาไทย, 19 สังคมศึกษา, 29 ภาษาอังกฤษ, 39 คณิตศาสตร์ 1, 49 ฟิสิกส์, 59 เคมี, 69 ชีววิทยา
- สาขาสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ
โครงการการรับนักเรียนที่ดำเนินการโดยคณะ (โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพการสัตวแพทย์ )
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท
คุณสมบัติ
การรับนักเรียนที่ดำเนินการโดยคณะ
เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศของคณะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.vet.cmu.ac.th/web/
- สาขาสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ
โครงการการรับนักเรียนที่ดำเนินการโดยคณะ (โครงการดีเด่นด้านภาษาอังกฤษ )
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท
คุณสมบัติ
การรับนักเรียนที่ดำเนินการโดยคณะ
เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศของคณะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.vet.cmu.ac.th/web/
รอบที่ 3 Admission
- สาขาสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ
โครงการการรับตรงร่วมกัน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท
คุณสมบัติ
สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) ค่าน้ำหนักร้อยละ 10
เกณฑ์การคัดเลือก
GAT/PAT
GAT ความถนัดทั่วไป ค่าน้ำหนักร้อยละ 30
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ ค่าน้ำหนักร้อยละ 10
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ค่าน้ำหนักร้อยละ 30
วิชาสามัญ
ชีววิทยา ค่าน้ำหนักร้อยละ 20
- สาขาสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ
โครงการการรับตรงร่วมกัน (กสพท.)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท
คุณสมบัติ
กสพท.
เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ดูรายละเอียดได้ที่ website ของ กสพท. http://www9.si.mahidol.ac.th/ (รหัสสาขาวิชาเพื่อใช้ในการสมัครให้เป็นไปตาม กสพท. กำหนด)
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ที่ >>> https://www.vet.cmu.ac.th/web/