งาน Healing Mind “กิจกรรมเยียวยาจิตใจ”

งานสำหรับการศึกษาเรื่องการเยียวยาจิตใจ (Healing Mind Workshop) ได้จัดขึ้นโดยมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ (IYF) ซึ่งเป็นองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีพื้นฐานมาจากความเป็นคริสเตียน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 และได้รับการสนับสนุนในการเป็นผู้ผลิตเนื้อหาและสื่อบนโซเชียลมีเดีย Healing Mind จากสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้แข็งแรง สร้างสุขภาวะทางอารมณ์และความคิดที่ดี และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านจิตใจ ผ่านหลักสูตรพัฒนาจิตใจ Mind Education โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการทางความคิดที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับปัญหาสังคมในปัจจุบัน อาทิ โรคซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาด้านการเรียน การติดเกมและยาเสพติด เป็นต้น โดยได้รับเกียรติจากดร. (กิตติมศักดิ์) ฮีจิน…

4 มาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูจากกระทรวงศึกษาธิการ

แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อต้องการลดภาระหนี้โดยรวมของครูให้น้อยลง ให้ครูมีรายได้ต่อเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือน โดยได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนในเฟสแรก เป็น 4 มาตรการ ดังนี้   มาตรการที่ 1 ลดดอกเบี้ย โดยเปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ครูรายใหญ่เข้าร่วม ขณะนี้มีสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 70 แห่ง จากทั้งหมด 108 แห่ง เข้าร่วมปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว โดยจะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตั้งแต่ 0.05-1.0% และพบว่ามีสหกรณ์ 11 แห่ง สามารถปรับลดดอกเบี้ยให้ลงเหลือต่ำกว่า 5%…

ม.ศิลปากร ยกระดับตลาดนัดอินดี้ สู่ตลาดนัดสวัสดิการนักศึกษา “อธิการบดี” ลงตรวจงาน สั่งการตลาดนี้เพื่อชาวศิลปากร

ม.ศิลปากร ยกระดับตลาดนัดอินดี้ สู่ตลาดนัดสวัสดิการนักศึกษา อธิการ ลงตรวจงาน สั่งการตลาดนี้เพื่อชาวศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ลงมือตรวจงาน ติดตามความคืบหน้า การจัดสร้างตลาดนัดสวัสดิการนักศึกษา (ตลาดนัดอินดี้) ด้วยตนเอง พร้อมกับ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร “เราสร้างตลาดนัดนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายและบริการสวัสดิการ ให้กับนักศึกษา บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัย และจะเป็นการดูแลสวัสดิภาพนักศึกษาหอพักในมหาวิทยาลัย และนักศึกษา บุคลากรผู้ที่มีความประสงค์จะใช้บริการตลาดนัดสวัสดิการนักศึกษาในยามเย็น เพื่อลดอุบัติเหตุและอันตรายจากการออกไปด้านนอกมหาวิทยาลัยในยามค่ำคืนอีกด้วย” อธิการบดี กล่าวขณะลงตรวจพื้นที่ ทั้งนี้คาดว่าตลาดนัดสวัสดิการนักศึกษา จะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2565 และพร้อมใช้งานก่อนเปิดภาคการศึกษา…

‘เบิร์ด-ธงไชย’ โพสต์ปลื้ม มทร.ธัญบุรีมอบเกียรติที่ยิ่งใหญ่ จะได้เป็นดอกเตอร์แล้ว

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 นายธงไชย แมคอินไตย์ เข้าร่วมซ้อมใหญ่ พร้อมร่วมอวยพร ให้กับบัณฑิต มทร.ธัญบุรี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563 ซึ่งในวันที่ 21 มีนาคม 2565 นายธงไชย แมคอินไตย์ เข้ารับพระราชทานปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา)จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ล่าสุด เบิร์ด – ธงไชย ได้โพสต์ภาพตนเองสวมชุดครุยขณะกำลังซ้อมรับปริญญา ในเพจ Bird Thongchai พร้อมเขียนข้อความว่า… “กราบขอบพระคุณทางสภามหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี คณาจารย์ทุกๆ ท่านที่มอบเกียรติที่ยิ่งใหญ่ให้กับเบิร์ด…นักร้องตัวน่อย…

ศาสตร์แห่งยุคดิจิทัลที่แม่นยำที่สุด!สวนสุนันทาเปิดรับอบรมหลักสูตรนวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA) รุ่นที่ 2 แล้ววันนี้!

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล HIDA (Health Innovation Digital Age) รุ่น 2 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต นวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง และผู้นำยุคดิจิทัล เรียนรู้ 5 ศาสตร์สุขภาพ สร้างผู้นำปัญญา พัฒนาสังคม เปิดรับสมัคร 15 มีนาคม -30 เมษายน 2565 ระยะเวลาการอบรม 9 เดือน ทุกวันอังคาร 11.00-18.00…

มาตรการการจัดสอบวิชาเฉพาะแพทย์ กสพท65

  การสอบกสพทใกล้เข้ามาทุกที่แล้วนะคะ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากตั้งใจจะสอบอย่าลืมเช็คมาตรการการสอบท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 แล้วอย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ   รายละเอียดมาตรการการจัดสอบวิชาเฉพาะแพทย์ : คลิก

บอร์ดปฏิรูปฯ ด้านการศึกษา ห่วงวิกฤตเด็กหลุดนอกระบบช่วงปิดเทอมใหญ่ เร่งดึงกลไกท้องถิ่นมีส่วนร่วม พร้อมยกแนวทาง “Area-based Education” แก้ปัญหาได้จริงตรงจุด

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เดินหน้าแก้โจทย์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หลังวิกฤตโควิด-19 กระทบเด็กหลุดออกจากระบบจำนวนมาก โดยคาดว่ามีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในช่วงปิดภาคเรียนที่จะถึงนี้ พร้อมส่งสัญญาณถึงทุกภาคส่วนร่วมกันเร่งปฏิรูปความเหลื่อมล้ำผ่านกลไกการทำงานเชิงพื้นที่ Area-based Education (ABE) ระดมความร่วมมือ ท้องถิ่น – จังหวัด เปลี่ยนอนาคตเด็กยากจนชายขอบเพื่อไม่ให้เป็นปิดเทอมสุดท้ายของเด็กๆ พร้อมกันนี้อำเภอสวนผึ้งได้จับมือกับ กสศ. แสนสิริ และมจธ.ราชบุรี เดินหน้า “สวนผึ้งโมเดล” ปักหมุด อำเภอแรก “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ชูกลไกป้องกันการหลุดจากระบบการศึกษา  พร้อมสร้างโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาค รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เปิดเผยว่า สองปีที่ผ่านมาวิกฤตโควิด-19 ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม เด็กที่ได้รับผลกระทบสูงสุดในทุกประเทศคือเด็กยากจน ด้อยโอกาส และกลุ่มเปราะบาง…

คณะกมธ.การอุดมศึกษาฯวุฒิสภา ศึกษาดูงานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของบริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี่

เมื่อวันพุธที่ 16 มกราคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารจี ทาวเวอร์แกรนด์ พระรามเก้า กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา นำโดย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการ ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา…

“การกลั่นแกล้ง รังแก (Bullying) ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น!”

บูลลี่ (Bully) คือ การกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูด หรือ พฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น ซึ่งมักเกิดขึ้นในสังคมที่มีช่องว่างระหว่างผู้ที่มีพละกำลัง หรืออำนาจมากกว่าแสดงออกแก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า และมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยพบการบูลลี่ในโรงเรียน นำไปสู่ปัญหาสภาพทางจิตใจ ที่ร้ายแรงได้ในอนาคต   การบูลลี่ในโรงเรียน นำไปสู่ปัญหาแก่เด็กๆ ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ส่งผลต่อการเรียนและความปลอดภัยของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเจอปัญหาตามลำพัง ผู้ปกครองควรหมั่นซักถาม สังเกตอาการ เมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ กังวล กลัว ไม่อยากไปโรงเรียน เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะบานปลาย   พฤติกรรม Bully ของเด็กไทย จากการสำรวจกลุ่มเด็กอายุ 10 –…

จุฬาฯ ร่วมมือกับมจธ.และสวทช. แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตรวจสอบและป้องปรามการลอกเลียนวรรณกรรม

จุฬาฯ ร่วมมือกับ มจธ. และ สวทช. แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตรวจสอบและป้องปรามการลอกเลียนวรรณกรรม ส่งเสริมคุณภาพหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและงานวิจัยไทยสู่มาตรฐานสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตรวจสอบและป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมผ่านระบบอักขราวิสุทธิ์ พัฒนากลไกมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของประเทศ พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างรศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.วรินธร สงคศิริ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์รักษาการรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  ณ ห้อง 702 ชั้น 7 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา  จุฬาฯ…