DELTAs — 13 ทักษะเพื่ออาชีพในอนาคตจาก McKinsey

DELTAs — 13 ทักษะเพื่ออาชีพในอนาคตผลสำรวจจาก McKinsey
DELTAs — 13 ทักษะเพื่ออาชีพในอนาคตจาก McKinsey

ปัจจุบันดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้คนเราจำเป็นที่จะเปิดรับทักษะใหม่ ๆ และปรับตัวให้เข้ากับอาชีพที่กังจะเกิดขึ้นนอนาคต ด้วยเหตุนี้ McKinsey บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกจากอเมริกาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับอาชีพที่สูญหายไปและอาชีพที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต จึงเกิดเป็นการสำรวจเกี่ยวกับเรื่อง “Future Skill” หรือทักษะในอนาคตที่จำเป็นต้องมีสำหรับ “Future of Work” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากถึงกว่า 18,000 คนจาก 15 ประเทศ จากผลสำรวจพบว่า ถ้าจะอยู่รอดในอนาคตจำเป็นต้องมี 56 ประกอบ 13 ทักษะใน 4 หมวดสำคัญ ที่ McKinsey เรียกรวมกันว่า DELTAs (Distinct Elements of Talent)” โดยให้เหตุผลที่ไม่เรียกว่าทักษะเนื่องจากไม่ได้มีเพียงเรื่องของทักษะ แต่ยังครอบคลุมไปถึงทัศนคติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

.

Cognitive หรือ องค์ความรู้ ประกอบไปด้วยทักษะ 4 อย่าง คือ

           1. Critical Thinking (ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ)

  • การแก้ปัญหาแบบมีแบบแผน
  • การใช้เหตุผลในการประกอบความคิด
  • การแยกแยะสิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิด และอคติต่าง ๆ
  • การมองหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

           2. Planning and ways of working (ทักษะการวางแผนและหนทางสำหรับการทำงาน)

  • การวางแผนในการพัฒนางาน
  • การบริหารจัดการเวลา และการลำดับความสำคัญของงาน
  • การใช้ความคิดได้อย่างคล่องแคล่ว
  • ความสามารถในการเรียนรู้

           3. Communication (ทักษะการสื่อสาร)

  • การเล่าเรื่อง และพูดต่อหน้าสาธารณชน
  • ถามคำถามที่ถูกต้อง
  • การสังเคราะห์ข้อมูล หรือข้อความที่ได้รับมา
  • การเป็นผู้ฟังที่ดีอย่างตั้งใจ

           4. Mental Flexibility (ทักษะการยืดหยุ่น)

  • การมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • ความสามารถในการแปลงความรู้ให้เหมาะกับบริบท สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
  • การเปิดรับมุมมองที่หลากหลาย
  • การปรับตัว

.

Interpersonal หรือ มนุษยสัมพันธ์ ประกอบด้วย

           5. Mobilizing Systems (ทักษะการขับเคลื่อน)

  • การเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถโน้มน้าวผู้อื่น
  • ความสามารถในการเจรจาต่อรองแบบได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
  • การสร้างวิสัยทัศน์ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่ดี
  • การมีความตระหนักต่อองค์กร

           6. Developing Relationships (ทักษะการพัฒนาความสัมพันธ์)

  • การมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
  • การสร้างแรงบันดาลใจที่น่าเชื่อถือ
  • ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  • การเข้าสังคมกับผู้อื่นได้

           7. Teamwork Effectiveness (ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม)

  • การสนับสนุน การส่งเสริมอย่างทั่วถึง
  • การสร้างแรงบันดาลใจ ขับเคลื่อนบุคลิกภาพที่แตกต่างกันของแต่ละคน
  • การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
  • การทำงานแบบร่วมมือกัน
  • การโค้ช การฝึกสอน การแนะนำ
  • การส่งเสริมพลัง การสนับสนุนอำนาจของผู้อื่น

.

Self-Leadership หรือ ภาวะการเป็นผู้นำในตัวเอง ประกอบด้วย

           8. Self– awareness and self–management (ทักษะการตระหนักและจัดการตนเอง)

  • ความเข้าใจอารมณ์และสิ่งที่กระตุ้นตนเอง
  • การควบคุมตนเอง
  • ความเข้าใจจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง
  • ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง
  • การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ตนเอง
  • การมีความมั่นใจในตัวเอง

           9. Entrepreneurship (ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ)

  • ความกล้าที่จะเสี่ยง
  • การขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
  • การมีพลัง ความสนใจ และการมองโลกในแง่ดี
  • การทำลายความเชื่อแบบเดิม ๆ ให้กล้าที่จะทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ

           10. Goals Achievement (การมีเป้าหมายความสำเร็จ)

  • การเป็นมีเป้าหมายและกล้าตัดสินใจ
  • การปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทำงานแบบเน้นผลลัพธ์เป็นหลัก
  • ความขยัน กระตือรือร้น และความเพียรพยายาม
  • การรับมือกับความไม่แน่นอน
  • การพัฒนาตนเอง

.

Digital ความรู้ ความสามารถในเรื่องดิจิทัล ประกอบด้วย

           11. Digital Fluency and Citizenship (ทักษะความคล่องแคล่วและการเป็นพลเมืองดิจิทัล)

  • มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดิจิทัลพื้นฐาน
  • พร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องดิจิทัล
  • การทำงานแบบร่วมมือกับดิจิทัล
  • มีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล

           12. Software Use and Development (ทักษะการใช้งานและพัฒนาซอฟต์แวร์)

  • มีความรู้ความสามารถด้านโปรแกรม
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ
  • การคำนวณและการคิดแบบอัลกอริทึม

           13. Understanding Digital Systems (ทักษะความเข้าใจในระบบดิจิทัล)

  • มีความรู้ความเข้าใจในระบบดิจิทัล
  • ระบบการทำงานแบบอัจฉริยะ
  • ความรู้ด้านความปลอดภัยของระบบไซเบอร์
  • การแปลและการเปิดใช้งานเทคโนโลยี และพร้อมที่จะรองรับระบบนอกเหนือที่กำลังจะมาถึงในอนาคต

.

           นอกจากนี้แล้ว McKinsey ยังได้ทำการวัดระดับความชำนาญของ 56 DELTAs เหล่านี้จากคนแรงงานในปัจจุบัน โดยให้กรอกแบบสอบถามออนไลน์ พร้อมทั้งนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานความชำนาญที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต อีกทั้งยังมีวิจัยเพิ่มเติมอีกว่าระดับความชำนาญเหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่แล้วหรือไม่ ซึ่งได้ผลวิจัย ดังนี้

1. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความชำนาญต่ำที่สุดในหมวดดิจิทัล ได้แก่

  • ทักษะการใช้งานและพัฒนาซอฟต์แวร์ ได้คะแนนอยู่ที่ 39 คะแนน จากค่าเฉลี่ย 48 คะแนน
  • ทักษะความเข้าใจในระบบดิจิทัล ได้คะแนนอยู่ที่ 42 จากค่าเฉลี่ย 48 คะแนน

2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความชำนาญรองลงมาในหมวดองค์ความรู้ ได้แก่

  • ทักษะการสื่อสาร ได้คะแนนอยู่ที่ 52 จากค่าเฉลี่ย 58 คะแนน
  • ทักษะการวางแผนและหนทางสำหรับการทำงาน ได้คะแนนอยู่ที่ 54 จากค่าเฉลี่ย 58 คะแนน

.

           โดยรวมแล้วผู้เข้าร่วมแบบสอบถามที่จบระดับมหาวิทยาลัยจะสามารถทำคะแนนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยบ่งชี้ว่าระดับการศึกษาที่สูงมีผลต่อความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในการทำงานในอนาคต แต่แค่เฉพาะในหมวดของดิจิทับ เนื่องจากในหมวดภาวะการเป็นผู้นำในตนเองและมนุษยสัมพันธ์ เช่น ความมั่นใจในตนเอง ความเห็นอกเห็นใจ หรือความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับระดับการศึกษา พบว่าผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่ามีทักษะเหล่านี้ต่ำกว่าทักษะอื่น ๆ

.

           นอกจากนี้แล้วทักษะด้านดิจิทัลถือเป็นทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องในตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันกลับเป็นทักษะที่ผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่าจะสามารถเข้าถึงได้มากกว่า จากการสำรวจเพิ่มเติมพบว่าความชำนาญใน DELTAs พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับทักษะเหล่านี้สูงมีแนวโน้มที่จะได้รับการว่าจ้าง ได้รับรายได้ที่สูงกว่าผู้มีทักษะต่ำกว่า แต่เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับทักษะเหล่านี้ ซึ่งจากการสำรวจได้ผลสรุปดังนี้

  1. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างมากที่สุด ได้แก่
    • การปรับตัว (ทักษะองค์ความรู้) 24%
    • การรับมือกับความไม่แน่นอน (ภาวะการเป็นผู้นำ) 18%
    • การสังเคราะห์ข้อมูล หรือข้อความที่ได้รับมา (ทักษะองค์ความรู้) 12%
  2. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการระดับรายได้ที่สุด ได้แก่
    • การวางแผนในการพัฒนางาน (ทักษะองค์ความรู้) 27%
    • การถามคำถามที่ถูกต้อง (ทักษะองค์ความรู้) 23%
    • ความมั่นใจในตนเอง (ภาวะการเป็นผู้นำในตนเอง) 22%
  3. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความถึงพอใจงาน ได้แก่
    • การควบคุมตนเอง (ภาวะการเป็นผู้นำในตนเอง) 23%
    • การรับมือกับความไม่แน่นอน (ภาวะการเป็นผู้นำในตนเอง) 20%
    • ความมั่นใจในตัวเอง (ภาวะการเป็นผู้นำในตนเอง) 20%

.

           จากงานวิจัยเหล่านี้จะช่วยปฏิรูประบบการศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการอาชีพที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังช่วยให้พวกเราเตรียมความพร้อมเพื่อประสบความสำเร็จในอนาคตได้เป็นอย่างดี

.

อ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ : คลิก

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *