คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี รับมอบอุปกรณ์รีโทรฟิตเครื่องซีเอ็นซีแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์

วันที่ 5 กันยนยน พ.ศ. 2565 เวลา 9.30 น. ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนลีราชมงคลธัญบุรี ผศ.ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลาง รองอธิการบดีฯ รศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.มนูญศักดิ์ จานทอง หัวหน้าโครงการรีโทรฟิต ผศ.ณัฐ แก้วสกุล ผอ.กองพัฒนานักศึกษา และผศ.ดร.มานพ แย้มแฟง รองหัวหน้าภาควิชาฯ ให้การต้อนรับ คุณเกษมสันต์ เครือธร ผู้บริหาร บริษัท เดลต้า อิเล็คโทนิคส์(ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) สายงานออโตเมชั่น และ ดร.วารินทร์ ชลหาญ ผู้เชี่ยวชาญการทำรีโทรฟิตเครื่องจักรซีเอ็นซี บริษัท พรีซิชั่น แมชชีน คอลโทรล จำกัด เพื่อรับมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าควบคุมสำหรับรีโทรฟิตเครื่องจักรซีเอ็นซีแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์

ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรซีเอ็นซีเพื่อใช้งานในภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง ในแต่ปีมีมูลค่าการนำเข้าหลายแสนล้านบาท ปัจจุบันมีเครื่องจักรซีเอ็นซีจำนวนมากอยู่ในสภาพชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ และส่วนใหญ่จะเป็นการเสียหายทางระบบไฟฟ้า ในขณะที่ระบบทางกลของเครื่องยังคงมีสภาพสมบูรณ์ หรือชำรุดเพียงเล็กน้อย สามารถปรับซ่อมให้กลับมาปกติได้ การเปลี่ยนระบบไฟฟ้าควบคุมของเครื่องจักรใหม่จึงสามารถตอบโจทย์การซ่อมบำรุงเครื่องจักรเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเครื่องจักรเก่าที่ชุดรุดเสียหายแล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ลดการนำเข้าเครื่องจักรของประเทศได้อย่างมหาศาล ภาคการศึกษาสามารถผลิตนักศึกษาที่มีความรู้ด้านการทำรีโทรฟิตเครื่องจักรซีเอ็นซี ซึ่งเป็นบุคลากรที่ขาดแคลนและมีความต้องการสูง อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับสูง

รศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย ในการรับมอบอุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำรีโทรฟิตเครื่องซีเอ็นซีแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จากทางบริษัท พรีซิชั่น แมชชีน คอลโทรล จำกัด และ บริษัท เดลต้า อิเล็คโทนิคส์(ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) ประกอบไปด้วย ระบบควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซี โอเปอร์เรชั่นพาแนล เซอร์โวมอเตอร์ เซอร์โวไดร์ว สปินเดิลอินเวอร์เตอร์ แผงวงจรอินพุดเอาพุต และสายสารสาร DMCNET และส่งมอบต่อให้ ผศ.ดร.มนูญศักดิ์ จานทอง หัวหน้าโครงการรีโทรฟิต เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่มีความสนใจโดยให้ทำเป็นโครงงานวิทยานิพนธ์ โดยมี ดร.วารินทร์ ชลหาญ เดินทางมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่นักศึกษาจนโครงการสำเร็จลุล่วง ต่อมา รศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำผู้บริหาร บมจ.เดลต้าฯ และคณจารย์ที่ มาร่วมกิจกรรม เข้าเยี่ยมชมเครื่องจักรที่ทางภาควิชาฯ เตรียมไว้สำหรับการทำรีโทรฟิตและได้มอบนโยบายให้ทางภาควิชาเสนองบประมาณปรับปรุงอาคารสถานที่ เพื่อให้เหมาะแก่การเรียน การศึกษาการทำรีโทรฟิตเครื่องจักรซีเอ็นซี มีการบ่มเพาะนักศึกษาให้สามารถใช้ความรู้ในการทำรีโทรฟิตเครื่องจักรซีเอ็นซีอย่างเป็นธุรกิจ สามารถใช้ความรู้ที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัย สร้างรายได้ สร้างงาน โดยทางมหาวิทยาลัยจะใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์บ่มเพาะธุรกิจให้แก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ ผศ.ณัฐ แก้วสกุล ผอ.กองพัฒนานักศึกษา กล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก นักศึกษาได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่เสียหายแล้วให้กลับมาใช้งานได้เหมือนใหม่อีกครั้ง ทางกองพัฒนานักศึกษายินดีให้การสนับสนุนการทำโครงงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *