8 ขั้นตอนเตรียมตัวเพื่อสมัครทุนในฝัน!

8 ขั้นตอนเตรียมตัวเพื่อสมัครทุนในฝัน!
8 ขั้นตอนเตรียมตัวเพื่อสมัครทุนในฝัน!

การได้ทุนเรียนต่อไม่ใช่เรื่องง่ายเพียงแค่เข้าสมัครแล้วผ่านการคัดเลือกเลย แต่การได้ทุนเรียนต่อนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากหากเรามีการเตรียมตัวที่ดีพอ

 

1. รู้เป้าหมายของตัวเอง
ก้าวแรกที่สำคัญสำหรับการอยากได้ทุน คือ เราต้องรู้ว่าเราต้องการเรียนต่อ สาขาไหน และ มหาวิทยาลัยไหนบ้างที่มีสาขาที่เราสนใจ หรือ รู้ว่าเราอยากได้ทุนอะไรเพื่อจะไปเรียนสาขาที่เราต้องการ การรู้เป็าหมายของตนเองเหล่านี้จะช่วยให้เรามองหาทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้มากขึ้น ละสามารถเตรียมตัวด้านอื่น ๆ ได้ตรงกับความต้องการของการสมัครทุน

สรุป: อยากได้ทุนไหน เรียนอะไร ที่ไหน ตอบให้ได้

Free Top view crop anonymous female in sweater writing down goals for 2021 year in notebook while sitting at desk with laptop and cup of coffee Stock Photo

 

2. ทุน/มหาวิทยาลัย/คณะ ที่เราอยากได้นั้นมี requirement อะไรบ้าง?

ข้อจำกัดหรือคุณสมบัติที่ทางผู้ให้ทุนกำหนดนั้น ถือเป็นตัวชี้ชะตาว่าเรามีสิทธิ์จะได้ทุนนั้น ๆ หรือไม่ บางครั้งที่เราอาจพลาดทุน หรือโอกาสดี ๆ ไป หากไม่ศึกษาคุณสมบัติเหล่านี้ให้ดีพอ เมื่อเรารู้ความต้องการแล้ว step นี้คือ ทำความรู้จักกับทุนว่าเราต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างถึงจะสมัครได้

**ถ้ามีครบแล้ว อ่านข้อ 3 ต่อไป
ถ้ายังมีไม่ครบ ข้ามไปอ่านข้อ 4**

 

3. หากคุณสมบัติครบถ้วน เตรียมเอกสารเลยจ้า!

แต่ละทุนมีเงื่อนไขที่ต่างกัน บางทุนก็ให้สมัครทุนก่อนแล้วจึงจะสมัครเข้ามหาวิทยาลัย บางทุนอาจจะให้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยให้ผ่านก่อนจึงจะยื่นรเื่องของทุน หรือบางทุนอาจจะให้ผู้สมัครทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน เราจึงมีหน้าที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทุนให้ดี เช็คให้เรียบร้อยว่าเอกสารใดบ้างที่จำเป็น เช่น ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษต้องใช้ระดับใด ต้องเขียน SOP ไหม Transcript ตัวจริงหรือ copy ได้ เพื่อเตรียมการต่อไป

 

4. หากคุณสมบัติยังไม่ครบถ้วน

พิจารณาว่าเราคุณสมบัติใดบ้างที่ไม่ตรงความต้องการของทุน เรายังขาดอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นอายุ วุฒิ เกรดประสบการณ์ หรือผลสอบภาษาอังกฤษ ซึ่งบางทุนอนุญาตให้สมัครก่อน และส่งผลสอบภาษาอังกฤษตามทีหลังได้ แต่หากเป็นเรื่องอื่นๆ เราอาจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสมัครในปีต่อๆ ไป นะคะ บางทุนมีเปิดทุกปีอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่อยากรอ ก็จะได้ไปหาทุนที่เรามีคุณสมบัติพร้อมก็ได้ค่ะ

 

5. ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ

เรื่องนี้ยังมีหลายคนถามกันเสมอว่า ต้องใช้ไหม คำตอบแน่นอนเลยคือ ต้องใช้ค่ะ ถ้าเราต้องการเรียนต่อต่างประเทศ ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยใด แน่นอนว่าเราต้องใช้ภาษาอังกฤษ ยกเว้น ผู้ที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาที่ 3 ก็จำเป็นต้องได้รับการรับรองทางด้านภาษาอยู่แล้ว สำหรับภาษาอังกฤษ เป็นที่รู้ดีกว่า ตอนนี้มีการสอบวัดระดับหลายอย่าง ซึ่งระดับมหาวิทยาลัย มักจะใช้คะแนน IELTS, TOEFL, CEFR เป็นต้น ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยและสาขาต่างๆ อาจจะมี requirement ของระดับคะแนนแตกต่างกันไป ฉะนั้นต้องทำการบ้านเตรียมตัวให้ดี ๆ นะคะ

Free Person reading on Papers preparing for Exam Stock Photo

 

6. Recommendation / References จดหมายรับรองจากเจ้านาย หรืออาจารย์

บางมหาวิทยาลัย หรือทุนจากที่ต่างๆ มักต้องการให้ผู้สมัครส่ง Recommendation ให้เพื่อพิจารณาการรับเข้าเรียน หรือรับทุน เราควรจะมีอาจารย์ หรือเจ้านายในใจแล้วว่าเราจะให้ท่านใดเขียนให้เรา ดังนั้นควรติดต่อท่าน ๆ ไว้เนิ่น ๆ เพราะเมื่อทุนเปิดรับสมัครอาจารย์จะต้องใช้เวลาในการเขียน และส่งให้เราค่ะ

 

7. เขียน Timeline/To-do List เพื่อความแม่นยำในการเตรียมตัว

แต่ละทุน มักจะมี Timeline ให้เราทราบว่าเมื่อไรเปิดรับสมัคร และวันปิดรับสมัคร เรามีเวลาเท่าไรในการกรอกใบสมัคร เนื่องจากบางทุนให้ทำทุกอย่าง online ซึ่งถ้าเราไม่ระมัดระวังอาจจะพลาดการส่งสำหรับปีนั้น เนื่องจากต้องใช้เวลาตอบคำถามบนใบสมัครค่อนข้างนาน และอย่าลืม list สิ่งที่จะต้องส่งให้กับผู้ให้ทุนด้วย แล้ว check ทีละข้อว่าเรามีครบ หรือยังขาดอะไรอีกบ้าง เพื่อให้ไม่พลาดนะคะ

Free Black Pen on White Paper Stock Photo

 

8. เมื่อพร้อมแล้ว ก็รอวันเปิดรับสมัคร ยื่นเอกสาร หรือกรอกใบสมัครออนไลน์ได้เลย!

 

สรุปโดยรวมอีกครั้งนะคะ

  1. ตั้งเป้าหมาย → เลือกสาขา มหาวิทยาลัย ทุน ที่เราต้องการ
  2. ตรวจเช็คคุณสมบัติ และ requirement ของมหาวิทยาลัย / ผู้ให้ทุน
  3. คุณสมบัติเบื้องต้นครบถ้วน → เริ่มเตรียมเอกสาร
  4. คุณสมบัติเบื้องต้นไม่ครบ → วางแผนให้คุณสมบัติพร้อม อาจจะต้องรอ และพยายามต่อไป แต่ไม่เสียหายที่จะเตรียมในสิ่งที่เตรียมได้ไว้ก่อน
  5. ผลสอบวัดผลระดับภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ที่จำเป็น → ถ้ายังไม่มีควรเตรียมสอบไว้เนิ่น ๆ เพื่อให้พร้อมต่อการสมัคร ควรจะให้เวลาตัวเองเตรียมเนื่องจากค่าสอบเหล่านี้มักจะมีราคาสูง
  6. เตรียม recommendation หรือจดหมายรับรองจากอาจารย์ หรือ เจ้านาย
  7. เขียน Timeline – To-do list – ขั้นตอนนี้บางคนอาจจะเลือกทำเป็นสิ่งแรกๆ แต่ไม่ว่าจะช่วงใด ควรทำค่ะ เพราะ Timeline – จะช่วยให้การเตรียมตัวนั้นราบรื่นขึ้นมาก กันพลาด หรือลืมสิ่งที่เราต้องทำก่อนช่วงเปิดรับสมัครเริ่มขึ้น
  8.  กายพร้อม ใจพร้อม ลงมือทำ – เริ่มดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากบางทุนต้องใช้เวลาเขียนนานมาก บางมหาวิทยาลัย ขอ SOP หรือ Statement of Perpose ซึ่งก็คือจดหมายแสดงเจตจำนงค์ในการศึกษาต่อ

 

วิธีการเตรียมตัวในบทความนี้ สามารถนำไปปรับใช้กับทุนต่าง ๆ ได้ ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าทุนแต่ละทุนจะมีข้อจำกัด และ requirement แตกต่างกันไป ดังนั้น ข้อที่ 1 จึงสำคัญที่สุด เพราะจะส่งผลถึงข้ออื่น ๆ ตามมา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *