ผู้ช่วยเลขากพฐ.ลั่น เจอครูลงโทษตัดผมนร.ย้ายทันที! — 24 พฤษภาคม 2565

ผู้ช่วยเลขากพฐ.ลั่น เจอครูลงโทษตัดผมนร.ย้ายทันที! — 24 พฤษภาคม 2565
ผู้ช่วยเลขากพฐ.ลั่น เจอครูลงโทษตัดผมนร.ย้ายทันที! — 24 พฤษภาคม 2565

 

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ณ Town Hall ชั้น 9 อาคารยูนิลีเวอร์ เฮาส์ – โดฟ สานต่อแคมเปญ #LetHerGrow เปิดเวทีเสวนาระดมความคิด ในหัวข้อ “Dove#LetHerGrow : สร้างอนาคตให้เด็กไทย เติบโตในแบบที่ดีที่สุดของตัวเอง” เพื่อรณรงค์ยุติกฎการลงโทษตัดผมนักเรียน ซึ่งกฎระเบียบเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบมากกว่าแค่ผมของนักเรียน แต่ยังส่งผลให้นักเรียนสูญเสียความมั่นใจในตนเอง

.

โดยในงานนายนิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผช.เลขาฯ กพฐ.) กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกฎระเบียบในโรงเรียน ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นด้วยกับเรื่องสิทธิร่างกาย ทรงผม สถานศึกษาถือเป็นสังคมจำลอง ที่จะสร้างคนทำให้เขาได้ไปอยู่ในสังคมแห่งความเป็นจริงได้ภายใต้กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และกติกา ทางด้าน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ออกระเบียบ ศธ. ว่าด้วย ทรงผมของนักเรียน โดยให้มีกฏที่เป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย ปัจจุบันเรามีระเบียบ เรื่อง การลงโทษนักเรียน ศธ. ซึ่งสามารถทำได้ใน 4 เรื่อง คือ ว่ากล่าวตักเตือน ตัดคะแนนความประพฤติ ทำทัณฑ์บน และให้ทำกิจกรรม

.

“การที่มีครูของเราส่วนหนึ่งได้ทำโทษนักเรียนด้วยการตัดผมและเป็นกระแส เรื่องนี้ก็ทำให้ศักดิ์ศรีของความเป็นครูของเราลดลงเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นครูส่วนหนึ่งที่มีจำนวนน้อยมาก โดยครูที่อายุเท่าผมถือเป็นครูยุคเบบี้บูมใกล้จะเกษียณอายุราชการ ภาพรวมของการเป็นครูในระยะเวลา 20-30 ปี เราอาจจะทำอะไรที่ผิดพลาด บกพร่องแต่เจตนาของความเป็นครูของเรา ก็คือ ความปรารถนาอย่างยิ่ง ที่จะต้องการเห็นลูกศิษย์ประสบความสำเร็จ เป็นคนดีของสังคม สพฐ.พยายามที่จะสื่อสารกับครูเหล่านี้ ว่า สิ่งที่เราทำนั้นผิดต่อทั้งตัวเด็กและผิดกฎหมาย สพฐ.ได้กำชับไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต ว่า หากมีครูที่ยังทำโทษเด็กด้วยการตัดผมให้ย้ายเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ที่เขตก่อน อีกทั้งนางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.ก็เอาใจใส่เรื่องนี้มาก และเข้าใจในสิทธิความเป็นมนุษย์ และการที่โดฟเข้ามาจัดโครงการในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างการตระหนักรู้ให้แก่สังคมเป็นอย่างดี” ผู้ช่วยเลขาฯ กพฐ.กล่าว

ด้านนางสาวผกาฉัตร เตชาบูรพานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายพัฒนาตลาด ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า โดฟเริ่มแคมเปญ Dove#LetHerGrow : สร้างอนาคตให้เด็กไทย เติบโตในแบบที่ดีที่สุดของตัวเอง เพื่อต้องการให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเอง มีความมั่นใจ เพราะเราเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้จะส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตและสะท้อนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มั่นใจในภายภาคหน้า และจากงานวิจัยพบนักเรียน 7 ใน 10 คน จะประสบปัญหาจากการทำโทษด้วยการตัดผมอยู่ จึงเป็นสื่อกลางจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อร่วมหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

.

ด้านพญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น เจ้าของเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” ร่วมสนอมุมมอง ว่า ตนรู้สึกเห็นใจเด็กไทยจำนวนมาก ที่จะต้องอยู่ดับกฎระเบียบที่ส่งผลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งคำถามของแคมแปญนี้สำคัญ คือ ทำไมเรื่องทรงผมต้องเป็นเรื่องใหญ่ในสังคม และมีข่าวนักเรียนถูกกล้อนผมตลอดเวลา ทั้งที่การไปโรงเรียนควรที่จะได้ไปเรียนรู้ มีความสุขกับทักษะใหม่ แต่เด็กค้องไปโรงเรียนอย่างระแวดระวังอยู่กับกฎ อยู่กับการลงโทษและความจับผิด ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่หน้าที่ของโรงเรียนที่เป็นสถานที่ให้ความเรียนรู้ และการที่บอกว่าทรงผมเป็นการฝึกวินัย ตนมองว่าไม่จริง เพราะการฝึกวินัยในโรงเรียนสามารถทำได้กับหลายๆ กิจกรรม เช่น การไม่พูดในห้องเรียน การเข้าเรียนและส่งการบ้านให้ตรงเวลา เป็นต้น ทรงผมไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้แต่เกี่ยวข้องกับการเป็นตัวตนของคน ๆ นั้น และกฎกติกาเรื่องทรงผมก็เป็นการบังคับเด็กไม่มีทางเลือก

.

“สำหรับครูเราต้องลุกขึ้นมาตั้งคำถามว่าทรงผม เกี่ยวข้องกับระเบียบวินัยจริงไหม เด็กรักความสวยงามไม่ตั้งใจเรียนจริงไหม และดิฉันขอฝากถึง ศธ. ซึ่งเข้าใจว่าความพยายามออกกฎให้มีความยืดหยุ่น แต่ ศธ.จะต้องชัดเจน ว่า ผมไม่เกี่ยวข้องอะไร ไม่ใช่โยนหน้าที่ให้โรงเรียนเป็นผู้ตัดใจและอำนาจก็จะตกไปอยู่ที่ครูเหมือนเดิม และดิฉันเชื่อว่าเสียงในสังคมสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมเสมอ อยากให้โรงเรียนกลับมาทบทวนว่าหน้าที่คืออะไร”กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่นกล่าว

.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.thaipost.net/education-news/148026/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *