“นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะกระดาษ ไต้หวัน-เกาะอีโค่ (Taiwan Eco-Island)” เปิดฉากที่กรุงเทพฯ เพื่อช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ไต้หวัน

“นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะกระดาษ ไต้หวัน-เกาะอีโค่ (Taiwan Eco-Island)” เปิดฉากที่กรุงเทพฯ เพื่อช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ไต้หวัน
“นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะกระดาษ ไต้หวัน-เกาะอีโค่ (Taiwan Eco-Island)” เปิดฉากที่กรุงเทพฯ เพื่อช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ไต้หวัน

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (TECO) ได้จัดพิธีเปิด “นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะกระดาษ ไต้หวัน-เกาะอีโค่ (Taiwan Eco-Island)” ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยจัดแสดงงานศิลปะกระดาษอันยอดเยี่ยมเกือบ 70 ชิ้นสามารถดึงดูดสายตาของผู้มาเข้าชม โดยท่าน ซวีซิ่วเม่ย รองผู้อำนวยการใหญ่ TECO ได้เดินทางมาร่วมงานด้วยตนเอง พร้อมกล่าวชื่นชมว่า นิทรรศการในครั้งนี้มีส่วนช่วยในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ไต้หวันได้เป็นอย่างดี

พิธีเปิดครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผศ.อนันตชัย เอกะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดร.พีระพล ชัชวาลย์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการตลาดจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) รวมถึงนักวิชาการและบุคคลในแวดวงศิลปวัฒนธรรมของไทย ที่เดินทางมาร่วมงาน โดยแขกผู้มีเกียรติในงานต่างก็รู้สึกทึ่งต่อการที่กระดาษแผ่นบางๆ ถูกประดิษฐ์ประดอยจนกลายเป็นงานศิลปะแบบ 3 มิติได้อย่างน่าอัศจรรย์ พร้อมนี้ อ.หงซินฟู่ ศิลปินกระดาษชื่อดังก็ได้สาธิตเทคนิคง่ายๆ ในการทำงานศิลปะกระดาษให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ชม ซึ่งต่างก็แสดงความชื่นชมกันอย่างไม่ขาดปาก ทำให้บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคักตลอดงาน

 

โดยท่าน ซวีซิ่วเม่ย รองผู้อำนวยการใหญ่ TECO กล่าวระหว่างปราศรัยในพิธีเปิดงานว่า

          “นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะกระดาษ ไต้หวัน-เกาะอีโค่ (Taiwan Eco-Island)”  ในครั้งนี้ ได้นำเอาผลงานของศิลปินกระดาษชั้นเลิศจากไต้หวัน 2 ท่านมาจัดแสดง คือ อ.หงซินฟู่ และอ.เหลียงจิ่งเหยา ซึ่งได้ใช้งานศิลปะกระดาษมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างอัตลักษณ์แห่งธรรมชาติของไต้หวันกับระบบนิเวศแห่งศิลปวัฒนธรรม ทำให้แม้แต่ผู้ที่มีโอกาสได้สัมผัสกับงานศิลปะกระดาษไต้หวันเป็นครั้งแรก ก็ยังสามารถรู้สึกได้อย่างลึกซึ้งถึงเอกลักษณ์แห่งความคิดสร้างสรรค์ของไต้หวัน ศิลปะกระดาษและการพับกระดาษเป็นงานฝีมือโดยดั้งเดิมของไต้หวัน เป็นความทรงจำที่ไม่ลืมเลือนในวัยเด็ก พร้อมทั้งเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความหมายที่แฝงอยู่ภายในงานศิลปะกระดาษของไต้หวัน

 ไต้หวันมีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตร.กม. แต่ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิประเทศมีความหลากหลายและซับซ้อน จึงทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นเกาะแห่งระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งงานศิลปะกระดาษของไต้หวันก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตที่มีเฉพาะในไต้หวัน ที่ได้ผ่านการพัฒนาอย่างยาวนานจนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง และแตกต่างจากงานศิลปะตัดกระดาษแบบจีน อีกทั้งยังก้าวข้ามศิลปะพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ด้วยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีความพิเศษและไม่เหมือนใคร ส่งผลให้สามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและเอกลักษณ์ของตัวเองออกมาได้อย่างน่าทึ่ง

          ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปต่างประเทศไม่สะดวกเป็นอย่างมาก นิทรรศการศิลปะกระดาษในครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนกับการเปิดศักราชใหม่ ที่จะนำพาชาวไทยที่มาเข้าชมงาน ได้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอันแสนสุขของไต้หวัน นอกจากนี้ ผู้ที่มาร่วมงานทุกท่านยังได้รับของที่ระลึกเป็นงานศิลปะกระดาษ รูปกวางซิก้าไต้หวันและช้างไทย ซึ่งทางผู้จัดงานได้ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อแสดงให้เห็นถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-ไต้หวัน จึงถือเป็นของขวัญที่มีความหมายพิเศษเป็นอย่างยิ่ง

อ.หงซินฟู่เคยได้รับเชิญให้ไปจัดแสดงผลงานในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และใน 30 กว่าประเทศทั่วโลกมาแล้ว โดยผลงานของท่านจะเน้นในการแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยที่มีต่อศิลปวัฒนธรรม และสิ่งมีชีวิตอันหลากหลายที่มีอยู่เฉพาะในไต้หวันเป็นหลัก โดยจะแนะนำให้เราได้รู้จักกับทั้งแมลง ปลา นก และสัตว์ต่างๆ อาทิ ปลาแซลมอนไต้หวัน ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นปลาแห่งชาติของไต้หวัน รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นซึ่งเป็นพันธุ์พิเศษที่มีเฉพาะในไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นนกแมคพายสีน้ำเงินไต้หวัน ผีเสื้อถุงทองมาเจลลัน แมวดาว และปลาบินของเกาะหลันอวี่ เป็นต้น เพื่อร่วมเรียกร้องให้พวกเราทุกคนมีความรักหวงแหนในสมบัติอันล้ำค่าของธรรมชาติ และคนเราควรที่จะมีความเคารพต่อธรรมชาติ ลดการทำลายชีวิตต่างๆ

 โดย อ.หงฯ ได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นหัวสัตว์ขนาดใหญ่จำนวน 10 ชิ้น เพื่อนำมาใช้ในการจัดแสดงครั้งนี้โดยเฉพาะ รวมถึง กระบือไต้หวัน กวางซีก้า หมีดำไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งต่างก็ดูแล้วเต็มเปี่ยมไปด้วยความมีชีวิตชีวา ทำให้แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานต่างก็รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง

          อ.เหลียงจิ่งเหยา คือศิลปินกระดาษรุ่นใหม่ของไต้หวัน ที่คว้ารางวัลเหรียญเงินและเหรียญทองแดง จากการประกวดรางวัลสิ่งประดิษฐ์นานาชาติของยูเครน เมื่อปี 2018 โดยอ.เหลียงฯ ได้นำเอาการ์ด 3 มิติหลากหลายรูปแบบมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ เช่น การ์ดของเล่นประเทืองปัญญา การ์ดรูปรถไฟเล็กแห่งภูเขาอาลีซาน เป็นต้น ที่ต่างก็ถูกสร้างสรรค์ขึ้นผ่านการออกแบบและคำนวณอย่างละเอียด ทั้งในส่วนของโครงสร้างและวัสดุที่นำมาใช้งาน ทำให้ทุกคนสามารถเล่นสนุกไปกับผลงานเหล่านี้ได้ จึงถือเป็นอะไรที่พิเศษเป็นอย่างมาก และมีความยินดี ที่ได้เห็นความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างไต้หวันและไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสจัดนิทรรศการ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในอาคารประวัติศาสตร์สายสุทธานภดล ที่มีความหมายแห่งนี้ ในขณะที่ผู้เข้าชมเพลิดเพลินกับการชมนิทรรศการ พวกเขายังสามารถรับชมประเพณีและความสง่างามของสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

“นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะกระดาษ ไต้หวัน-เกาะอีโค่ (Taiwan Eco-Island)” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2565 ณ ณ อาคารจุฑารัตนาภรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หวังว่าการจัดแสดงในครั้งนี้

นอกจากจะช่วยให้ชาวไทยมีโอกาสได้ชมงานศิลปะกระดาษที่หาชมได้ยากจากไต้หวันแล้ว ยังจะมีส่วนช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างไทย-ไต้หวันที่มากขึ้นในอนาคตต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *