ทำไมเด็กไทยจึงรั้งท้ายวิชาภาษาอังกฤษ? — แบบสำรวจความเห็นจากชุมชน Eduzones

ทำไมเด็กไทยจึงรั้งท้ายวิชาภาษาอังกฤษ? — แบบสำรวจความเห็นจากชุมชน Eduzones
ทำไมเด็กไทยรั้งท้ายภาษาอังกฤษ? — บทสรุปจากผลสำรวจ

โลกที่เติมไปด้วยการสื่อสารอย่างเช่นทุกวัน การเรียนรู้ภาษากลางที่ช่วยให้เราสื่อสารได้กว้างขว้างอย่างภาษาอังกฤษจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเห็นได้ชัด ทักษะภาษาอังกฤษกำลังจะเป็นทักษะพื้นฐานมากกว่าทักษะเฉพาะบางคนเท่านั้น เกือบแทบจะทุกประเทศบนโลกที่จัดให้มีการเรียนการสอนภาคบังคับในวิชาภาษาอังกฤษ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย

.

แล้วทำไมเด็กไทยจึงรั้งท้ายในวิชาภาษาอังกฤษ? จากผลสำรวจผ่านเฟสบุ๊กแฟนเพจ Eduzones และ Wiriyah Eduzones ในหัวข้อ “เด็กไทยรั้งท้ายภาษาอังกฤษเพราะอะไร?”  โดยเก็บข้อมูลภายในวันที่ 4 มีนาคม 2565 พบการแสดงความคิดเห็นเรียงลำดับได้ ดังนี้

.

อันดับที่ 1 หลักสูตรภาษาอังกฤษในไทยไม่ตอบโจทย์การนำไปใช้จริง

ตัวอย่างความคิดเห็น

 

อันดับที่ 2 บุคลากรครูไม่มีทักษะภาษาอังกฤษเพียงพอ

ตัวอย่างความคิดเห็น

อันดับที่ 3 เหตุผลอื่น ๆ

ตัวอย่างความเห็น

.

นอกเหนือจากการแสดงความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอ่อนในทักษะภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีอีกหลายท่านที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาเด็กไทยกับภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างความคิดเห็น

.

Eduzones เคยได้เขียนบทความ “เด็กไทย รั้งท้าย “ภาษาอังกฤษ” อยู่จริงหรอ?” ที่แสดงข้อมูลให้เห็นว่าความชำนาญด้านภาษาอังกฤษของคนไทยรั้งท้ายทั้งในแทบทวีปเอเชียและระดับโลก โดยปี ค.ศ.2021 ประเทศไทยอยู่ระดับที่ 100 จาก 112 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย นอกเหนือจากนี้แล้ว ก็ยังได้แสดงปัจจัยที่ส่งผลทำให้ความชำนาญด้านภาษาอังกฤษของคนไทยรั้งท้าย มี 3 ปัจจัยหลัก คือ

  1. ปัจจัยที่เกิดจากตัวผู้สอนและหลักสูตรบทเรียน ที่หมายถึงทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพของบุคคลากรผู้สอน ตลอดจนเนื้อหาหลักสูตรที่ไม่เหมาะสำหรับการเรียนไว้เพื่อสื่อสาร
  2. ปัจจัยที่เกิดจากเด็กหรือตัวผู้เรียนเอง นักเรียนบางกลุ่มไม่เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ มองว่าเป็นวิชาที่ยาก หรือขาดโอกาสเข้าถึงการเรียนการสอนที่ดีพอ
  3. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น งบประมาณ หรือการสนับสนุนจากคนรอบตัว

.

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ นักวิชาการอิสระและในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์การศึกษา Eduzones ได้โพสต์ความคิดเห็นที่น่าสนใจผ่านเฟสบุ๊กแฟนเพจไว้ว่า “เรียนอังกฤษ หลายปี ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่กล้าพูด เพราะอะไร ตอบในฐานะครู เพราะเรียนแบบท่องจำล้วน ๆธรรมชาติของภาษามันคือทักษะ เรียนแล้วควรได้ฝึกในทุกวัน อยู่บ้านก็ฝึกฝน ภาษาอังกฤษมีรอบตัว สื่อต่าง ๆ ก็มีเยอะ ที่ผ่านมาในอดีตเราอาจจะท่องจำแค่โครงสร้างทางไวยากรณ์ ประธาน + กริยา + กรรม แล้วก็อะไรบวกอะไรอีกมาก ทำให้เวลาจะพูดกับฝรั่ง เด็กนึกไม่ออกว่าจะเอาอะไรมาก่อนดี แนะนำให้ตัดบทเรียนที่เป็นไวยากรณ์ในเด็กเล็กๆออกไปบ้างแล้วฝึกการฟังพูดอ่านเขียนตามลำดับ บางโรงเรียน ป.1 เรียน past simple present sim แล้ว เด็กยังไม่รู้ a b c เลย >>> จากครูทราย” ซึ่งมีหลายความเห็นที่เห็นไปในทางเดียวกันว่า “ปัญหาด้านความชำนาญด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทยเกิดจากการเรียนการสอนที่ผิดวิธี”

.

แล้วการเรียนการสอนที่ผิดวิธีของเด็กไทยคืออะไร? การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไปให้ความสำคัญกับการเรียนไวยากรณ์ การเน้นเรื่องของไวยากรณ์เป็นสำคัญทำให้เด็กไทยหลายคนขาดความรู้สำคัญอย่าง คลังศัพท์ ที่เป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร แม้เด็กจะเก่งด้านไวยากรณ์ ทราบว่าประโยคในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต้องอยู่ในรูปแบบไหน แต่กลับขาดคำศัพท์ที่จะช่วยสื่อความหมายให้ตรงกับสิ่งที่คิด การเรียนการสอนภาษาที่ถูกต้องควรที่จะเน้นการออกเสียง ฟัง พูด แล้วพัฒนาเป็นการอ่าน การเขียน ตามลำดับ เมื่อเด็กมีความสามารถในการสื่อสารเบื้องต้นก็จะสามารถเรียนรู้ไวยากรณ์ที่ซ่อนในอยู่ประโยค

.

ประเทศไทยแม้จะบอกว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่สำคัญแต่การการให้ความสำคัญกลับส่วนทางกับคำพูด บุคลากรผู้ถ่ายทอดรู้ด้านภาษาอังกฤษไม่มีทักษะที่เพียงพอ ไม่จำเป็นที่ว่าครูจะต้องจบมาทางด้านภาษาอังกฤษ หรือเป็นเจ้าของภาษาโดยตรง แต่จะต้องมีการวัดระดับความรู้อาจารย์ให้อยู่ในเกินมาตรฐานที่สูงพอจะตอบข้อสงสัยเด็กได้ทุกประการ อีกทั้งควรมีการสนับสนุนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านภาษาที่มากเพียงพอ เพราะเด็กหลายคนมีทักษะมากพอแต่ขาดความกล้าเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลทำให้ไม่สามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ได้จริง ห้องเรียนภาษาอังกฤษจริงจำเป็นที่จะต้องสร้างความคุ้นเคยให้เด็กได้มากพอ

.

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เด็กขาดความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษคือ “การล้อเลียนเรื่องสำเนียง” จากผลการสำรวจวัยรุ่นอายุ 11-19 ปี จำนวน 5,345 คน ในปี 2018 ของบริษัท Wisesight ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งในประเทศไทยพบว่า เด็กไทย 3% ถูกล้อเลียนเรื่องวิธีการพูดและสำเนียง โดยมาจากเพื่อนร่วมโรงเรียนมากถึง 70% จากครูอาจารย์ 17% และสุดท้ายจากครอบครัว 13% ซึ่งปัญหาการล้อเลียนนี้จะทำให้เด็กเกิดความกลัวและเป็นปมในใจที่ทำให้เด็กปิดกั้นการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ เด็กหลายคนถูกล้อเลียนเมื่อเริ่มฝึกใช้ภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่กระทั่งเด็กที่มีสามารถออกเสียงได้ตรงกับเจ้าของภาษาก็ถูกมองว่าแสดงออกเกินความจำเป็น

.

ด้วยเหตุผลทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ หากจะต้องแก้ก็จะต้องรื้อทั้งหลักสูตร ปรับเปลี่ยนข้อสอบให้เหมาะสม ยกระดับมาตรฐานของครู สร้างห้องเรียนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นจริง แต่นอกเหนือสิ่งอื่นใดคือการปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ เมื่อเขาทราบว่าการเรียนรู้ทักษะนี้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือการปลูกฝังจริยธรรมในจิตใจของเด็กเพื่อลดปัญหาการล้อเลียนสำเนียงที่เป็นปัญหาสำคัญซึ่งกระทบต่อความอยากเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ เมื่อเด็กมีความมั่นใจเขาก็สามารถเปิดรับความรู้ได้อย่างเต็มรูปแบบ

.

อ่านบทความ “เด็กไทย รั้งท้าย “ภาษาอังกฤษ” อยู่จริงหรอ?” ฉบับเต็มได้ที่ : คลิก

.

อ่านและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.facebook.com/ajWiriya/posts/467717908042891

https://www.facebook.com/eduzonesdotcom/photos/10159694050286171

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *