ทำความรู้จัก “รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์” ว่าที่ผู้จัดการระบบ TCAS คนใหม่!

ทำความรู้จัก "รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์" ว่าที่ผู้จัดการระบบ TCAS คนใหม่!
ทำความรู้จัก “รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์” ว่าที่ผู้จัดการระบบ TCAS คนใหม่!

 

ในที่นี้คงไม่มีใครไม่รู้จักระบบการสอบที่เรียกว่า TCAS กันใช่ไหมคะ แต่เรามันทวนความจำกันสักนิดนะคะ TCAS เป็นระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยจะแบ่งการรับออกเป็น 5 รอบ คือ

  • รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน/ข้อปฏิบัติ

เป็นรอบสำหรับนักเรียนที่มีผลงานและความสามารถเป็นหลัก โดยอาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือทดสอบเฉพาะทางค่ะ ไม่มีการใช้คะแนนข้อสอบกลาง อาจจะใช้คะแนนสอบอื่น ๆ เช่น TOEIC, TOEFL, IELTS, CU-TEP, TU-GET แทนค่ะ

  • รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ

เป็นรอบสำหรับนักเรียนในพื้นที่ หรือเครือข่ายโครงการพิเศษค่ะ โดยทางมหาวิทยาลัยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ข้อสอบของทางมหาวิทยาลัย หรือ เอาคะแนนจากข้อสอบกลางมาเป็นเกณฑ์ตัดสินในการคัดเลือกนักเรียนก็ได้ค่ะ

  • รอบที่ 3  การรับตรงร่วมกัน

เป็นรอบรับตรงโดยทั่วไปซึ่งร่วม กสพท.อยู่ด้วยค่ะ

  • รอบที่ 4 การรับแบบ Admissions

เป็นรอบที่ใช้เกณฑ์การคัดเลือกแบบ Admission ปีที่ผ่านมา โดยใช้ทั้งคะแนน GPAX, O-NET, GAT/PAT  หรือ คะแนนอื่น ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดค่ะ

โดยทุก ๆ รอบนะคะ จะมีการเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ หรือ ก็คือการที่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในสาขาวิชาที่เลือกไว้จะทำการยืนยันสิทธิ์เพียง 1 สาขาวิชาตามวันที่กำหนด เป็นการบอกว่าเราจะเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชานั้น ๆ ค่ะ

TCAS65 - ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

 

แล้ว TCAS เกี่ยวอะไรกับประเด็นในวันนี้?

วันนี้นะคะทาง Eduzones จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ผู้จัดการระบบ TCAS คนใหม่ แทน ดร.พีระพงศ์ ตริยเจริญ หรือ อาจารย์ก๊อง

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์
รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ปัจจุบันรักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นรู้จักกันในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการระบบสมัครสอบ TCAS 65 ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลความเรียบร้อยและไขข้องใจปัญหาต่าง ๆ นานาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการสอบ TCAS

 

ในช่วงที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี ก็ได้ทำหน้าที่ดูแล และจัดการระบบการสอบ TCAS มาโดยตลอด เช่น ปัญหามาตรการควบคุมการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 ของผู้เข้าสอบในระบบกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ทีแคส) ที่ติดเชื้อโควิด โดยในช่วงก่อนหน้านี้มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับการตอบคำถามของแอดมินเพจ Mytcas ในลักษณะที่ว่าผู้ติดเชื้อโควิดเข้าสอบในปีถัดไป หรือให้เลือกสาขาวิชาที่ไม่ต้องใช้คะแนนสอบ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคม และในระยะเวลาต่อมาก็ได้การแก้ไข ปรับปรุง จนออกมา สนามสอบบของผู้ติดเชื้อโควิด 19 เพื่อไม่ให้ใครก็ตามเสียสิทธิ์ในการสอบไปนั้นเองค่ะ

 

นอกจากนี้แล้ว รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เองก็มีบทบาทหน้าที่เป็นหนึ่งในพัฒนาดูแลระบบธนาคารหน่วยกิตสำหรับ Thai MOOC ซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบเปิดที่ให้โอกาสนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ไม่มีการเก็บค่าลงทะเบียนเรียน ไม่ต้องสอบเข้า และไม่มีการจำกัดจำนวนรับ เรียกได้ว่าเป็นระบบที่เปิดกว้างในการเรียนรู้สำหรับผู้คนทุกช่วงวัยตามจุดประสง์ของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ค่ะ

 

แต่ในสำหรับบทบาทการผู้จัดการระบบ TCAS คนใหม่ ที่นับได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีภาระใหญ่และกว้างขวางกว่าตำแหน่งเดิมมาก ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี จะสามารถใช้ประสบการณ์ก่อนหน้านี้มาจัดการกับระบบ TCAS ได้ดีมากน้อยเพียงใด ก็คงต้องติดตามกันตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ที่ท่านจะเข้ารับตำแหน่งนี้กันต่อไปค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *