หมดยุค! จับครูพัฒนาโดยเข้าห้องอบรม เสียเวลา-งบฯ — 30 พฤษภาคม 2565

หมดยุค! จับครูพัฒนาโดยเข้าห้องอบรม เสียเวลา-งบฯ — 30 พฤษภาคม 2565
หมดยุค! จับครูพัฒนาโดยเข้าห้องอบรม เสียเวลา-งบฯ — 30 พฤษภาคม 2565

 

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) กล่าวว่า การพัฒนาครูที่ผ่านมามีแต่รูปแบบเดิม ๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่เปลืองทั้งเวลาและงบประมาณมากกว่าการเน้นผลที่ดีต่อผู้เรียนมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยนายเอกชัยมองว่าสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแตกต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อน ดังนั้นการพัฒนาครูแบบเดิม ๆ จะไม่ได้ผลดีอย่างเช่นเมื่อก่อน ควรเริ่มตั้งแต่การยกเลิกการอบรมครูเพื่อหวังพัฒนาครู เพราะเสียทั้งงบประมาณและเวลาของครู และหลังจากฝึกอบรมเสร็จ ก็ไม่มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม

.

นายเอกชัยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติ่มอีกว่า การเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาครูที่ดี โดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพราะโรงเรียนถือเป็นสถานที่พัฒนาครูที่ดีที่สุด และเน้นการพัฒนาวิชาชีพของครูอย่างต่อเนื่อง เปิดกว้างมีอิสระนการคิดและพัฒนาตนเองในเรื่องที่ตนขาดความรู้ความสามารถ ทักษะหรือสมรรถนะ เพราะครูทุกคนจะมี IDP (Individual Development Plan) อยู่แล้วนำมาต่อยอดเชื่อมต่อกันให้เป็นรูปธรรมโดยใช้ PLC เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพอย่างจริงจัง และหน่วยงานต้นสังกัดของครู มีหน้าที่หลักในการสำรวจหาความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูในแต่ละปีงบประมาณ แล้วจัดทำการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น จัดลำดับความต้องการตามความจำเป็นเพื่อจัดสรรงบประมาณการพัฒนา การจัดหา การสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ครูเข้าถึงเพื่อเรียนรู้ในเวลาที่ครูมีเวลาว่างและจัดสรรเวลาเรียนรู้เองได้ รับผิดชอบตนเองได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์มาเข้าอบรมในวันเวลาที่ครูไม่พร้อมไม่สะดวกแต่ผู้จัดสะดวก หรือมาตามคำสั่ง

.

“หลักคิดการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงผู้บริหารการศึกษาที่สำคัญ คือ ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ มีความสนใจ มีความต้องการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และมีความสุขที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง จัดสรรเวลาเรียนรู้เองได้ ไม่ต้องถูกเกณฑ์ถูกสั่งมาเข้าอบรม ถึงเวลาที่ ศธ.ต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามความสนใจของครู ผู้บริหาร และ ศธ.มีหน้าที่ในการพัฒนาและจัดหา platform ต่างๆ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงแหล่งความรู้ เพื่อให้ครู ผู้บริหารเข้าถึงได้ง่ายสะดวก เลิกเน้นกระบวนการ แต่เน้นที่ผลลัพธ์การพัฒนาและผลกระทบด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ที่เกิดขึ้น” ประธาน กมว.กล่าว

.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.thaipost.net/education-news/151429/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *