15 เคล็ด (ไม่) ลับ สำหรับการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ผล!

ความสามารถด้านภาษาอังกฤษกลายเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญสำหรับการทำงานในโลกที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ แต่ในทางตรงข้ามการสอนภาษาอังกฤษกลายเป็ยเรื่องที่น่ากลัว ไม่เว้นแม้แต่กับผู้สอนที่มีประสบการณ์มาก่อน วันนี้ Eduzones ได้นำ 15 เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ผล! มาฝากกัน แน่นอนว่าไม่ได้ใช้แค่กับครูสอนภาษาอังกฤษเท่านั้น คุณครูสอนวิชาอื่น ๆ ก็สามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับใช้กับการสอนของตนได้นะคะ
1. เป็นผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
ถึงแม้ว่าเราอาจเป็นผู้พูดภาษาอังกฤษที่มีความสามารถ ก็ไม่ได้หมายความเราจะเป็นผู้สอนที่มีคุณสมบัติที่ดีเพียงพอได้ค่ะ ในการสอนภาษาอังกฤษนั้นเราควรที่จะได้รับปริญญาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ และควรมีคะแนนการสอบภาษาอังกฤษเพื่อการันตีความสามารถ ลองคิดภาพนะคะ ถ้าเราได้เรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูที่มีคะแนนสอบโทอิคเพียง 100 คะแนน เราก็คงรู้สึกไม่มั่นใจในทักษะด้านภาษาอังกฤษของครูคนนี้ใช่ไหมคะ ดังนั้นแล้วการมีคุณสมบัติเหมาะสมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเชื่อถือในตัวผู้สอน และเปิดรับความรู้ได้อย่างเต็มที่ค่ะ
2. พยายามทำให้ง่ายที่สุด
ข้อนี้เป็นหนึ่งในกฏสำคัญสำหรับการสอนภาษาอังกฤษเลยก็ว่าได้ค่ะ ในการสอนภาาษาอังกฤษเรียนต้นเราควรที่จะใช้ประโยคที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดเพื่อป้องกันความสับสนค่ะ ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการขอให้นักเรียนมาหน้าชั้นเรียนเราควรพูดว่า “Move to the front of the class, please” ที่แปลว่า มาหน้าห้องเรียนหน่อยนะจ้ะ แทนประโยคที่ว่า “Would you mind coming to the front of the class?” ที่แปลว่า จะเป็นอะไรไหมถ้าเธอจะมาหน้าห้องเรียน ดังนั้นแล้วการเริ่มสอนผู้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษควรใช้รูปประโยคง่าย ๆ ใช้คำศัพท์ง่าย ๆ โดยวางพื้นฐานให้นักเรียนมีความรู้ให้มากเพียงพอเสียก่อน และต้องค่อยประเมินความสามารถในความเข้าใจของผู้เรียนตลอดการเลือกใช้คำค่ะ
3. ใช้ภาพประกอบ
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้รับหน้าที่ให้สอนเด็ก การใช้รูปประกอบก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ รูปภาพที่กำลังพูดถึงอยู่นี้อาจจะเป็นสิ่งของที่มีอยู่จริงในชั้นเรียน เช่น เก้า โต๊ะเรียน หรืออาจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย การใช้รูปประกอบจะช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งของหรือรูปภาพเข้ากับความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ อย่างเช่น การสอนแกรมม่าการนำภาพไทม์ไลน์มาใช้ประกอบก่อนสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ไวขึ้นและสามารถจดจำได้เป็นอย่างดีค่ะ
4. ทำให้บทเรียนมีความสนุกสนาน
การเรียนภาษาอังกฤษติดต่อกันหลานชั่วโมงอาจทำให้เกิดความเบื่อ ความเบื่อก็จะยิ่งทำให้การเรียนรู้ถดถอยลงค่ะ เราควรสร้างบทเรียนที่มีความสนุกสนาน อาจใช้ความสนใจของนักเรียนในชั้นเรียนมาผสมผสานกับเนื้อหาในคาบนั้น ๆ เช่น ถ้าเราเป็ครูสอนภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นอนุบาลที่กำลังชื่นชอบการ์ตูน ลองใช้ตัวการ์ตูนมาเพื่อประกอบการสอน อาจเป็นการแสดงบทบาทสมมุติในชั้นเรียน โดยให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ หรืออาจเป็นการสร้างเกมที่แบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม ให้พวกเขาได้ทำการแข่งขันกัน การแแข่งขันจะกระตุ้นความยากเอาชนะของเด็ก ๆ ทำให้พวกเขาสนใจบทเรียนมายิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสานสัมพัธ์กับเด็กในชั้นเรีนเข้าด้วยกันค่ะ
5. วางแผนและเตรียมตัวล่วงหน้า
ผู้สอนที่ดีจะต้องมีการวางแผนบทเรียนล่วงหน้าแบบที่นักเรียนไม่สามารถคาดเดาได้ อาจเป็นการเตรียมตัวพิมพ์เอกสารประกอบการเรียนโดยที่ต้องแน่ใจว่ามากเพียงพอสำหรับจำนวนนักเรียน และต้องประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการสอน อีกทั้งควรมีแผนสำรองหากบทเรียนในคาบเรียนนั้นไม่ได้ผลตามที่วางไว้แต่อย่าขุ้นบทเรียนใหม่โดยที่ยังไม่แน่ใจว่านักเรียนทุกคนเข้าใจดีแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีการตรวจสอบอาจทำควิซเล็ก ๆ หรือใช้เกมอย่าง kahoot เข้ามาช่วยวัดระดับความเข้าใจขของเด็ก ๆ ก็ได้ค่ะ
6. สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนและปลอดภัยในชั้นเรียน
นักเรียนตั้งการความรู้สึกที่ได้รับการสนับสนุนและต้องการบรรยากาศที่ปลอดภัยยมากเพียงพอให้พวกเขาแสดงความสามารถของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เราต้องทำให้เด็กไม่รู้สึกกลัวที่จะทำผิดพลาด เมื่อพวกเขาตอบผิดต้องหาวิธีการพูดและแก้ไขของผิดพลาดนั้น ๆ ให้เด็กอย่างระมัดระวัง อย่าให้กระทบกับความรู้สึกมั่นใจของเด็ก หรือบางคครั้งอาจปล่อยผ่านในข้อผิดพลาดที่เล็กน้อยมาก ๆ ซึ่งไม่กระทบต่อการสื่อสาร ให้เวลาพวกเขาในการคิดคำตอบ อย่าเปลี่ยนไปถามนักเรียนคำอื่นเมื่อเห็นว่าเขากำลังพยายามหาคำตอบ เพราะอาจจจะทำให้เด็กหมดความรู้สึกในการอยากมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อีกหนึ่งสิ่ที่สำคัญคืออย่าลืมให้รางวัลกับความพยายามและคามตตั้งใจของเด็ก ๆ การให้รางวัลจะช่วยกระตุ้นความอยากเรียนของพวกเขา โดยรางวัลที่พูดถึงนั้นขึ้นอยู่กับช่วงวัยของนักเรียนในชั้นเรียน อาจจะเป็นคำชม ขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ค่ะ
7. ตั้งกฏกติกาในชั้นเรียน
กฏกติกาเป็นสิ่งที่สำคัญในชั้นเรียนเพราะจะช่วยให้มองเห็นความคาดหวังและเป้าหมายในคาบเรียนนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นการตกลงร่วมกันในชั้นเรียนอย่างชัดเจน หรืออาจเป็นกฏกติกาที่เด็กได้เรียนรู้ระหว่างการเข้าคาบเรียนก็ได้ค่ะ
8. ใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน
ผู้สอนที่มีปรระสบการณ์จะหยิบเอาเทคนิคต่าง ๆ ทีี่เหมาะสมกับตัวเองมาใช้ในการสอน แต่สำหรับครูผู้สอนที่ยังไม่เจอแนวทางก็อาจใช้เทคนิคที่หลากหลายในการสอน เช่น การใช้เกมประกอบการสอน กาเล่าเรื่อง หรือการแข่งขัน ซึ่งอาจพิจารณนาเนื้อหาบทเรียนประกอบการเลือกใช้ ที่สำคัญควรคำนึงถึงระยะเวลาในแต่ละรูปแบบกิจกรรม เช่น หากเราสอนนักเรียนวัยประถมหรืออนุบาล ไม่ควรให้แต่ละกิจกรรมเกิน 10 นาที เพราะความสนใจของเด็กในวัยนี้มีอยู่น้อย อาจมีเวลาพัดให้กับเด็ก ๆ หากกิจกรรมที่วางแผนไว้มีความยาว
9. คำนึงถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครูสอนภาษาในโรงเรียนนานาชาติ อาจจะต้องเผชิญหน้ากับนักเรียนที่มาจากต่างวัฒนธรรมกัน เช่น นักเรียนบางคนอาจมาจากประเทศที่มีความเคยชินกับการแค่เข้าชั้นเรียนแต่ไม่ำเป็นต้องมีส่วนร่วมในชั้นเรียนก็ได้ ดังนั้นแล้ว ในฐานะผู้สอนเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ลักษณะเหล่านี้เพื่อมาปรับช้ในเทคนิคการสอน ที่สำคัญต้องให้คามเคารพกับทุกวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น นักเรียบางคนมาจากประเทศที่มองว่าการสบตาผู้สอนเป็นเรื่องที่เสียมารยาท ในขณะที่บางประเทศเชื่อว่าการสบตากันเป็นการให้เกียรติแสดงออกถึงความสนใจ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องสานสัมพันธ์กับนักเรียนในชั้นเรียนให้ดี ทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่ตลอดคาบเรียน
10. ใช้เทคโนโลยี
วิธีการสอนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้สอนอย่างเราก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตามเช่นเดียวกัน ยุคแห่งการสอนที่มีเพียงชอล์กกับกระดานดำได้หมดลงไปแล้ว เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการศึกษามากยิ่งขึ้น เราอาจนำคลิปสั้น ๆ แอปพลิเคชันสอนภาษา หรือบทเพลง เข้ามาใช้ในห้องเรียน ตลอดจนอาจสร้างแบบทดสอบให้พวกเขาตอบผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ที่สำคัญต้องอย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมใช้เทคโนโลยีทุกอย่าง
11. ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างเป้าหมายของพวกเขา
แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ เราควรกระตุ้นให้นักเรียนตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเองในทุก ๆ เทอม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านนิยายสักเล่มให้จบ หรือการสอบข้อเขียนได้คะแนนนเต็ม การตั้งเป้าหมายนี้จะทำให้เด็กโฟกัสกับการเรียนและพยายามทำเป้าหมหายของตนให้สำเร็จ ในขณะเดียวกันเราเองก็ต้องช่วยสร้างบทเรียนหรือกิจกรรมที่รับกับเป้าหมายของพวกเขา
12. วางแผนเวลา
ตั้งแต่เริ่มต้นปีจนกระทั่งปิดภาคเรียน เราควรที่จะสร้างไทม์ไลน์ให้ชัดเจนในทุก ๆ ชั้นเรียน มันจะช่วยทำให้เราสามารถบริหารและจัดการเวลาได้อย่างถูกต้อง ควรกำหนดจุดตรวจสอบสำหรับการประเมินนความก้าวหน้าของนักเรียนเพื่อดูว่าเป็นไปตามที่เราวางแผนไวหรือไม่
13. เสริมสร้างความมั่นใจ
ในฐานะครูผู้สอนเราต้องทำให้เด็กมีความกล้าและมั่นใจที่จะพัฒนาทักษะด้านภาษาของตนเอง แทนที่จะว่ากล่าวพวกเขาเมื่อมีข้อผิดพลาด ให้ใช้วิธีการชมเชยในความพยายามและให้กำลังใจให้พวกเขาลองพยายามอีกรอบ เช่น เมื่อมีนักเรียนสะกดคำผิดอ เราอาจดึงความสนใจของเด็กด้วยการชมเชย “เก่งมากค่ะ” แล้วจึงสะกดคำที่ถูกต้องให้ฟังอีกครั้งโดยให้ทุกคนในชั้นเรียนออกเสียงสะกดตาม ต้องคำนึงไว้ตลอดว่าอย่าทำให้นักเรียนรู้สึกอับอายเมื่อทำผิด และกระตุ้นให้พวกเขาแก้ไขมันดวยตนเอง
14. สร้างกิจกรรมที่มีการโต้ตอบ
หนึ่งในวิธีเรียนรู้ภาษาพร้อมเสริมความมั่นใจให้แก่ผู้เรียนที่ดีที่สุด คือ การมีกิจกรรมแบโต้ตอบและการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะนอกจจากจะช่วยให้พวกเขาได้ฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารด้วยคำพูดและ ยังช่วยพัฒนาการเข้าสังคม โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีอายุ ที่มักมีกำแพงในการเข้าสังคม ใฐานะผู้สอนจึงมีหนา้ที่กระตุ้นห้พวกเขาก้าวออกจากกำแพงนั้น และต้องแน่ใจว่านักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อาจสังเกตว่าใครบ้างที่แสดงออกมาได้ดีเมื่อได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
15. การจัดพื้นที่การสอนแบบออนไลน์
ในสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้ ผู้สอนหลายท่านต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนมาเป็นการสอนแบบออนไลน์ วิธีที่ดีคือควรสร้างพื้นที่สำหรับการสอนออนไลน์โดยเฉพาะต้องเป็นนพื้นที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าาถึงเป็นอย่างดี สะดวกสบาย และเงียบสงบ พร้อมทั้งเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสอน ค่อยประเมินพัฒนาการของนักเรียนเพื่อวางแผนการสอนในคาบต่อ ๆ ไปอย่างถูกต้องค่ะ
การสอนภาษาอังกฤษเป็นอีกหนึ่งความท้ายทายของครูหลาย ๆ ท่านเลยก็ว่าได้ค่ะ แต่เมื่อเราสามารถจำแนวทางวิธีการสอนได้อย่างถูกต้อง เราจะพบว่าอาชีพของตนทำให้ใครหลาย ๆ คนประสบความสำเร็จและทำให้ครูททุกท่านภูมิใจในตนเองอย่างแน่นอนค่ะ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.careeraddict.com/teaching-english-as-second-language