การบรรจุกลับเข้ารับราชการ – 3 กรณีพิจารณ์โดยกศจ.

การบรรจุกลับเข้ารับราชการ - 3 กรณีพิจารณ์โดยกศจ.
การบรรจุกลับเข้ารับราชการ – 3 กรณีพิจารณ์โดยกศจ.

 

มีใครสงสัยบ้างไหมคะ ว่าหากเราลาออกจากการบรรจุราชการแล้ว จะสามารถกลับเข้ารับราชการได้ไหม? วันนี้ทาง Eduzones นำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกลับเข้ารับราชการมาฝากุณครูกันค่ะ พร้อมแล้วไปดูกันเลย!

 

การพิจารณาให้กลับเข้าราชการนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ กศจ. ค่ะ โดยจะพิจารณาตาม 3 กรณี ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ออกจากราชการไปแล้วสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.2/ว 9 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556)

หลักเกณฑ์
1. ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
2. ผู้สมัครเข้ารับราชการต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีคุณสมบัติเฉพาะ ตามมาตรฐานตำแหน่งหรือมาตรฐานวิทยฐานะที่บรรจุและแต่งตั้ง
3. ไม่เป็นผู้ที่ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม และจะต้องออกจากราชการไปแล้วไม่เกิน 3 ปี เว้นแต่ กรณีผู้ออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือลาออกจากราชการเพื่อติดตามคู่สมรสที่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติงาน ในต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
4. ต้องมีอายุไม่เกิน 50 ปี ในวันที่ยื่นคำขอสมัครเข้ารับราชการ
5. ต้องไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้ หรือผู้ได้รับคัดเลือก ในตำแหน่งนั้นขึ้นบัญชี รอการบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่ที่กรณีที่ระบุไว้ในหลักเกณฑ์นี้
6. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง จะต้องเป็นตำแหน่งว่างและมีอัตราเงินเดือน และมีอัตรากำลัง ไม่เกินเกณฑ์และหรือกรอบอัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด
7. ในการบรรจุและแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นหรืออัตราที่ไม่สูงกว่าที่ได้รับอยู่เดิม ก่อนออกจากราชการ หากมีการปรับบัญชีเงินเดือนก็ปรับให้ผู้นั้นด้วย

วิธีการ
1. ผู้สมัครยื่นคำขอต่อหน่วยงานการศึกษาและส่วนราชการ พร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด
2. ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณาจากคุณวุฒิ ความประพฤติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ
3. หน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการนำเสนอ กศจ. พิจารณาอนุมัติ
4. ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ดำเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้ง และจัดส่งสำเนาคำสั่ง จำนวน 1 ชุด ไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง

อำนาจหน้าที่ของ กศจ.
กศจ. พิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ หรือเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา กรณีที่ต่างไปจากหลักเกณฑ์นี้

ข้อควรระวัง
1. ไม่เป็นผู้ที่ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
2. ออกจากราชการไปแล้วไม่เกิน 3 ปี เว้นแต่ กรณีผู้ออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือลาออกจากราชการเพื่อติดตามคู่สมรสที่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
3. ต้องมีอายุไม่เกิน 50 ปี ในวันที่ยื่นคำขอสมัครเข้ารับราชการ
4. ต้องไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ในตำแหน่งที่ขอบรรจุกลับ เว้นแต่ เป็นกรณีออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไปลงรับสมัครเลือกตั้ง ติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ หรือเนื่องจากทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงาน หรือยุบตำแหน่ง กรณีนี้ ต้องยื่นสมัครเข้ารับราชการภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

ในช่วงเวลาวิกฤต เราจะช่วยผลักดันให้ครูไทยก้าวหน้าไปด้วยกันได้อย่างไร - Kenan Foundation Asia

 

2. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการ (ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.2/ว 10 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556)

หลักเกณฑ์
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการเดิมต้องสงวนตำแหน่งไว้
2. ผู้สมัครเข้ารับราชการต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีคุณสมบัติเฉพาะตามมาตรฐานตำแหน่งหรือมาตรฐานวิทยฐานะที่บรรจุและแต่งตั้ง มีประวัติและผลการปฏิบัติงานที่ดีไม่มีความเสียหาย โดยมีหนังสือรับรองประวัติการปฏิบัติงานจากหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
3. ยื่นคำขอต่อส่วนราชการต้นสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ไม่เกิน 4 ปี นับแต่วันไปปฏิบัติหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรี
4. บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิม หรือตำแหน่งเดิมและระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้หน่วยงานที่บรรจุแลแต่งตั้งต้องมีอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
5. การให้ได้รับเงินเดือน หากในระหว่างที่ผู้นั้นออกจากราชการไป มีการปรับบัญชีเงินเดือนปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิใหม่ และมีการปรับเงินเดือนชดเชยสำหรับผู้ที่รับราชการอยู่ก่อนการปรับเงินเดือนแรกบรรจุในช่วงเวลาใด ก็ให้ผู้นั้นได้รับการปรับเงินเดือน ปรับเงินเดือนชดเชยเช่นเดียวกันด้วย โดยคำนวณเป็นอัตราเงินเดือนการบรรจุและแต่งตั้ง

วิธีการ
1. ผู้ขอกลับเข้ารับราชการต้องยื่นคำขอต่อส่วนราชการเดิมพร้อมหนังสือรับรองประวัติการปฏิบัติงาน ก่อนสิ้นสุดวันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ไปปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 30 วัน
2. ส่วนราชการตรวจสอบเอกสารและประวัติการปฏิบัติงาน และนำเสนอ กศจ. พิจารณาอนุมัติ
3. ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ดำเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้ง และจัดส่งสำเนาคำสั่ง จำนวน 1 ชุด ไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง

อำนาจหน้าที่ของ กศจ.
กศจ. พิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ หรือเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา กรณีที่ต่างไปจากหลักเกณฑ์นี้

ข้อควรระวัง
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการเดิมต้องสงวนตำแหน่งไว้
2. มีประวัติและผลการปฏิบัติงานที่ดีไม่มีความเสียหาย โดยมีหนังสือรับรองประวัติการปฏิบัติงานจากหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
3. ยื่นคำขอต่อส่วนราชการต้นสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ไม่เกิน 4 ปี นับแต่วันไปปฏิบัติหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรี
4. การได้รับเงินเดือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้
5. ผู้ขอกลับเข้ารับราชการต้องยื่นคำขอต่อส่วนราชการเดิมก่อนวันสิ้นสุดกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 30 วัน

www.เราชนะ.com ห้ามข้าราชการลงทเะบียนเราชนะ ฝ่าฝืนเจอโทษ

 

3. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารกลับเข้ารับราชการ (ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ 0206.2/ว 11 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556)

หลักเกณฑ์
1. หน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการเดิมต้องสงวนตำแหน่งไว้
2. ผู้สมัครเข้ารับราชการต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีคุณสมบัติเฉพาะตามมาตรฐานตำแหน่งหรือมาตรฐานวิทยฐานะที่บรรจุและแต่งตั้ง ในระหว่างไปรับราชการทหารมิได้กระทำการใดๆ อันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยต้องมีหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหารจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ผู้บังคับกองพันหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไป
3. ยื่นคำขอกลับเข้ารับราชการภายใน 180 วัน นับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
4. บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิม หรือตำแหน่งเดิมและระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้หน่วยงานที่บรรจุและแต่งตั้งต้องมีอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
5. การให้ได้รับเงินเดือน หากในระหว่างที่ผู้นั้นออกจากราชการไป มีการปรับบัญชีเงินเดือน ก็ให้ผู้นั้นได้รับการปรับเงินเดือนด้วย

วิธีการ
1. ผู้ขอกลับเข้ารับราชการต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานการศึกษาเดิมหรือส่วนราชการเดิมพร้อมหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหาร ภายใน 180วัน นับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
2. หน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการตรวจสอบเอกสารและประวัติการรับราชการทหาร และนำเสนอ กศจ. พิจารณาอนุมัติ
3. ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ดำเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้ง และจัดส่งสำเนาคำสั่ง จำนวน 1 ชุด ไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง

อำนาจหน้าที่ของ กศจ.
กศจ. พิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ หรือเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา กรณีที่ต่างไปจากหลักเกณฑ์นี้

ข้อควรระวัง
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการเดิมต้องสงวนตำแหน่งไว้
2. ในระหว่างไปรับราชการทหารมิได้กระทำการใดๆ อันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยต้องมีหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหารจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ผู้บังคับกองพันหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไป
3. บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิม หรือตำแหน่งเดิมและระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้หน่วยงานที่บรรจุและแต่งตั้งต้องมีอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4. การได้รับเงินเดือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้
5. ยื่นคำขอกลับเข้ารับราชการภายใน 180 วัน นับแต่วันพ้นจากราชการทหาร

 

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://otepc.go.th/th/otepc02/km-otepc02/item/2680-2019-06-19-03-05-45.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *