ซัมซุงปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ อัพสกิลทักษะแห่งอนาคต นำเสนอไอเดียโซลูชันเพื่อสังคม จากผู้เข้าประกวด 20 ทีม ในโครงการ Samsung Solve for Tomorrow ก่อนตัดสินรอบชิงชนะเลิศ เดือนพฤศจิกายนนี้

ซัมซุงจัดติวเข้มปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ในโครงการ Samsung Solve for Tomorrow โครงการประกวดออกแบบนวัตกรรมระดับสากลที่เยาวชนกว่าสองล้านคนจาก 35 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม สำหรับประเทศไทย บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ได้พาเยาวชนไทยเข้าร่วมประชันไอเดียสร้างสรรค์ ใช้ทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ทีอีเอสอาร์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม และบริษัท บางกอก อินโนเวชั่น เฮ้าส์ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล ในการร่วมพัฒนาโครงการ ตลอดจนจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ และให้คำปรึกษาด้านเทคนิคกับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นโซลูชันที่จับต้องได้และตอบโจทย์ความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง

 

ล่าสุดจัดกิจกรรมเวิร์คชอปออนไลน์ ติดอาวุธ Design Thinking (การคิดเชิงออกแบบและ IoT & Automation ณ ห้อง I-SCALE ชั้น 4 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโครงการนี้เป็นการเชิญชวนเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมปีที่ 4 – 5 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 – 2 ร่วมประกวดออกแบบนวัตกรรม ภายใต้หัวข้อ Innovation for Sustainable Communities, Good Health and Well-being” ในการนำเสนอโซลูชันเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งในรอบแรกจะคัดเลือก 20 ทีม จาก 308 ทีม เพื่อเข้าร่วมเวิร์คชอปกับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับเงินทุนสนับสนุน 5,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาโครงการ และจะประกาศผลให้เหลือเพียง 10 ทีม ในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 นี้ เพื่อผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป สำหรับ ทีมที่ชนะเลิศ จะได้รับเงินสนับสนุนในการพัฒนาโซลูชันต้นแบบ (Prototype) รวมถึงเงินรางวัลและแท็บเล็ตซัมซุง มูลค่ารวมกว่า 900,000 บาท

 

สำหรับแนวคิดของ 20 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกจากหลากหลายโรงเรียนทั่วประเทศ เป็นไอเดียที่ตอบโจทย์ Pain Point ของสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพ เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต หรือแม้กระทั่งเพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตวิถีใหม่จาก Work From Home

ชวนส่องไอเดียสุดคูลของเหล่านวัตกรไทยยุคใหม่ทั้ง 20 ทีม

  • ทีม G1 – Area Athena  โรงเรียนราชินี – นำเสนอแนวคิดเรื่องอุปกรณ์แจ้งเตือนที่ช่วยตรวจจับวัตถุอันตรายจากบุคคลที่เข้ามาใกล้ผ่านระบบอัลตราโซนิคเซนเซอร์ โดยเมื่อกดปุ่มฉุกเฉินจะส่งข้อความผ่านไลน์แอปพลิเคชันไปยังรายชื่อฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดโจรกรรม
  • ทีม G2 – BCC Robot โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  นำเสนอไอเดียเกี่ยวกับเครื่องออกกำลังพร้อมฟังก์ชันตรวจจับความเคลื่อนไหว โดยจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย การคำนวณและให้ข้อมูลในด้านอาหารและการเผาผลาญพลังงาน ผ่านทางแอปพลิเคชัน โดยมีการเชื่อมรูปแบบการออกกำลังกายเข้ากับเกมส์เพื่อเป็นเป้าหมายในการออกกำลังกาย
  • ทีม G3 – Burning โรงเรียนกำเนิดวิทย์  กับผลงานเครื่องแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ โดยการกรองผ่านเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทลเลอร์ เพื่อนำไปใช้ทำเป็นพอลิเมอร์ในภายหลัง
  • ทีม G4 – Electra โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา  โชว์แนวคิดเกี่ยวกับเครื่องแปลงพลังงานจากการเคลื่อนที่ขึ้นลงของโป๊ะเทียบเรือโดยอาศัยการซัดของคลื่นเมื่อมีเรือมาเทียบท่า โดยใช้เครื่องแปลงพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
  • ทีม G F4 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย  นำเสนอแนวคิดการจัดทำแอปพลิเคชันที่ช่วยระบุตำแหน่งทางม้าลายด้วยระบบจีพีเอส พร้อมทั้งระบบตรวจจับบุคคลที่จะข้ามทางม้าลาย และแจ้งเตือนผ่านทางหน้าจอโทรศัพท์ไปยังผู้ขับขี่ยานพาหนะในบริเวณใกล้เคียง และมีกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนหันมาใช้ทางม้าลาย
  • ทีม G6 – Fill  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี  การนำเสนอแนวคิดเครื่องวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ไปติดกับต้นไม้ เพื่อวัดค่าของปริมาณน้ำและปุ๋ย เมื่อมีปริมาณที่ต่ำจะมีการส่งโดรนออกไปรดน้ำต้นไม้ โดยปริมาณน้ำที่ใช้จะอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อรักษาทรัพยากรทางน้ำ
  • ทีม G7- HYBRID  โรงเรียนวิเชียรมาตุ  นำเสนอแนวคิดเรื่องแปรงสีฟันพร้อมฟังก์ชันในการตรวจจับ ที่จะแจ้งเตือนผ่านระบบมือถือ เมื่อมีการแปรงฟันไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน จะมีการประเมินและแสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน มีการคำนวณปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมและนำการฉายแสงยูวีมาใช้ในการฆ่าเชื้อที่ขนแปรง
  • ทีม G8 – KMIDS  โรงเรียนสาธิตนานาชาติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ผลงานแนวคิดแอปพลิเคชันสำหรับขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัย แสดงตำแหน่งสถานที่ปลอดภัย ศูนย์อาหาร ระบบโดรนอัตโนมัติใกล้ตัว พร้อมทั้งแสดงตำแหน่งของผู้ใช้ให้กับคนอื่นๆ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตรายต่างๆ
  • ทีม G9 – Lunares  โรงเรียนสาธิตการจัดการปัญญาภิวัฒน์  แนวคิดเครื่องกรองน้ำที่ช่วยปรับสมดุลของน้ำประปาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยวัดค่าคุณภาพน้ำผ่านระบบเซนเซอร์ ประเมินและแสดงผลไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ
  • ทีม G10 – MANGO  โรงเรียนกำเนิดวิทย์  แนวคิด ตุ๊กตาหน้ารถใช้ระบุพิกัดของถนนที่มีพื้นผิวไม่ปลอดภัย โดยมีระบบเซนเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน และวัดความเร็วติดไว้ และมีการอัพเดตข้อมูลเพื่อใช้ระบุตำแหน่งที่พบไว้ให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ พร้อมแจ้งเตือนล่วงหน้า ทั้งยังมีระบบ SOS ในกรณีฉุกเฉินที่รถได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง
  • ทีม G11 Narcolepsycue  โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม  โชว์แนวคิดเครื่องพ่นสเปรย์วาซาบิ ช่วยปลุกคนหลับใน เมื่อเซนเซอร์แสกนม่านตาตรวจพบภาวะการหลับใน เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการหลับใน
  • ทีม G12 – No.1 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย  นำเสนอแนวคิดเก้าอี้ที่ช่วยลดการเป็นออฟฟิศซินโดรม โดยตรวจวัดผ่านเซนเซอร์ และหากนั่งผิดท่าหรือมีการนั่งในระยะเวลาที่นานเกินกว่ากำหนด เก้าอี้จะสั่นเพื่อให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกขึ้นจากเก้าอี้ โดยจะมีการแจ้งเตือนไปยังแอปพลิชันในมือถือเพื่อบันทึกข้อมูล
  • ทีม G13 – NOPKK โรงเรียนสาธิต มศว. ประสานมิตร  โชว์แนวคิดเครื่องแคปซูลตรวจเช็คร่างกาย โดยการวัดข้อมูลทางการแพทย์พื้นฐาน สอบถามอาการป่วย และสแกนร่างกาย พร้อมทั้งประเมินอาการ และความเป็นไปได้ของโรค อีกทั้งยังจำแนกความเสี่ยงว่าควรพบแพทย์หรือรักษาโดยการทานยาได้
  • ทีม G14 – Used โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  แนวคิดการพัฒนาระบบ AI ที่ช่วยในการวินิจฉัยหาก้อนนิ่วที่ปนมาในปัสสาวะให้มีความแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • ทีม G15 – ฝัน โรงเรียนกำเนิดวิทย์  เสนอแนวคิดโปรแกรมเมาส์และคีย์บอร์ดสำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถใช้คีย์บอร์ดได้ โดยการใช้ระบบการตรวจจับใบหน้าและการขยับหัวเข้ามาช่วยในการขยับเมาส์และคีย์บอร์ด
  • ทีม G16 – Software Tiger โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย  กับแนวคิดสร้างซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงผลของเซนเซอร์แม่เหล็กไฟฟ้าตรวจวัดดินเค็ม เพื่อประมวลผล แนะนำพืชที่เหมาะกับการเพาะปลูก และวิธีปรับสภาพดินให้กับผู้ใช้งาน
  • ทีม G17 – Tpscoding โรงเรียนตากพิทยาคม  เสนอแนวคิดเครื่องแจ้งเตือนการหลับในขณะขับรถ โดยตรวจสอบอาการหลับในผ่านกล้อง webcam และส่งสัญญาณเตือนเมื่อพบอาการใกล้เคียง
  • ทีม G18 – What’s the problem โรงเรียนปรินส์รอยเเยลส์วิทยาลั  เสนอแนวคิดสร้างแอปพลิเคชันสำหรับประเมินอาการป่วยเบื้องต้น ผ่านแบบสอบถาม แอปพลิเคชันจะแสดงผลการประเมินอาการพร้อมบอกรายละเอียด ยารักษาและแสดงตำแหน่งโรงพยาบาลใกล้ตัวในกรณีที่ร้ายแรง
  • ทีม G19 – ตึงๆ โรงเรียนกำเนิดวิทย์  เสนอแนวคิดเรื่องแว่นตาที่รวบรวมเอาข้อมูลในด้านความเหมาะสมในการใช้สายตามาประเมินและตรวจสอบ พร้อมทั้งแจ้งเตือนเข้าโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้สายตา และความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เพื่อลดปัญหาการเกิดความผิดปกติทางสายตา
  • ทีม G20  โสตนครปฐม โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม  เสนอแนวคิดเครื่องช่วยตรวจวัดระดับน้ำในอุโมงค์ทางลอดและแจ้งเตือนภัยผ่านระบบสัญญาณไฟและโทรศัพท์มือถือ โดยการใช้เซนเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำภายในอุโมงค์

 

สำหรับรางวัลในโครงการ Samsung Solve for Tomorrow ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 10 ทีม จะได้รับเงินทุนสนับสนุน 10,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาโซลูชันต้นแบบ (Prototype) พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากซัมซุง และรางวัล ทีมสุดท้าย รางวัลที่ 1 ได้รับทุนการศึกษา มูลค่า 200,000 บาท รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา มูลค่า 100,000 บาท รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา มูลค่า 50,000 บาท รวมถึงสมาชิกทุกคนจะได้รับ ซัมซุง แท็บเล็ต มูลค่าเครื่องละ 23,900 บาท

 

วันที่ 11 ตุลาคม 2565  จะประกาศผล 10 ทีม เพื่อคัดแนวไอเดียสุดเจ๋งเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ (Final Round) 2565 โดยจะประกาศรายชื่อและมอบรางวัล ทีมสุดท้าย ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดตาม โครงการ Samsung Solve for Tomorrow ได้ทาง www.solvefortomorrow.in.th หรือติดตามที่เฟซบุ๊คเพจ Samsung Together for Tomorrow

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *