เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน จริงหรือ ? เเบบสรุปผลสำรวจความคิดเห็นจาก ชุมชน Eduzones

“เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน  อยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า” น้อง ๆ เห็นด้วยกับคำพูดนี้หรือไม่  เเน่นอนว่าสังคมสมัยนี้ปลูกฝังค่านิยมว่าเด็กที่ได้ศึกษาจากสถาบันดี ๆ มีชื่อเสียงจะได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่าเด็กที่เรียนสถาบันทั่วไป  จึงเป็นสาเหตุให้เด็กต้องการที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเพื่อหวังว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคม เเต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างทำให้เด็กบางคนไม่สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดี ๆ เหล่านั้นได้ เช่น สอบไม่ติด ค่าเทอมสูง เป็นต้น เด็กเหล่านี้ก็จะต้องไปเรียนที่มหาลัยทั่วไปซึ่งไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดคำพูดว่า “เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน อยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้ปลอบใจหรือเปล่า ? อย่างไรก็ตามชื่อสถาบันก็เป็นเพียงฉลาก ต้องเเกะห่อใช้งานจริงเสียก่อน จึงจะรู้ว่า คำว่า “เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน” จะเป็นจริงอย่างที่กล่าวกันมาหรือไม่ ถ้าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ทำไมต้องจัดลำดับมหาวิทยาลัยทุกปี…

คุรุสภาเปิดรับสมัครผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเข้าร่วมพัฒนาจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ผ่านบทเรียนออนไลน์ (Line Official) ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565

  รศ.ดร.ประวิต  เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. รักษาการเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาผ่านบทเรียนจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาออนไลน์ ประจำปี 2565 อบรมให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศน์) โดยเปิดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาสมัครเข้าร่วมอบรมผ่านระบบแอปพลิเคชันไลน์ (Line Official) จำนวน 4 ชั่วโมง 30 นาที เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม…

สสวท. ร่วมกับ TikTok ประเทศไทย เชิญชวนส่งผลงานคลิปสั้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ “TikTok Sci Show in the House” จัดทำคลิปสั้นแสดงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยอุปกรณ์และของใช้ง่าย ๆ ภายในบ้าน ลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ!

  กติกาการร่วมกิจกรรม ถ่ายทำคลิปสั้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ความยาวไม่เกิน 3 นาที โดยใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของที่หาได้ง่ายภายในบ้าน เนื้อหามีความสนุก น่าสนใจ และถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ จากนั้นอัปโหลดคลิปลงในบัญชี TikTok ของคุณ พร้อมติด Hashtags: #IPSTSciDay2022 และ #TikTokUni คลิปไหนมียอดวิวและยอดไลก์สูงสุด รอรับของรางวัลสุดพิเศษจาก สสวท. และ TikTok ไปเลย ส่งผลงาน ตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2565   ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล ภายในวันที่…

อว. คิดนอกกรอบ! ปลดล็อกเวลาเรียนทุกปริญญา ตอบโจทย์การเรียนยุคใหม่ ผลักดันให้เด็กใช้เวลาเรียนให้น้อย เข้าสู่ระบบการทำงานให้ไวที่สุด

รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) มีมติยกเลิกการกำหนดเวลาเรียนปริญญาในระดับอุดมศึกษาทุกระดับเพื่อตอบโจทย์การเรียนของนักศึกษา ว่าการยกเลิกการกำหนดเวลาเรียนปริญญาในระดับอุดมศึกษาทุกระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับการกำหนดระยะเวลาสำเร็จการศึกษา แบบเดิม ระดับปริญญาตรี 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี ปริญญาโท 2 ปี ไม่เกิน 5 ปี ปริญญาเอก 3 ปี ไม่เกิน 6…

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เชิญชวน ประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาระบบราชการ 2565

  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เชิญชวน ประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาระบบราชการ สป.ศธ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สามารถส่งผลงานมากกว่า 1 ผลงาน รูปแบบการผลิตคลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 3 นาที เนื้อหากับแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นระบบ รูปแบบ แนวทาง หรือนวัตกรรม ที่หน่วยงานได้ใช้ในการพัฒนาการทำงาน หรือพัฒนาวิธีการให้บริการของหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ รับสมัครทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 8-26 สิงหาคม 2565   เกณฑ์การตัดสิน มี 2 ส่วน โดยคณะกรรมการตัดสิน สัดส่วนร้อยละ 70…

โครงการวิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือ ด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย-ฝรั่งเศส หมดเขต 11 สิงหาคมนี้

  ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย-ฝรั่งเศส (Franco-Thai Cooperation Programme in Higher Education and Research/ Franco-Thai Mobility Programme/ PHC SIAM) ประจำปี พ.ศ. 2566 – 2567   กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับรัฐบาลฝรั่งเศส เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย-ฝรั่งเศส (Franco-Thai Cooperation Programme in Higher Education and…

วิศวะฯ มธ. (TSE) พลิกโฉมบทบาท ‘สถาบันการศึกษา’ สู่ ‘เพื่อนซี้ Gen Z’ รับการเรียนยุคใหม่ พร้อมเผยแนวการสอนวิศวะ #Dek66 ผุด ‘Discussion Class’ กระตุ้นการเรียนรู้เด็ก Gen Z

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE รุดปรับบทบาท “สถาบันการศึกษา” สู่ “เพื่อนซี้ต่างวัยของ Gen Z” ช่วงวัยที่มาพร้อมความกล้าคิด กล้าทำ ตั้งคำถาม รองรับการเรียนวิศวกรรมยุคใหม่ ประเดิมปีการศึกษา 2566 เปิดคลาสเรียนออนไซต์ “Discussion Class” หรือห้องเรียนเพื่อการอภิปราย สำหรับรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะวิชาชีพ เน้นเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและซักถามกับผู้สอนได้ หนุนกระตุ้นการเรียนรู้เด็ก Gen Z’เสริมทักษะการปรับตัวให้พร้อมก้าวสู่โลกการทำงาน คู่ขนานกับรูปแบบออนไลน์อย่าง “e-Learning” (อีเลิร์นนิ่ง) ที่เน้นรายวิชาศึกษาทั่วไปที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ รองศาสตราจารย์ ดร.นภดล อุชายภิชาติ รองคณบดีฝ่ายบริหารหลักสูตรนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์…

พี่ดร๊าฟนำทีม โฆษกอว. ร่วมรายการ EZTALK

รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมทีมงาน และน้อง ๆ โฆษก อว. ประจำมหาวิทยาลัย ร่วมให้สัมภาษณ์ในรายการ EZTALK โดยพี่แฮนด์ eduzones เป็นผู้ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เดอะสตรีท รัชดา กรุงเทพฯ ในรายการรศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล…

นักเรียนไทยได้รับเลือกเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ร่วมแคมเปญระดับโลกการศึกษานิวซีแลนด์

การศึกษานิวซีแลนด์เลือกนักเรียนไทย “น้องเชน-อทิศ สุขสิงห์” เป็น 1 ใน 8 แบรนด์แอมบาสเดอร์นักเรียนต่างชาติ ร่วมแคมเปญใหม่ระดับโลก “I AM NEW 2022”  ที่ดึงตัวแทนนักเรียนต่างชาติจาก 8 ประเทศ บอกเล่าเรื่องราวการศึกษาในนิวซีแลนด์ผ่านมุมมองของตัวเอง มุ่งให้นักเรียนต่างชาติมีประสบการณ์ตรงและบรรลุเป้าหมายของตัวเอง ควบคู่ไปกับการค้นหาและการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ ความยั่งยืน และนวัตกรรม  เพื่อต้อนรับการเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 2 ปีหลังโควิด 19   “น้องเชน-อทิศ สุขสิงห์” นักเรียนไทย ได้รับเลือกเป็น 1 ใน…

เล็ง! ดึงเงินบำนาญแก้ปัญหาหนี้ครู – 1 สิงหาคม 2565

  นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เผย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยการจัดตั้งสถานีแก้หนี้ ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา 558 สถานี และระดับจังหวัดให้เป็นกลไกหลักระดับพื้นที่นั้น ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการประสานงานร่วมกันระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแต่ละจังหวัดกับสถานี้แก้หนี้ครูระยะแรก ซึ่งจะมีการจัดทำข้อมูลสรุปว่าในเฟสแรกนี้จะมีสหกรณ์ที่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สินครูกี่แห่ง อีกทั้ง ศธ.ยังได้ประสานไปยังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อที่จะทำข้อตกลงร่วมกันในการนำเงินบำเหน็จบำนาญมาช่วยชำระหนี้ให้แก่ครูในกลุ่มครูที่มีหนี้อยู่ในสถานะวิกฤติ โดยจะนำเงินที่ครูจะได้รับหลังเกษียณอายุราชการบางส่วนมาใช้ชำระหนี้ ที่สำคัญคือผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อตกลงนี้จะต้องมีสถานะหนี้ที่อยู่ในกลุ่มวิกฤติจริงๆ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 14,000 ราย จากกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าโครงการ ทั้งนี้ ตนคาดว่าเมื่อดำเนินการจัดทำข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว ครูกลุ่มหนี้วิกฤติก็จะสามารถนำเงินจาก กบข.ของตนเองมาชำระหนี้ได้ รายละประมาณ…