มข. จัดอบรม STEAM Education ปลูกฝังแนวคิดพัฒนาเทคโนโลยี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือกับ บริษัท Toyo System Co., LTD. และ The Mathematics Certification Institute of Japan และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด จัดสัมมนา “University-Industry Collaboration seminar” ภายใต้หัวข้อ “Development of Environmental Consciousness in Problem-Solving based on STEAM Education” ในโครงการสร้างจิตสำนักทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEM Education ในการแก้ปัญหา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์  รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวเปิดงาน และมี Mr. Hideki Shoji Chairman of the Board, President & CEO of TOYO SYSTEM Co., LTD.  Keynote Speaker เป็นวิทยากร ในหัวข้อ“Corporate Social Responsibility” ร่วมบรรยายผ่านทางออนไลน์ จากประเทศญี่ปุ่น โดยมี นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมออนไลน์ และในห้องประชุมชั้น 4  ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์  รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน  กล่าวว่า   ตามที่หลายท่านอาจจะทราบแล้วว่า บริษัท TOYO SYSTEM ได้ทำ CSV กับ เมือง อิวากิ จังหวัด Fukushima ที่สามารถพลิกฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ในช่วงปี 1910 – 1972 รวมทั้งเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima เป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นพบ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี แต่กรณีที่ Fukushima สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประธาน Shoji จึงมองเห็นว่า หากในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากกว่านี้  แต่ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education

“โดยวิทยากรที่ท่านให้เกียรติมาบรรยายนั้น ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญผู้ประสบความสำเร็จ ได้เห็นตัวอย่างผลกระทบ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่นำโรคร้ายหลายอย่างมาสู่คน ในประเทศญี่ปุ่น CSV กับ เมือง อิวากิ จังหวัด Fukushima ที่สามารถพลิกฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ในช่วงปี 1910 – 1972 รวมทั้งเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima เป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นพบ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี แต่กรณีที่ Fukushima สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ท่านประธาน Shoji จึงมองเห็นว่า หากในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากกว่านี้  แต่ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education”

การจัดงานครั้งนี้ เพื่อให้ผู้คนตระหนึกถึง การพัฒนาพลังงานโดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม  การควบคุมและใช้ประโยชน์พลังงานจากไฮโดรเจน และเห็นความสำคัญของความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ mathematical thinking สอดคล้องกับการให้บริการทางวิชาการแนวใหม่ (Academic Service Transformation) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาของสังคม (Center of Social Wisdom) พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการจากความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) สู่การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value : CSV) เพื่อสร้างการสร้างจิตสำนึก และให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การพัฒนาการเรียนรู้ที่อาศัย เรื่อง STEAM Education สำหรับ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *