ปลัดมหาดไทยย้ำ ชุดลูกเสือ-เนตรนารี เป็น ‘เครื่องแบบพระราชทาน’ เน้นช่วยเหลือเด็กยากจนหาซื้อชุดไม่ได้ – 25 มิถุนายน 2565

ปลัดมหาดไทยย้ำ  ชุดลูกเสือ-เนตรนารี  เป็น ‘เครื่องแบบพระราชทาน’  เน้นช่วยเหลือเด็กยากจนหาซื้อชุดไม่ได้
ปลัดมหาดไทยย้ำ ชุดลูกเสือ-เนตรนารี เป็น ‘เครื่องแบบพระราชทาน’ เน้นช่วยเหลือเด็กยากจนหาซื้อชุดไม่ได้

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เฟซบุ๊กแฟนเพจ “The Standard” ได้ออกมาอัปเดตข่าวกรณี ชุดลูกเสือ-เนตรนารี โดยมีใจความดังนี้

.

สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เผย จากการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ณ กระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาเรื่องภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงสภาพการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่อาจส่งผลต่อการจัดหาชุดเครื่องแบบให้กับบุตรเพื่อใช้ในการเรียนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี
.
สุทธิพงษ์ กล่าวว่า การแต่งกายด้วยชุดลูกเสือและเนตรนารีเป็นการปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นลูกเสือและเนตรนารี อีกทั้งชุดลูกเสือเป็น ‘เครื่องแบบพระราชทาน’ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาแห่งกิจการลูกเสือไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปลูกฝังอุดมการณ์ลูกเสือและเนตรนารี จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสถานศึกษา ‘หากพบว่าผู้ปกครองรายใดมีฐานะยากจนขัดสน ไม่สามารถดำเนินการจัดหาชุดลูกเสือและเนตรนารีให้แก่บุตรได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดร่วมกับประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ระดมสรรพกำลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดให้การสนับสนุนช่วยเหลือ จัดหาชุดเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารีให้กับนักเรียนรายนั้นๆ โดยหากเกินความสามารถของจังหวัด ขอให้ได้แจ้งมาที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยทราบ เพื่อระดมสรรพกำลังในส่วนกลางให้พิจารณาสนับสนุนต่อไป
.
“วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติที่หลอมรวมความเป็นชาติไทย ความสมัครสมานสามัคคี ซึ่งเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการหล่อหลอมให้คนในชาติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง รอดพ้นจากเภทภัยทั้งปวง ทั้งยังก่อให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และเมื่อสังคมปราศจากความขัดแย้งก็จะเกิดความสงบสุข มีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว อันนำไปสู่ความผาสุกในสังคมไทยอย่างยั่งยืน” สุทธิพงษ์กล่าวทิ้งท้าย

.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : The Standard

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *