ทำไมเด็กไทยจึงต้องติว — แบบสำรวจความเห็นจากชุมชน Eduzones

ทำไมเด็กไทยจึงต้องติว — บทสรุปจากผลสำรวจ
ทำไมเด็กไทยจึงต้องติว — แบบสำรวจความเห็นจากชุมชน Eduzones

การติว หรือเรียนพิเศษ เป็นการศึกษาเพิ่มเติมนอกห้องเรียนปกติ ในประเทศไทยการติวกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทำให้ธุรกิจสถาบันกวดวิชาเติบโตมากมายชนิดที่เรียนได้ว่าแทบจะมีทุกย่อมหญ้า

.

แล้วทำไมเด็กไทยจึงต้องติว? จากผลสำรวจผ่านเฟสบุ๊กแฟนเพจ Eduzones และ Wiriyah Eduzones ในหัวข้อ “ทำไมนักเรียนไทยต้องติว?”  โดยเก็บข้อมูลภายในวันที่ 4 มีนาคม 2565 พบการแสดงความคิดเห็นเรียงลำดับได้ ดังนี้

.

อันดับที่ 1 นักเรียนไทยต้องติวเพราะเนื้อหาข้อสอบที่ใช้สอบเข้าไม่มีอยู่ในชั้นเรียน

ตัวอย่างความคิดเห็น

อันดับที่ 2 นักเรียนไทยต้องติวเพราะการสอนของอาจารย์

ตัวอย่างความคิดเห็น

อันดับที่ 3 นักเรียนไทยต้องติวเพราะเหตุผลอื่น ๆ

ตัวอย่างความเห็น

นอกเหนือจากนี้แล้ว ความคิดเห็นส่วนหนึ่งยังสะท้อนให้เห็นว่า อีกหนึ่งปัญหาที่ตามมาจากความนิยมในการเรียนเพิ่มเติมนี้คือ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา

แม้ความขยันมั่นเพียรจะถือเป็นปัจจัยในการศึกษา แต่ก็ต้องยอมรับว่านักเรียนที่มีฐานะครอบครัวที่ดีกว่าจะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีกว่า เมื่อเข้าถึงการศึกษาที่ดีกว่าแล้วก็ย่อมส่งผลทำให้เพิ่มโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายได้ดีกว่า แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้วจบพบว่าต้นตอของปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากระบบการศึกษาของประเทศไทย ที่ส่งผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษา นักเรียนในต่างจังหวัดกับนักเรียนในกรุงเทพฯแม้จะศึกษาอยู่ในระดับชั้นเดียวกันแต่กลับเรียนไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่นักเรียนในจังหวัดเดียวกันเพียงแค่อยู่ต่างเขตก็ได้รับการศึกษาในรูปแบบที่ต่างกัน

.

ด้านดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ นักวิชาการอิสระและในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์การศึกษา Eduzones ได้แสดงความเห็นไว้ว่า “เราก็เคยเปิดโรงเรียนกวดวิชาด้วยเหตุผลที่ว่ามันรวยเร็วดี ถ้าเราสร้างเยาวชนแบบที่ก็ท่องจำสอนอะไรเสร็จก็สอบ พอเด็กสอบไม่ได้ก็ไปเรียนกวดวิชา การเรียนกวดวิชาก็คือการเรียนซ้ำ ซึ่งเรียนซ้ำนี้ก็ไม่รู้ว่าจะได้ใช้ที่ไหนนอกจากการสอบหรือเปล่า ผู้ปกครองก็วัดเกรดถ้าได้เยอะก็ดีใจ ได้น้อยก็ต้องไปเรียนกวดวิชา โรงเรียนกวดวิชาก็รวยจากการสอยซ้ำ มหาวิทยาลัยก็ทำแบบเดียวกัน ไม่ได้ดูเลยว่าเด็กเป็นยังไงก็รับเด็กจากผลคะแนนที่สอบ ซึ่งผลคะแนนที่สอบมาความจำ มาจากการกวดวิชา เด็กไม่เรียนกวดวิชาก็เข้าโรงเรียนดัง ๆ ไม่ได้ เข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ไม่ได้ แบบนี้ก็เป็นปัญหา ผมไม่ได้บอกว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่ดี แต่หมายความว่าเด็กต้องอยากเรียนด้วยตนเอง เด็กไปโรงเรียนต้องบังคับให้เรียน พอครูบอกไม่สอนเด็กก็ดีใจ แต่กวดวิชาไม่มีใครบังคับเด็กไปเรียน แต่ถ้าทำแบบนี้เด็กก็จะได้แต่ท่องจำ” ดร.วิริยะ ยังได้พูดถึงระบบการศึกษาที่อาจเป็นต้นตอของปัญหาเหลื่อมล้ำอีกว่า “จุดมุ่งหมายในการสร้าง Eduzones คือเราอยากบอกให้เด็กรู้ว่าเขามีพลังมากกว่าโรงเรียนที่สอนแบบโบราณจะสร้างเขาได้ เขาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง ถ้าเขารู้ในความถนัด ถ้าเขามีความฝัน

พอเด็กเขาเชื่อแบบนั้นมันก็ทำให้เขาตั้งคำถามว่า ทำไมโรงเรียนยังสอบแบบนี้ ทำยังให้เด็กสอบด้วยการท่องจำ ทำไมไม่ให้เอาหนังสือเข้าห้องสอบ เหตุผลก็เพราะครูเรียนมาแบบนั้นก็ต้องสอนแบบนั้น

ส่วนรัฐบาลก็ประกาศว่าต้องปฏิรูปด้วยความคิดสร้างสรรค์ แล้วเคยสร้างได้ไหม? ทุกคนพูดถึงเรื่องกระจายโอกาสทางการศึกษา มันก็ต้องให้คนที่ด้อยการศึกษาได้เงยหน้าขึ้นมา แต่ในตอนนี้คนจนไม่มีเงินกวดวิชา ไปเรียนโรงเรียนก็ไม่ได้เรียนโรงเรียนดัง ๆ ใหญ่ ๆ โรงเรียนใหญ่ก็ได้เงินจากรัฐบาลเยอะ โรงเรียนเล็กก็ได้เงินจากรัฐบาลน้อย เงินเดือนครูก็แทบไม่มี สอนก็สอนหลายอย่าง จะเอาคุณภาพการเรียนมาจากไหน ตั้งสมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) มาประเมินคุณภาพโรงเรียน เอาโรงเรียนที่ควรได้รับการสนับสนุนไปบอกว่าเขาแย่ เด็กคนนึงเรียนเก่งมาก ฐานะดี กับเด็กอีกคนที่เรียนไม่เก่งเพราะทำข้อสอบไม่ได้ กลับไปบ้านยุงกัด อ่านหนังสือไม่ได้ ไฟไม่พร้อม ต้องช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ครูในห้องก็มา คนนี้เก่งจังเลย เอาชื่อไปติด คนนี้สอบได้ แต่เด็กหลังห้องพวกนี้เลว นี้คือสิ่งที่เราทำกัน มันไม่ใช่การศึกษา มันคือเครื่องแบ่งคน”

.

จากผลการสำรวจและความเห็นของ ดร.วิริยะจะพบว่า “การติวเกิดมาจากความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษาไทยที่ยังส่งผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม”

เด็กที่มีความพร้อมจะเข้าถึงการศึกษาที่ดีมากกว่า ซึ่งการเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ก็หมายความว่าเด็กคนนั้นมีโอกาสที่จะเข้าสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกลายเป็นความรู้ระดับสูงที่เด็กที่ติวเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงได้ ก็ยิ่งลดโอกาสของเด็กฐานะไม่ดีเข้าไปอีก แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การติวก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียไปหมด คนบางกลุ่มเชื่อว่าการติวอาจช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยการกระจายการศึกษาที่ดีให้เป็นวงกว้าง แต่ก็เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มคนระดับชนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การปฏิรูปการศึกษา การศึกษาในชั้นเรียนควรมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน เด็กทุกคนควรมีโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาในระดับที่เหมาะสมเท่ากันในทุกชนชั้น โดยความรู้เหล่านั้นต้องนำความรู้ที่สามารถใช้ได้จริง เนื้อหาในการสอบก็ควรอยู่ในชั้นเรียนที่เด็กสามารถทำได้แม้ไม่ได้เรียนพิเศษ ส่วนการติวเพิ่มเติมควรเป็นทางเลือกสำหรับเด็กที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือชั้นเรียนมากกว่าจะกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างเช่นทุกวันนี้

 

อ่านและแสดงความคิดเห็นเพิมเติ่มได้ที่ :

https://www.facebook.com/ajWiriya/posts/506490334165648

https://www.facebook.com/eduzonesdotcom/posts/10159805239291171

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *