วันเข้าพรรษามีที่มาอย่างไร? และเกี่ยวข้องอะไรกับกิจกรรมถวายเทียนพรรษา

วันเข้าพรรษามีที่มาอย่างไร? และเกี่ยวข้องอะไรกับกิจกรรมถวายเทียนพรรษา
วันเข้าพรรษามีที่มาอย่างไร? และเกี่ยวข้องอะไรกับกิจกรรมถวายเทียนพรรษา

วันที่ 14 กรกฎาคม ประจำปี 2565 นับเป็นวันหยุดสำคัญทางศาสนาคือ วันเข้าพรรษา แล้ววันเข้าพรรษานี้มีที่มาอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับกิจกรรมถวายเทียนพรรษา

 

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นพิธีที่พระสงฆ์เถรวาทจะพักอยู่ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นตลอดฤดูฝน ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งในปีนี้เข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8  จึงตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2565  และวันออกพรรษา 15 ค่ำเดือน 11 จึงตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม 2565 พิธีเข้าพรรษานี้ ถือเป็นพิธีบังคับที่พระสงฆ์ทุกรูปจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยจะสามารถยกเว้นได้บางกรณี

วันเข้าพรรษากำเนิดมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล ตั้งแต่ครั้งสมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ เมื่อถึงฤดูฝนพระสงฆ์ที่จำนวนกว่า 1,500 รูป ที่ยวจาริกไปตามที่สถานที่ต่าง ๆ จนถูกชาวบ้านพากันติเตียนเนื่องจากไปย้ำข้าวในนาเสียหาย เมื่อได้ยินดังนั้นพระพุทธเจ้าก็รับสั่งให้ประชุมสงฆ์และได้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในที่แห่งเดียวตลอดระยะเวลา 3 เดือนเพื่อจุดประสงค์หลักคือป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพืชพันธ์ที่ชาวบ้านปลูก และยังให้พระสงฆ์ได้หยุดพักจากการจาริกเผยแผ่ศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งหน้าฝนยังเป็นฤดูกาลที่ยากต่อการเดินทาง ซึ่งในช่วงเวลาจำพรรษตลอด 3 เดือนนั้น ก็ถือเป็นช่วงเวลาและโอกาสที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่ร่วมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันความรู้ในคณะสงฆ์ด้วยกันเอง

ในทางเดียวกันพุทธศาสนิชกก็ได้โอกาสในการเข้าวัดทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รวมไปถึงเกิดเป็นประเพณีสำคัญถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) และหลอดไฟก็ถวายเพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ตลอดการอยู่จำพรรษา โดยมีที่มาดังนี้

 

ประเพณีสำคัญขึ้นในวันเข้าพรรษามี 2 ประเพณีคือ

1. ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

เชื่อกันว่า ในสมัยพุทธกาล นางวิสาขา มหาอุบาสิกาต้องการจะนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน จึงให้หญิงรับใช้ไปพระวิหารเชตวันเพื่อนิมนต์พระ ปรากฏว่านางไปเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ ก็กลับมารายงานด้วยความเข้าใจผิดว่าไม่พบพระ เห็นแต่พวกชีเปลือย นางวิสาขาก็รู้ด้วยปัญญาว่าคงเป็นพระอาบน้ำฝนอยู่ ดังนั้น นางจึงได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำแต่นั้นมา จึงเกิดเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้ และกล่าวกันว่า ผู้ที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าอื่น ๆ ตามนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ

การถวายผ้าไตรจีวรและอานิสงส์ - หน้า 6 - Results from #5

2. ส่วนประเพณีแห่เทียนพรรษา

เกิดจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมากๆเพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็กๆธรรมดา ครั้นต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็กๆมารวมกันเป็นต้น คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ ต้นเทียนพรรษา และก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ว่ากันว่า เทียนพรรษา เริ่มมาจากผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งนับถือวัว ที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย ก็จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระเป็นเจ้าที่ตนเคารพ แต่ชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย โดยเอามาจากรังผึ้งร้าง ต้มเอาขี้ผึ้งมาฟั่นเป็นเทียนเล็กๆเพื่อจุดบูชาพระ และได้ยึดเป็นประเพณีที่จะนำเทียนไปถวายพระภิกษุในช่วงเข้าพรรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดดุจดังแสงสว่างของดวงเทียน

นอกจากนี้ในอดีต พุทธศาสนิกชนผู้ชายที่มีอายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า บวชเอาพรรษา

 

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา 5 อย่าง ตลอด 1 เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ

  1. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์
  2. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
  3. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
  4. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
  5. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ

และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง 5 ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก 4 เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 อีกด้วย

 

ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษาแรก

    การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

  2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง

    การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

ในประเทศไทย พระภิกษุส่วนใหญ่จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษาหรือพรรษาแรกมากกว่าปัจฉิมพรรษาหรือพรรษาหลัง ยกเว้นพระภิกษุที่อาพาธ(ป่วย)หรือมีกิจจำเป็นจึงจะอธิษฐานจำพรรษาในช่วงปัจฉิมพรรษา ส่วนการที่มีเดือนแปดสองหน หรือปีอธิกมาส ก็เพราะเป็นการนับทางจันทรคติ(วันขึ้น วันแรม)ซึ่งแต่ละปีจะมีจำนวนวันน้อยกว่าการนับทางสุริยคติ(การนับวันตามแบบปัจจุบัน) ทำให้ต้องเพิ่มเดือนในบางปีเพื่อชดเชยจำนวนวันที่หายไป มิให้ปีทางจันทรคติและสุริยคติคลาดเคลื่อนกันไปมากความเป็นมาของวันเข้าพรรษาเกิดขึ้น

 

จุดประสงค์ของการเข้าพรรษา

  1. ลดความเสียหายที่พระสงฆ์จะไปเหยียบย้ำพืชที่ชาวบ้านปลูกในฤดูฝนระหว่างการธุดงค์
  2. พระสงฆ์ได้พักผ่อนหลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 – 9 เดือน
  3. ชพระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
  4. ได้ใช้เวลาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
  5. พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

 

ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ว่าในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น

  1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และมารดาบิดา
  2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5
  3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น
  4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.

ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้)

ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถกลับมาจำพรรษาต่อเนื่องไปได้ และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้องกลับมาภายในเจ็ดวัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฎดังกล่าวแล้ว

 

แหล่งที่มา : sanook.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *