สาธิตธรรมศาสตร์ — โรงเรียนในฝันกับรูปแบบการสอนที่ก้าวไกล

สาธิตธรรมศาสตร์ — โรงเรียนในฝันกับรูปแบบการสอนที่ก้าวไกล
สาธิตธรรมศาสตร์ — โรงเรียนในฝันกับรูปแบบการสอนที่ก้าวไกล

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สาธิตธรรมศาสตร์ได้ออกมาแถลงการณ์ในเรื่องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้เข้ากับยุคสมัยมายิ่งขึ้น จนกลายเป็นกระแสร้อน ประเด็นดังในโลกออนไลน์ วันนี้ Eduzones พาทุกคนไปรู้จักสาธิตแห่งนี้ และมารวบรวมข้อมูลให้เห็นกันไปเลยชัด ๆ ว่าคำว่าปรับเปลี่ยนหลักสูตร คือปรับเปลี่ยนแบบไหน แตกต่างจากเดิมอย่างไร เพิ่มเติมอะไรบ้าง

 

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Secondary School : TSS) จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การกำกับของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ (Faculty of Learning Sciences and Education : LSEd) เพื่อให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กมัธยม เพิ่มศักยภาพเด็กให้พร้อมต่อการค้นหาความถนัดด้วยการสนับสนุนจากบุคลากรและผู้ปกครองให้เด็กกลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในสังคม

ในฐานะสถานศึกษา สาธิตธรรมศาสตร์จุดประกายความคิดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนใหม่ ๆ มาจากความเข้าใจที่ว่ายุคสมัยใหม่เปลี่ยนไป จึงเล็งเห็นปัญหาที่ว่าทำไมระบบการสอนแบบเก่าถึงทำให้เด็กไม่อยากมาโรงเรียน ทำไมความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนถึงไปในแง่ลบ การเรียนการสอนในโรงเรียนเน้นท่องจำมากกว่าทำความเข้าใจ ทำให้เด็กจำนวนมากขาดความสุขในการเรียนรู้ สถานศึกษาไม่ช่วยให้เด็กค้นพบความถนัดของตนเอง ปัญหาสะสมเหล่านี้ในระบบการศึกษาไทยก่อให้เด็กเกิดความทุกข์เมื่อต้องมาเรียน และนำไปสู้ปัญหาอื่น ๆ ในสังคม เช่น การบูลลี่ (Bully)

 

การจัดการศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรูปแบบใหม่มีจุดประสงค์ที่จะทำให้เด็กเกิดความสุข ซึ่งจะทำให้เด็กพร้อมในการสร้างสรรถนะ พัฒนาความสามารถ ต่อยอดทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถทำงานเป็นทีมได้ มีความสุจริต โรงเรียนแห่งนี้จึงเริ่มสร้างรูปแบบการสอนที่ต้องเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและนำปัญหาความไม่ยืดหยุ่นของระบบการศึกษาไทยมาพัฒนา โดยให้ความสำคัญว่านักเรียนทุกคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะเน้นเป็น 2 หลักการใหญ่ ๆ คือ
– Personalized Learning คือหลักการที่เข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีเรื่องที่สนใจต่างกัน เน้นสนับสนุนผู้เรียนตามความถนัด ความชอบ
– Competency-Based Education ระบบการศึกษาที่สนับสนุน Personalized Learning ในข้อแรก คือให้นักเรียนเป็นผู้ปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นวิชาตามความสนใจของตนเอง

 

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี ได้ยกตัวอย่างระบบการศึกษาของสาธิตธรรมศาสตร์ที่ฉีกกฏวัฒนธรรมการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ สรุปการปรับเปลี่ยนได้ดังนี้

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี

เริ่มตั้งแต่ระบบการคัดครู ที่สาธิตธรรมศาสตร์จะไม่มีการสอบในรูปแบบกระดาษ หรือtake home แต่จะให้ความสำคัญกับการดูพฤติกรรม ทัศนคติ โดยจะมีวิธีการคัดเลือกที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น มีกิจกรรม workshop เพื่อดูวิธีการปรับตัวและกรบวนการทำงานรวมกันแบบเป็นกุล่ม หลังจากนั้นจึงค่อยสัมภาษณ์เพื่อให้ได้บุคลากรครูที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับระบบการเรียนในรูปแบบใหม่นี้มากที่สุด

 

ปรับสถานะ เปลี่ยนบทบาทครู ในระบบการศึกษาไทยแบบเดิม ครูอาจารย์ถือว่าเป็นผุ้อาวุโสอย่างมาก ซึ่งทำให้เกิดช่องโหว่วในความสมันพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน เด็ก ๆ มองว่าครูเป็นคนไกลตัว สาธิตธรรมศาสตร์จึงมีการตกลงรวมกันที่จะเสริมสร้างความสนิทสนมให้แก่นักเรียน ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตอง มีการยกมือไหว้ เจอหน้าก็แค่ทักทายกันปกติ ทำให้ตัวนักเรียนมีความกล้าที่จะพูดคุยหยอกล้อกับครูมากขึ้น ประเด็นนี้อาจจะขัดหูขัดตาคนบางกลุ่มแต่มั่นใจได้ว่าไม่มีอะไรเกินเลย ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนจะพัฒนาไปในแนวโน้มที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ครูจะไม่เป็นแค่ผู้สอนอีกต่อไป สาธิตธรรมศาสตร์ได้ว่าบทบาทครูให้เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ 3 ประการ
– ที่ปรึกษา (Advisor) มีหน้าที่วางแผนการเรียนรู้ ดูแลให้นักเรียนถึงตามเป้าหมายที่แต่ละคนวางไว้ อีกทั้งยังเป็นผู้สื่อสารผู้ปกครองให้มีความเข้าใจในเป้าหมายของเด็ก

– ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Mentor) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ สร้างแรงบันดาลใจตามสมรรถภาพของนักเรียนแต่ละคน
– กระบวนกร (Course Facilitator / instructor) เป็นผู้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกัลศักยภาพพื้นฐานของนักเรียนทุกคน

 

คัดเด็กให้ตรงกับความต้องการ เช่นเดียวกับระบบคัดเลือกครู เด็ก ๆ จะไม่ต้องผ่านการคัดเลือดแบบทำข้อสอบในกระดาษ แต่ให้เด็กทำ Portfolio เพื่ออธิบายเกี่ยวกับตนเอง อยากทำอะไร มีความฝันอะไร จะทำยังไงให้ความฝันนั้นเป็นจริง วิธีการที่เขียนนี้เพราะอยากให้เด็กรู้สึกว่าความฝันมันคือสิ่งที่เราสามารถทำได้จริง หลังจากนั้นก็มีคำถามให้เด็ก 3 ข้อเกี่ยวกับชีวิตตัวเอง และมีคำถามให้พ่อแม่ 4 ข้อ ก่อนจะเด็กเข้ากระบวนการว่าสิ่งที่เขาคิดตรงกับที่เขียนลงไปไหม สำหรับสาธิตธรรมศาสตร์นี้จะไม่มีระบบรับบริจาคเพื่อให้เด็กได้เรียนเด็ดขาด ไม่มีค่าแรกเข้า หรือเก็บความใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ

 

ลบระบบการสอนที่มีแต่หลักสูตรบังคับ สาธิตธรรมศาสตร์เน้นการสนับสนุนความฝันของเด็กมากกว่จำกัดรายวิชาตาม สพฐ. เท่านั้น ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ที่มาจากประสบการณ์ตรง ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงมากกว่าการเรียนที่เน้นแค่ทฤษฎีแต่นักเรียนไม่รู้วิธีนำไปใช้ นักเรียนของสาธิตธรรมศาสตร์ทุกคนจะมีพื้นที่ในการเรียนรู้กิจกรรมที่ตัวเองสนใจที่สามารถเลือกได้ด้วยตนเอง อาทิตย์ละ 4 คาบ ทุกวันจันทร์ – พฤหัสบดี เวลา 14.00 น. – 15.30 น. ซึ่งจะแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วน
– กิจกรรมชมรมนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Club) คือกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ กิจกรรมนี้จะเรียน 1 คาบในวันจันทร์

– กิจกรรมตามความสนใจเฉพาะ (Club) เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนเรียนรู้ตามความสนใจของตนเอง อาทิตย์ละ 3 คาบ แบ่งเป็น 3 คลับ ได้แก่ Club Art ชมรมด้านศิลปะที่ช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เข้าร่วมได้ทุกวันอังคาร Club PA ชมรมส่งเสริมด้านสุขภาพ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้นักเรียนได้มีกิจกรรมทางกายภาพต่าง ๆ เช่น การเล่นกีฬา นันทนาการ เข้าร่วมทุกวันพุธ Club ชมรมนอกเหนือที่สามารถตั้งขึ้นได้ตามความสนใจของนักเรียน เข้าร่วมทุกวันพฤหัสบดี

 

เปลี่ยนวิชาที่จำเจให้มีประโยชน์ยิ่งขึ้น วิชาลูกเสือเนตรนารีที่เด็กสมัยใหม่มองว่าไร้ประโยชน์ อีกทั้งต้องเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเครื่องแบบโดยใช้เหตุ ทางสาธิตธรรมศาสตร์ได้ปรับการเรียนการสอนในวิชานี้ จากการถักเชือก ทำเงื่อน กลายเป็นวิชาการเอาตัวรอด นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อเกิดไฟไหม้ต้องหนีอย่างไร วิธีการดับไฟ วิธีการปฐมพยาบาล วิชาการว่ายน้ำที่ไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กเป็นไปนักกีฬาแต่สอนเพื่อให้นักเรียนเอาตัวรอดได้เมื่อตกน้ำ วิชานี้จะถูกบรรจุอยู่ใน ม.1 เทอม 1 จะสอนให้พอว่ายเป็นพอผ่านไปอีกเทอมก็จะมีการต่อยอดให้นักเรียนเอาตัวรอดได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาทักษะกันไปในแต่ละเทอม วิชาเพศศึกษาที่เป็นวิชาจำเป็นแต่ถูกมองข้ามในการศึกษาไทย สังคมไทยมีการตีกรอบเรื่องของเพศศึกษาว่าเป็นเรื่องของศีลธรรมอันดีงาม สาธิตธรรมศาสตร์ต้องการที่จะทำให้การเรียนรู้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ จึงปรับวิชาให้การเป็นวิชาวัยรุ่นศาสตร์ ในขั้นต้นจะสอนเกี่ยวกับ Anatomy ร่างกาย ฮอร์โมน ตลอดจนการดูแล ทำความสะอาดร่างกายตนเอง การเลือกเสื้อผ้า การเลือกชั้นใน วิชานี้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักตัวเองมากขึ้น เด็ก ๆ จะสามารถอยู่กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนร่างกายของตัวเองได้ ต่อมาก็เป็นการสอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ให้นักเรียนได้รู้จักการเข้าสังคมอย่างถูกต้อง ในส่วนของวิชานี้ครูอาจารย์จะเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนเองได้ แต่รับประกันได้ว่าความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้จริง ตัวอย่างวิชานอกเหนือที่ไม่คุ้นหู เช่น วิชารู้ทันการเงิน วิชาเสพศิลป์และกลิ่นเสียง วิชาวิถีศรัทธา ซึ่งครอบคลุมทุกศาสนา วิชารู้เท่าทันสื่อ วิชาผู้ประกอบการ ทุกวิชาที่คัดศรรมาทางสาธิตธรรมศาสตร์เชื่อว่าล้วนแล้วแต่เป็นวิชาที่เด็ก ๆ ได้นำไปใช้แน่นอนในอนาคต

ขอบคุณรูปจาก Mappa

 

พัฒนาเด็กโดยไม่บังคับให้แข่งขัน สาธิตธรรมศาสตร์จะไม่มีการให้เกรด ไม่มีการจัดสินคะแนนที่ทำให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบกับผู้อื่น ไม่มีการติดประกาศว่าเด็กคนนี้ได้รางวัลอะไรอีกต่อไป ทางโรงเรียนจะไม่มีการสนับสนุนให้ผู้ปกครองพาลูกไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมเพราะคิดว่าหลักสูตรของทางโรงเรียนเพียงพอแล้วแต่ก็ไม่ได้มีการห้ามให้ไปหาทักษะที่ไม่มีสอนในโรงเรียนจริง ๆ หลังจากลองใช้วิธีนี้มาในระยะหนึ่งพบว่าเด็กค้นพบตัวเองในทักษะที่หลากหลายมากขึ้น ทุกคนมีความเข้าใจว่าแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้การทำงานเป็นทีม ส่งเสริมกันในเรื่องที่ถนัดมากขึ้น นักเรียนจะไม่มองกันเองว่าใครเก่งไม่เก่ง แต่มองกันแค่ว่าคนไหนถนัดเรื่องใด

 

กำจัดวัฒนธรรมการตีกรอบในโรงเรียนแบบเดิม ๆ นักเรียนมีอิสระในการแต่งตัวเพราะที่สาธิตธรรมศาสตร์จะไม่บังคับให้เด็ก ๆ ต้องใส่ชุดนักเรียน เพียงแต่จะให้ใส่เสื้อยืดที่เป็นตราโรงเรียนในวันที่มีตลาดนัด คือวันอังคารและวันศุกร์เพราะเป็นวันที่มีคนภายนอก การใส่เสื้อยืดนักเรียนจะช่วยแยกแยะนักเรียนกับบุคคลทั่วไปได้ อาจจะมีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบในวันที่มีพิธีการหรือออกนอกสถานที่ตามความเหมาะสมเท่านั้น

ขอบคุณรูปจาก Mappa

 

ให้ความสำคัญกับนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียนต้องเป็นสถานที่ที่เจาะจงกับนักเรียนเป็นสำคัญที่สุด การศึกษาต้องทำให้นักเรียนรู้สึกมีความสุข อยากที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การมาเรียนต้องไม่ทำให้เด็กเกิดความทุกข์ สิ่งนี้จะช่วยทำให้เด็กสามารถเปิดรับความรู้ใหม่และดีต่อการพัฒนาทักษะมากยิ่งขึ้น สาธิตธรรมศาสตร์มีจุดประสงค์ที่จะทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ทั้งในแง่ของทางร่างกายและจิตใจ

 

เน้นใช้เวลายามเช้าเพื่อตัวนักเรียนมากกว่าการบังคับ การถกเถียงเรื่องความจำเป็นเกี่ยวกับการเข้แถวเคารพธงชาติเป็นเรื่องที่สังคมถกเพียงกันมาอย่างนาน คนบางกลุ่มให้เหตุว่ากิจกรรมนี้ไม่จำเป็น อีกทั้งยังทำให้เด็กเหนื่อยล้าตั้งแต่เช้า สาธิตธรรมศาสตร์ได้เปลี่ยนช่วงเวลาที่บังคับให้นักเรียนเคารพธงชาติ อบรมหน้าเสาธง สวดมนต์ตอนเช้ามาเป็นชั่วโมงโฮมรูม 30 นาทีที่ให้นักเรียนพบปะกับครูประจำชั้น โดยไม่ได้บังคับว่านักเรียนทุกคนจะต้องคุยกับครูประจำชั้น หากใครยังอยากที่จะสวดมนต์ก็ยังสามารถทำได้ในห้องเรียน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ครูอาจารย์เข้าถึงนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสารในชั้นเรียน

 

ปลูกฝังวินัยแบบไร้ฝ่ายปกครอง นักเรียนจะไม่ถูกเรียกเข้าฝ่ายปกครองเมื่อมีการกระทำผิดอย่างที่เคยเป็นมาในระบบการศึกษาไทย สาธิตธรรมศาสตร์มีแต่ฝ่ายสนับสนุนนักเรียนและกิจกรรม จะไม่มีการสร้างความบาดหมางให้แก่เด็กจากการจดชื่อส่งครูหรืออะไรก็ตาม แล้วถ้าถามว่าแบบนี้จะช่วยให้ดีขึ้นได้อย่างไร? ทางโรงเรียนจะใช้วิธีการแบบเด็ดขาด อย่างเช่น การทิ้งขยะไม่เป็นที่ แม่บ้านจะไม่เก็บโดยทันทีแต่จะปล่อยขยะสะสมไว้ จนวันนึงนักเรียนจะสำนึกได้เองว่าตัวเองไม่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ และจะเริ่มแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรู้วิธีการปฎิบัติตนในครั้งต่อ ๆ ไป

 

เชื่อมสัมพันธภาพให้แก่เด็กและผู้ปกครอง สาธิตธรรมศาสตร์ยังมองลึกไปถึงความพันธ์ในครอบครัวที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการพัฒนานักเรียน เริ่มตั้งแต่จะมีการเปิดรับสมัครนักเรียนตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน เพื่อให้มีช่วงเวลาที่เป็นโครงการเรียนว่า “ครอบครัวสาธิต” ให้เด็ก ๆ มาเข้าร่วม 2 เดือน โดยฝั่งพ่อแม่เองก็จะมีการเข้าหลักสูตร “ห้องเรียนพ่อแม่” ซึ่งจะเน้นการแก้ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในครอบครัว เช่น ทำไมลูกถึงตีตัวออกห่าง ลูกให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่า อยากคุยกับลูกเรื่องเพศสัมพันธ์ได้ ทางโรงเรียนจะช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น เข้าใจในฮอร์โมนร่างกายซึ่งส่งผลทำให้ลักษณะนิสัย การใช้ชีวิตของเด็กเปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าการจะช่วยให้เด็กพัฒนาได้ดีต้องมีความไว้ใจ เป็นห่วงได้แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม วิธีการนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีทำให้เกิดการพัฒนา “ศูนย์ Empathy Center” เป็นคลินิกให้พ่อแม่ ครู นักเรียน ได้ปรึกษา ทางสาธิตหวังว่าการเชื่อมความสัมพันธืในรูปแบบนี้จะช่วยพัฒนาสังคม ช่วยทำให้แต่ละคนมีมุมมองที่ใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมี “ชุมชนการเรียนรู้ TSS Family” ที่เป็นห้องเรียนเพื่อสนับสนุนผู้ปกครองโดยเฉพาะ ผู้ปกครองที่ว่างหลังจากการส่งลูกเข้าเรียนอาจจะมาเรียนทำขนม เรียนธรุกิจเพราะทางโรงเรียนเชื่อว่าสภาพแวดล้อมครอบครัวที่ดีจะช่วยให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ

ขอบคุณรูปจาก Mappa

หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา ทางสาธิตธรรมศาสตร์ก็พบเจอปัญหาบางอย่าง เช่น ความกังวลของผู้ปกครองในเรื่องของอนาคตเด็ก ซึ่งทางโรงเรียนเชื่อว่าเด็กจะมีอนาคตที่สดใสในแบบที่เป็นผู้เลือกไม่ใช่ผู้ถูกเลือก ระบบการศึกษานี้ถูกปรับให้เข้ากับยุคสมัย แม้ไม่มีการรับประกันว่าวิธีการแบบนี้จะได้ผล 100% แต่วิธีการเดิม ๆ มันพาให้ระบบการศึกษาไทยล้มเหลว การรับอะไรใหม่ ๆ ก็คงเป็นตัวเลือกที่ดี

 

ทางสาธิตธรรมศาสตร์เผยว่าหลังจากการทดลองใช้รูปแบบการสอนใหม่ ๆ นี้ ผลตอบรับออกมาไปในแนวโน้มที่ดี นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการมาเรียนแต่เช้า นักเรียนค้นพบความถนัด ค้นพบทักษะที่ตัวเองทำได้ดีมากขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้วิธีการนี้ประสบความสำเร็จคือการทำอย่างต่อเนื่องและทุ่มเทในการปรับปรุง พัฒนาอยู่เสมอ

 

แน่นอนว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ก็ย่อมมีทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้าน ทำให้ตกเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องในช่องทางออนไลน์ ซึ่ง Eduzones ก็เป็นอีกหนึ่งเสียงที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาไทยในรูปแบบที่ดีขึ้นเสมอมา

 

ในฐานะชุมชนการศึกษา Eduzones ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาไทย โดยมีการจัดทำโครงการ “Good Classroom” ซึ่งเป็นโครงการที่เผยแพร่ห้องเรียน การเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นผู้สอนให้ปรับเปลี่ยนการสอนในรูปแบบที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีครูผู้สอนร่วมเข้ามาเป็นผู้เผยแพร่รูปแบบการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นห้องเรียนในอนาคตกว่า 50 โรงเรียน

ร่วมกันเปลี่ยนแปลงการสอน เพื่อการศึกษาไทยที่ดีขึ้น เพื่อความสุขของผู้เรียนและผู้สอน ร่วมกันสร้างห้องเรียนแห่งความสุขได้ที่

FB page : https://www.facebook.com/goodclassroom

 

โรงเรียนสาธิตธรรมศาสตร์ : คลิก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *