ลักษณะนักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต — เรื่องสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม

ลักษณะนักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต — เรื่องสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม
ลักษณะนักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต — เรื่องสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม

สุขภาพจิต เป็นเรื่องของสภาวะทางจิตใจที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากค่ะ เพราะสภาวะทางจิตใจเหล่านี้จะส่งผลต่อการแสดออก หรือพฤติกรรมที่คนผู้นั้นปฏิบัติ ในฐานะครู นอกจากหน้าที่ในการสอนหนังสือแล้ว การสังเกตพฤติกรรม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนถือเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบที่คุณครูทุกคนคนให้ความสำคัญ หากปล่อยให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้วก็ย่อมจะส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน การให้ความช่วยเหลือจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่คุณครูทุกท่านควรตระหนัก เพื่อให้นักเรียนของเราเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและเป็นคนที่ความสุขกับการใช้ชีวิตต่อไปค่ะ

 

เรามาดูกันก่อนเลยนะคะว่าอะไรบ้างที่เป็น สาเหตุของการเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต

  1. จากตัวเด็ก
    • กรรมพันธุ์

ปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจสามารถถ่ายทอดผ่านทางพฤติกรรมได้ เช่น ลักษณะการควบคุมอารมณ์ไม่ได้ของเด็กที่เป็นโรคลมชัก

  • สติปัญญา

สติปัญญาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม

  • สุขภาพร่างกาย

เด็กมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และต้องเผชิญต่อความเจ็บป่วยอยู่เสมอ มักมีความเครียดหรือมีปัญหาในใจ รวมไปถึงมีปัญหาทางบุคลิกภาพ และการปรับตัวเข้ากับสังคม

  • บุคลิกภาพ

เด็กบางรายมีบุคลิกภาพที่แตกต่าง เช่น เด็กบางรายที่ชอบเก็บตัว ไม่ถนัดเข้าสังคม อาจจะแสดงออกต่อผู้อื่นอย่างไม่เหมาะสม

  1. จากสิ่งแวดล้อม
    • ภาวะครอบครัว

ปัญหาครอบครัวหย่าร้อง การเสียชีวิตของคนในครอบครัว เด็กอาศัยอยู่กับคนอื่น รูปแบบครอบครัวเหล่านี้อาจทำให้เด็กรู้สึกแปลกแยก หรือเป็นบรรยากาศในครอบครัวที่ทำให้เด็กไม่มีความสุข

  • ฐานะทางครอบครัว

เด็กที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีฐานะทางบ้านยากจนอาจมีปัญหาทางจิตใจ ทั้งการขาดสิ่งสนับสนุน ขาดสิ่งจรรโลงใจ แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีฐานะดีก็อาจมีปัญหาได้เช่นเดียวกัน หากถูกตามใจมากจนเกินไป รวมไปถึงการที่ฐานะครอบครัวเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น ครอบครัวล้มละลาย

  • การเลี้ยงดู

การเลี้ยงดูถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหา เช่น การตั้งคาดหวังซึ่งสร้างความกดดันทางจิตใจให้แก่ตัวเอง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การมีพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ผิด

  • สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

เช่น ลักษณะชุมชนที่เด็กเติบโตมา ผลกระทบจากสื่อ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในสังคม

Free Boy in Gray Sweater Sitting on the Floor Stock Photo

 

หลังจากที่ทราบสาเหตุที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางจิตใจกันไปแล้วนะคะ เรามาสังเกตกันขั้นต่อไปเลยดีกว่าคะว่า พฤติกรรมและการแสดงออกใดบ้างที่บ่งบอกว่าเสี่ยงต่อการมีสุขภาพจิต ค่ะ

  1. การแสดงออกทางพฤติกรรม
    • การแต่งกาย
  • แต่งกายผิดระเบียบ
  • แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสกปรก ไม่เอาใจดูแลตัวเอง
    • ลักษณะท่าทาง
  • ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่สุภาพ ขัดคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่มีในสังคม
  • เหม่อลอย เก็บตัว
    • การพูด
  • พูดจาก้าวร้าว โต้เถียง เสียงดัง โวยวาย
  • พูดน้อย เงียบซึม ขาดความมั่นใจในการพูด
    • การเรียน
  • การเรียนตกต่ำ ไม่สนใจเรียน หนีเรียน มาสาย
    • พฤติกรรมทางเพศ
  • มั่วสุมทางเพศ มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
    • มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนรอบตัว
    • อื่น ๆ เช่น พกอาวุธ เสพยา
  1. การแสดงออกด้านอารมณ์ และความคิด
    • อารมณ์รุนแรง โกรธง่าย ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
    • วิตกกังวล เครียด ย้ำคิดย้ำทำ
    • ซึมเศร้า อ่อนไหวง่าย น้อยใจแบบไม่มีเหตุผล

Free Diverse friends bullying classmate near building Stock Photo

 

พฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของพฤติกรรมที่ควรได้รับการช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการแก้ไขค่ะ คุณครูต้องรับหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางเพื่อแก้ไขพฤติกรรมเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง แต่ก่อนหน้าที่จะแน่ใจว่าเด็กมีปัญหาสุขภาพจิตจริง ๆ เรามีดูกันก่อนค่ะว่า มีวิธีในการประเมินพฤติกรรมอย่างไรบ้าง ?

  1. การสังเกต

วิธีการสังเกตเป็นวิธีประเมินที่ง่ายที่สุดแต่อาจจะต้องใช้เวลาบ้างค่ะ คุณครูจะต้องคอยสังงเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เด็กแสดงออก ลองทำความเข้าใจกับความคิด มุมมอง ทัศนคติ และความเชื่อของเด็กค่ะ

  1. การสัมภาษณ์

เป็นการรวบรวมข้อมูลของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ ความเครียด ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีที่ ครูจะสามารถสำรวจความคิดของเด็ก พฤติกรรมในการตอบคำถามได้เพื่อให้เข้าถึงเด็กได้มากขึ้นค่ะ

  1. การเก็บข้อมูล

ศึกษาจากผลงานของเด็ก น เรียงความ บันทึกประจำวัน

  1. การใช้แบบสอบถาม
  2. ระเบียนสะสม

เป้นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูเห็นพัฒนาการของเด็ก ผลการเรียน อารมณ์ต่าง ๆ

  1. ศึกษาเป็นรายกรณี

เป็นการศึกษาพฤติกรรมโดยเจาะจงนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้สามารถสังเหตได้ทุกรายละเอียด หลังจากนนั้นจึงเริ่มศึกษาตีความพฤติกรรม หาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาค่ะ

  1. ประเมินโดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา

ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบทางสติปัญญา แบบทดสอบความถนัด แบบทดสอบความสนใจ แบบประเมินพฤติกรรม แบบทดสอบบุคลิกภาพ ซึ่งการประเมินปัญหาของเด็กเหล่านี้ต้องคำนึงถึงวิธีการตีความเป็นอย่างดี อาจจะใช้แบบทดสอบหลายอย่างร่วมกันเพื่อให้ได้รายละเอียดและแนวทางการแก้ปัญหาของเด็กแบบเหมาะสมค่ะ

Free Woman Reading A Book To The Children Stock Photo

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการสังเกตเด็กที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางสุขภาพจิต คุณครูคงจะสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าถ้าพบเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชั้นเรียนจะต้องจัดการอย่างไรบ้าง สำหรับคราวหน้า Eduzones จะนำ หลักการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต มาฝากกันค่ะ อดใจรอกันก่อนนะคะไม่นานเกินรอแน่นอนค่ะ

 

แหล่งที่มา : คู่มือครูสำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *