‘สมาคมลูกจ้างส่วนราชการฯ’ ทวงคืน‘ภารโรง’ให้โรงเรียนสังกัดสพฐ. อย่าผลักภาระให้ครูจนลดปฏิสิทธิภาพการสอน – 18 กรกฎาคม 2565

‘สมาคมลูกจ้างส่วนราชการฯ’ ทวงคืน‘ภารโรง’ให้โรงเรียนสังกัดสพฐ. อย่าผลักภาระให้ครูจนลดปฏิสิทธิภาพการสอน - 18 กรกฎาคม 2565
‘สมาคมลูกจ้างส่วนราชการฯ’ ทวงคืน‘ภารโรง’ให้โรงเรียนสังกัดสพฐ. อย่าผลักภาระให้ครูจนลดปฏิสิทธิภาพการสอน – 18 กรกฎาคม 2565

 

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 นายวิชาญ ชัยชมพู นายกสมาคมลูกจ้างส่วนราชการการศึกษา เข้ายื่นหนังสือเรื่องขอตำแหน่งภารโรงคืนให้สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ในรูปแบบการจ้างเป็นพนักงานราชการ ชื่อตำแหน่งพนักงานบริการ เนื่องจากในปี 2548 ครม.ได้มีมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยให้ยุบเลิกตำแหน่งลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ ลาออกจากราชการ และเสียชีวิต จึงทำให้โรงเรียนสังกัด สพฐ. ไม่มีลูกจ้างประจำ ทำให้ขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษา ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาหลายประการตามมา และทำให้การจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพตามที่สังคมคาดหวัง

 

การยกเลิกในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาโดยตรง เพราะบุคลากรในโรเรียนต้องแบ่งเวลาทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสอน คุณภาพการศึกษาของนักเรียนลดลง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ นักเรียนขาดความมั่นใจ ขาดความปลอดภัยในการไป-กลับโรงเรียน และขณะอยู่ในโรงเรียน ในกรณีที่โรงเรียนอยู่ห่างไกล เปลี่ยว ขาดครูชาย ไม่มีนักการภารโรง ดูแลความปลอดภัย และเวรยามแม้แต่ในช่วงเวลากลางวัน เป็นการเพิ่มภาระให้ครูและผู้บริหาร ต้องบริหารจัดการอาคารสถานที่ ความสะอาดของห้องน้ำ อาคารเรียน ห้องสุขา เป็นต้น บั่นทอนเวลาจัดการเรียนการสอน

 

นายวิชาญ กล่าวว่า นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณของโรงเรียนในการจัดหา จัดจ้างบุคลากรภายนอกมาทำความสะอาด อยู่เวรยาม ดูแลอาคารสถานที่ และงานอื่นๆ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณทุกปี  โรงเรียนขาดการพัฒนาทางกายภาพ ภูมิทัศน์ ขาดการปรับปรุงตกแต่ง ไม่สะอาดร่มรื่นสวยงาม บรรยากาศส่งเสริมการเรียนการสอนไม่มี ส่งผลกต่อสภาพจิตใจของผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ตลอดจนผู้ปกครอง ชุมชน ที่พบเห็น

 

“นักการภารโรงที่คงอยู่มีน้อยคน ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นไม่มั่นใจในชีวิตการทำงาน คุณภาพขงการทำงานด้อยลง สถานศึกษาขาดคนทำหน้าที่พิทักษ์ รักษาทรัพย์สินของราชการให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ดังนั้นสมาคมฯ จึงขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอตำแหน่งภารโรงคืนให้สถานศึกษาสังกัด สพฐ.ในรูปแบบการจ้างเป็นพนักงานราชการ ชื่อตำแหน่งพนักงานบริการ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรได้อย่างยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนวหน้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *