หลักสูตรฐานสมรรถนะคืออะไร?

สวัสดีค่ะ ชาว Eduzones! วันนี้จ๋อมแจ๋มจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับหลักสูตรการศึกษาไทยหลักสูตรใหม่ ที่มีชื่อว่า “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)” พร้อมกับให้ข้อมูลต่างๆว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน แล้วหลักสูตรใหม่กับหลักสูตรเดิมมีความแตกต่างกันอย่างไร แต่จะมีอะไรบ้างไปทำความรู้จักพร้อมกันเลยค่ะ!

เป็นระยะเวลา 10 กว่าปีแล้วนะคะที่การศึกษาไทยของเรายังใช้หลักสูตรเดิมที่เรียกว่า “หลักสูตรอิงมาตรฐาน (standards-based)” เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควรที่โลกจะพัฒนาไปข้างหน้าแต่หลักสูตรการศึกษาของประเทศไทยนั้นยังมีความล้าหลังย่ำอยู่กับที่ไม่มีการพัฒนาเหมือนกับประเทศอื่นๆ เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แน่นอนว่าทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ในขณะเดียวกันทางสพฐ.จึงเล็งเห็นว่าหลักสูตรการศึกษานั้นจึงควรเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงด้วย จึงได้มีการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาไทยใหม่ทั้งหมด จากหลักสูตรเดิมที่เน้นเนื้อหา การท่องจำเพื่อนำไปสอบ เป็นหลักสูตรใหม่ที่เรียกว่า “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” เป็นการเน้นสมรรถนะที่จำเป็นตามศักยภาพในแต่ละบุคคล อีกทั้งยังปรับหลักสูตรของชั้นประถมศึกษา จากการเรียน 1000 ชั่วโมง เป็น 800 ชั่วโมง โดยหลักสูตรฐานสมรรถนะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1.เนื้อหา 2.วิธีการสอน 3.การสอบ/การวัดผล

ทำไมจึงเปลี่ยนมาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ?

แน่นอนว่าหลายคนต่างตั้งคำถามกันใช่มั้ยคะว่าทำไมจึงเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาให้เป็นแบบใหม่? คำตอบ คือ “ปัญหา”และ “ความล้าหลัง” ของหลักสูตรเดิมนั่นเอง โดยหลักสูตรเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551  มีความ “ล้าหลัง” ไม่ทันตามโลกที่กำลังพัฒนา รวมไปถึงหลักสูตรไม่เอื้อให้สังคมไทยเกิดการพัฒนาและปรับตัว จึงต้องปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาเพื่อให้ทันโลกทันสมัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการสอบวัดระดับต่างๆที่คะแนนตกต่ำลง ไม่ว่าจะเป็น O-NET และ PISA อีกทั้งเด็กไทยนั้นยังขาดคุณลักษณะบางอย่าง เช่น มาตราฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดมีจำวนมาก ซ้ำซ้อน และอิงเนื้อหาค่อนข้างมาก ส่งผลให้มีความรู้แต่ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้เอง เรียนรู้เพื่อจดจำความรู้ไปเท่านั้น ทำให้การเรียนรู้นั้นขาดประสิทธิภาพ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” จึงเป็นทางออก

แล้วหลักสูตรนี้มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร?

     โดยหลักการสำคัญของหลักหลักสูตร มีด้วยกันทั้งหมด 5 ประการการสำคัญ คือ

  1. เป็นหลักสูตรที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่เหมาสมตามช่วงวัย เน้นการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) เพื่อการเป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยางต่อเนื่อง (Life-Long Learning)
  2. เป็นหลักสูตรที่เชื่อมโยงระหว่างสมรรถนะเฉพาะในการกำหหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและการทำงาน
  3. เป็นหลักสูตรที่จัดสภาพแวดล้อมและเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Pathway) ที่หลากหลาย และระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพหุปัญญาและธรรมชาติของผู้เรียน
  4. เป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การใช้สื่อและสถานการณ์ การเรียนรู้ร่วมสมัยมีความหลากหลาย และยืดหยุ่น ตามความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน (Differentiated Instuction) บริบทจุดเน้นสถานศึกษาและชุมชนแวดล้อม
  5. เป็นหลักสูตรที่มุ่งใช้การประเมินเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียนตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance) ที่เป็นธรรม เชื่อถือได้ เอื้อต่อการถ่ายโยงการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นตามระดับความสามารถ     หลักสูตรฐานสมรรถนะนั้นจะมีสมรรถนะที่อยู่ในหลักสูตรไทย โดยมี Keyword หลัก คือ “คิดได้ ทำเป็น เห็นคุณค่า” ซึ่งจะประกอบไปด้วย 6 สมรรถนะ ได้แก่
    1. จัดการตนเอง คือ การรู้จัก รัก เห็นคุณค่า ในตนเองและผู้อื่น การพัฒนาปัญญาภายใน ตั้งเป้าหมายในชีวิตและกำกับตนเองในการเรียนรู้และใช้ชีวิต การจัดการอารมณ์และความเครียด รวมถึงการจัดการปัญหาและภาวะวิกฤตสามารถฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุล (Resilience) เพื่อไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายในชีวิต มีสุขภาวะที่ดีและมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
    2. การคิดขั้นสูง คือ การที่สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณบนหลักเหตุผลอย่างรอบด้าน โดยใช้คุณธรรมกำกับการตัดสินใจได้อย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ใช้จินตนาการและความรู้สร้างทางเลือกใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีเป้าหมาย
    3. การสื่อสาร คือ การมีความสามารถรับรู้ รับฟัง ตีความ และส่งสารด้วยภาษาต่างๆ ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา โดยใช้กระบวนการคิด ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ ความเข้าใจใจระบบคุณค่า การแก้ปัญหาร่วมกันผ่านกลวิธีการสื่อสารอย่างฉลาดรู้ สร้างสรรค์ มีพลัง โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
    4. การรวมพลังทำงานเป็นทีม คือ สามารถจัดระบบและกระบวนการทำงาน กิจการ และการประกอบการใดๆ ทั้งของตนเองและร่วมกับผู้อื่น โดยใช้การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีแผน มีขั้นตอนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย มีภาวะผู้นำ มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ มีการประสานความคิดเห็นที่แตกต่างสู่การตัดสินใจและแก้ปัญหาเป็นทีมอย่างรับผิดชอบร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและจัดการความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์ที่ยุ่งยาก
    5. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง คือ การปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะพลเมืองไทย และ พลเมืองโลก รู้และเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เคารพในกติกาและกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลางความแตกต่างและหลากหลาย เห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศและโลก มีบทบาทในการตัดสินใจและสร้างการเปลี่ยนแปลงชุมชน สังคม และประชาคมโลกโดยยึดมั่นความเป็นไทย ความเท่าเทียมและเป็นธรรม ค่านิยมประชาธิปไตย และสันติวิธี
    6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน คือ มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการปรากฏการณ์ของโลกและเอกภาพ รวมไปถึงความสัมพันธ์ของคริตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต เห็นคุณค่า สามารถแก้ไขปัญหาหือสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เพื่อการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

    หลักสูตรฐานสมรรถนะนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนจากหลักสูตรเดิม จากที่การเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 หลักสูตรจัดให้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่นเดียวกับระดับชั้นอื่นๆ แทนที่จะเน้นไปที่การอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ แต่ในหลักสูตรฐานสมรรถนะนั้นมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้ากับระดับชั้นประถมศึกษาได้ดังนี้

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ของระดับชั้นประถมศึกษา กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา กำหนดกลุ่มสาระประกอบด้วย สมรรถนะเฉพาะ และผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น แบ่งออกเป็น 2 ช่วงชั้น คือ

    1. ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่1-3) กำหนดให้มี 7 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ ภาษาไทย 2.คณิตศาสตร์ 3.ภาษาอังกฤษ 4.ศิลปะ 5.สุขศึกษาและพลศึกษา 6.สังคมศึกษา 7.วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ
    2. ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่4-6) กำหนดให้มี 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ ภาษาไทย 2.คณิตศาสตร์ 3.ภาษาอังกฤษ 4.ศิลปะ 5.สุขศึกษาและพลศึกษา 6.สังคมศึกษา 7.การจัดการในครัวเรือนและการประกอบการ 8.วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ 9.เทคโนโลยีดิจิทัล โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competencies) เป็นสมรรถนะเฉพาะกล่มสาระการเรียนรู้ประกอบไปด้วย ความรู้ (Knowledge) , ทักษะ (Skill), เจตคติ (Attitude) และค่านิยม (Values)

      ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น (Learning Outcome) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น

      การประเมินผลของหลักสูตรฐานสมรรถนะ

           จุดหมายหลักเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Formative Assessment) โดยประเมินตามสภาพจริงตลอดกระบวนการ ซึ่งกระบวนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ จะเน้นไปที่การรวบรวมหลักฐานร่องรอยการเรียนรู้โดยมีการประเมิน 2 รูปแบบ คือ

      1. ประเมินการพัฒนาสมรรถนะตามเกณฑ์การปฏิบัติ (อิงเกณฑ์)
      2. ประเมินความก้าวหน้าตามอัตราตนเอง

      เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะเมื่อไหร่?

           กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการวางแผนนำร่องหลักสูตรฐานสมรรถนะมาใช้ในเวลาภายใน 3 ปี คือ

      ปีการศึกษา 2565 – เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับระดับประถมศึกษา เฉพาะในโรงเรียนที่มีความพร้อม

      ปีการศึกษา 2566 – เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ระดับมัธยมศึกษา เฉพาะในโรงเรียนที่มีความพร้อม และทุกโรงเรียนในระดับประถมศึกษา

      ปีการศึกษา 2567 – เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในทุกโรงเรียนทั่วประเทศ

       

      สำหรับใครที่สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

      www.cbethailand.com และ facebook fanpage : CBE Thailand

      หรืออีกทางช่องทาง Eduzones ชุมชนการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

      – video ข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ click

      -หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.eduzones.com , facebook fanpage : eduzones , twitter : @eduzones

      สำหรับครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้นฝากทุกคนติดตาม Eduzones ไว้ด้วยนะคะ! ไว้พบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะทุกคน สวัสดีค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *