รวมคำศัพท์ที่ใช้ในมหาวิทยาลัย

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ลองมาศึกษาคำศัพท์เหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันมั้ยคะ หากไปเจอคำศัพท์เหล่านี้หรือได้ยินใครพูดจะได้ไม่งง ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์เฉพาะกลุ่มที่นิสิต-นักศึกษานิยมใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นคำเรียกชื่อคณะ วิชา หรือคำในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ดังนั้น น้อง ๆ จึงควรรู้ก่อนที่จะเข้าไปเรียนจริง ๆ  วันนี้ พี่มิวจึงได้รวบรวมคำศัพท์มาให้น้อง ๆ ได้ฝึก อ่านเเละเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตในมหาลัย โดยจะแยกคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

 🎓✨ หมวดนักศึกษา / อาจารย์

  • Freshman : เฟรช เเมน : นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • Sophomore : ซอฟ ฟะ มอร์ : นักศึกษาชั้นปีที่ 2
  • Junior : จู เนียร์ :  นักศึกษาชั้นปีที่ 3
  • Senior : ซี เนียร์ : นักศึกษาชั้นปีที่ 4
  • Super Senior : ซูเพอะ ซีเนียร์ : คนที่เรียนไม่จบภายใน 4 ปี หรือใช้เวลาเรียนมากกว่า 4 ปี
  • Undergraduate : อันเดอะแกรด’จุเอท : ใช้เรียกนักศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเรียกนิสิต-นักศึกษาที่ยังไม่จบปริญญาตรี ซึ่งอาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า Undergrad (อ่านว่า อัน-เดิก-แรจ)
  • Master Student : มาสเตอะ สทิว’เดินทฺ : นักศึกษาปริญญาโท
  • Ph.D Student : พีเอชดี สทิว’เดินทฺ : นักศึกษาปริญญาเอก
  • Graduate Student : กแรจ-อิวเอ็ท-ซทยูเด็นท : ใช้เรียกนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
  • Professor : โพรเฟส’เซอะ : ศาสตราจารย์
  • Lecturer : เลค เชอะเรอะ : วิทยากร
  • Researcher : รีเซิร์ชเชอะ : นักวิจัย
  • Advisor : แอดไว’ เซอะ : เป็นอาจารย์ที่ทำหน้าที่ให้คำเเนะนำนักเรียนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิชาเอก, ที่พัก รวมถึงปัญหาอื่น ๆ

📒✨ หมวดการศึกษา

  • College : คอล เล็จ : วิทยาลัย
  • University : ยูนิเฝอ ซิทิ : มหาวิทยาลัย

📍  สำหรับคนอเมริกัน ทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกัน โดยแปลว่า มหาวิทยาลัยทั้งคู่แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้คำว่า College เหมือนกัน ระวังจะถูกนำมาใช้ในรูปของ Uncountable Noun หรือคำนามนับไม่ได้ นั่นเอง

  • G.P.A. หรือ Grade Point Average : เกรด พ้อย แอฟ’เวอะเรจฺ : มาตรฐานการให้เกรดโดยมีเกณฑ์อยู่ระหว่าง 0.0 – 4.0 โดยที่ 4.0 เป็นเกรดที่สูงที่สุด
  • GPAX : เกรดเฉลี่ยรวมทุกเทอมตั้งแต่เทอมแรกในหลักสูตรนั้น
  • E : อี : เป็นเกรดที่ต่ำที่สุด เท่ากับ 0.0 ใน G.P.A. ซึ่งจะถือว่าเรียนไม่ผ่านเเละไม่ได้หน่วยกิตใด ๆ
  • Semester : ซิเมส เทอะ : 2 ภาคการเรียน
  • Quarter หรือ Trimester : ควอ เทอะ หรือ ไทรเมส เทอะ : 3 ภาคการเรียน
  • Double Major : ดับเบิ้ล เม เจอะ : การเรียนสองหลักสูตรไปพร้อมกัน
  • Major : เม เจอะ : สาขาวิชาเอก  ** วิชาที่เป็นความถนัดเฉพาะทาง
  • Minor : ไม เนอะ : วิชาโทหรือวิชารองจากวิชาเอก   ** กลุ่มวิชาที่ตนเองสนใจอยากจะเรียนแต่ในบางมหาวิทยาลัยอาจจะเรียกวิชาโทนี้ว่า “แขนง”
  • Diploma Degree : ดิโพลมา ดีกรี : ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
  • Bachelor’s degree : แบช’ชะเลอะ ดีกรี : วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี

📍  นักศึกษาที่จบการศึกษาจะต้องใช้วุฒิการศึกษานี้ระบุลงในประวัติการศึกษาว่าเราจบมาจากระดับชั้นอะไร คณะอะไร และจบมาจากสถาบันการศึกษาไหน เพื่อใช้ในการสมัครเข้าทำงานหรือทำธุระอื่น ๆ

  • Master’s degree : มาสเตอร์ ดีกรี : วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโท

📍  ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2-4 ปี โดยเป็นการศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะทางที่ได้จบมาในระดับปริญญาตรีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และถือว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ เรียกว่า Master’s degree หรือเรียกย่อ ๆ ว่า M.A.

  • Doctorate/Doctoral degree : ดอค’เทอะเรท/ดอค’เทอะรอล ดีกรี : วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอก ซึ่งถือได้ว่าเป็นวุฒิการศึกษาระดับสูงที่สุดของสาขาวิชานั้น ๆ โดยจะเรียกย่อ ๆ ว่า Ph.D.
  • Faculty : แฟค-อัลทิ : คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น Faculty of Arts คณะอักษรศาสตร์
  • Exam Result (s) : อิกแซม’ รีซัลทฺ : ผลการสอบแต่ละวิชา
  • Thesis : ธี’ซิส : วิทยานิพนธ์
  • Dissertation : ดิเซอะเท-ชั่น : ปริญญานิพนธ์
  • Lecture : เลค-เชอะ : การบรรยาย
  • Debate : ดิเบท’ : การโต้วาที
  • Tuition Fees : ทิวอิช’เชิน ฟี : ค่าเทอม/ค่าเล่าเรียน
  • University Campus : ยูนิเฝอ ซิทิ เเคมปัส :  วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย

👀✨ หมวดคำเฉพาะ

  • ดรอป : Drop : การพักการเรียนวิชาต่างๆ ที่ได้มีการลงทะเบียนเอาไว้ก่อนชั่วคราว รวมไปถึงพักการเรียนตลอดทั้งเทอมโดยที่ยังคงสถานะการเป็นนักศึกษาอยู่และกลับมาเรียนใหม่เมื่อพร้อม ซึ่งบางมหาวิทยาลัยอาจจะต้องมีการเสียเงินค่ารักษาภาพความเป็นนักศึกษาด้วย
  • เปอร์ : Super Senior :  นักศึกษาที่ใช้เวลาในการเรียนเกินกว่าหลักสูตรกำหนด

📍  หลักสูตรปกติกำหนดมาให้สามารถจบได้ใน 8 ภาคการศึกษา (4 ปี) ถ้านักศึกษาคนนั้นอยู่มาแล้ว 5 ปี ก็จะถูกเรียกว่า “ปีเปอร์” หรือถ้าใช้เวลา 6 ปีในการเรียนจบ ก็สามารถบอกได้ว่า “เรียนจบนะ แต่เปอร์ไป 2 ปี”

  • รีไทร์ : Retire : การถูกทำให้พ้นสภาพนักศึกษา เนื่องจากเกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์
  • แอดมือ : Add : การขอลงทะเบียนเรียนกับอาจารย์ประจำวิชาโดยตรง

📍  ปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนผ่านระบบออนไลน์ของสำนักทะเบียนและประมวลผล โดยมีเงื่อนไขและระยะเวลาที่จำกัด ทำให้นักศึกษาบางคนที่ต้องการลงทะเบียนให้ได้ ขอลงทะเบียนเรียนกับอาจารย์ประจำวิชาโดยตรง

  • เซ็ก : Section : การแบ่งวิชาเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยในระบบลงทะเบียนจะกำกับด้วยตัวเลข 001, 002, 003 ** บางครั้งนักศึกษาก็จะเรียกแต่ละเซ็กด้วยชื่ออาจารย์ผู้สอน
  • มีน : Mean : ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบมักใช้เป็นค่ากลางเพื่อดูว่าเราทำข้อสอบได้ดีแค่ไหนเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่

📍  ในกรณีที่นักศึกษาพูดคุยถึงคะแนนสอบกับเพื่อน ๆ แต่ไม่อยากระบุตัวเลขที่เจาะจง ก็มักจะใช้มีนเป็นตัวอ้างอิง เช่น “ตกมีน” แปลว่าได้คะแนนคำกว่าค่าเฉลี่ย หรือ “มือแตะมีน ตีนแตะ F” แบบว่าคะแนนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยแต่ก็ยังถือสอบผ่าน

  • เมกอัป : Make Up Class : การนัดสอนเพิ่มนอกเวลา

📍  มักใช้ในกรณีที่อาจารย์ไม่สามารถมาสอนได้หรือมีเหตุจำเป็น ทำให้ต้องนัดนักศึกษามาเรียนนอกเวลาเรียนปกติ ก็จะเรียกว่า “การนัดเมกอัป”

  • แอดไวเซอร์ : Adviser : อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งถ้าเทียบกับระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา ก็เหมือนกับ “อาจารย์ประจำชั้น” เพราะการเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น ไม่ได้มีการแบ่งนักศึกษาออกเป็นห้องเรียน แต่ละคนมีตารางเรียนที่แตกต่างกัน
  • เกรด W มาจากคำว่า Withdraw ที่แปลว่า ถอน

📍  เกรด W ตัวนี้จะปรากฏอยู่ในทรานสคริปต์ก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนใจไม่อยากเรียนบางวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ จึงทำการถอนรายวิชานั้นออก แต่มาทำหลังจากที่สิ้นสุดระยะเวลาการเพิ่ม-ถอนรายวิชาที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไปแล้ว

  • เกรด V : ย่อมาจาก Visting คือ เกรดที่ได้จากการเป็นผู้ร่วมการศึกษา เป็นเกรดสำหรับคนที่อยากลงวิชาเรียนบางตัวแต่ไม่ต้องการให้นำเกรดวิชานี้มาคิดและประมวลผลเป็นเกรดเฉลี่ยรวม

📍  โดยคนที่จะได้เกรดตัวนี้ต้องเข้าเรียนและส่งงานเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ ในห้องเรียน แต่ถ้าเข้าเรียนต่ำกว่าที่กำหนดไว้กับอาจารย์ประจำวิชา จะทำให้เปลี่ยนจากเกรด V มาติด W แทน

  • A ช้วน : A ในที่นี้คือ เกรด A  ส่วนคำว่า ช้วน มาจากภาษาจีน 全 แปลว่า ทั้งหมดทั้งมวล  ดังนั้น A ช้วน จึงมีความหมายว่า ได้เกรด A หมดทุกวิชา หรือเกรดเฉลี่ย 4.00
  • ยกคลาส : การที่คลาสเรียนถูกยกเลิกหรือไม่ได้มีการเรียนการสอนในวันเวลาที่กำหนด
  • เลคเชอร์ : Lecture : การเรียนการสอนในรูปแบบการบรรยายเป็นหลัก ซึ่งอาจารย์จะบรรยายจาก Power Point หรือสื่อการสอนอื่นๆ เน้นสอนเนื้อหาและทฤษฎีต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานและการสอบได้
  • ทำแล็บ-ลงช็อป : เน้นเรียนเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติ

📍  นักศึกษาทุกคนจะได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษารู้จักและสามารถใช้อุปกรณ์การทดลองได้ รวมไปถึงเข้าใจกระบวนการทำงานต่างๆ ที่อยู่ภายในห้องแล็บหรือห้องปฏิบัติการมากขึ้น

  • ซิทอิน : เรียนแบบไม่เอาเกรด ส่วนใหญ่นิยมทำแบบนี้ในคาบแรก ๆ เพื่อทดลองเรียน
  • ติดเอฟ : F ก็คือ fail คือเกรดในวิชานั้นไม่ถึง 50% (หรืออาจจะมากกว่านั้นในบางวิชา) ถือว่าสอบตก ถ้าเป็นวิชาบังคับก็ต้องเรียนใหม่ ไม่งั้นจะไม่จบ

📍  หากติด F  เกรดเฉลี่ยก็จะถูกฉุดลงไปเยอะเลย

  • ตารางชน : การเรียนในมหาลัยวิชาเรียนแต่ละวิชามักจะมีเวลาเรียนที่ตายตัวอยู่แล้ว ซึ่งบางครั้งนักศึกษาอยากจะลงเพิ่มอีกวิชา แต่เวลาเรียนดันมาตรงกับวิชาอื่นที่จะลงหรือต้องลงเหมือนกัน ตารางเรียนก็เลยจะทับซ้อนกันทำให้ลงไม่ได้ จึงเรียกว่า “ตารางชน”
  • เด็กซิ่ว : คนที่เคยเรียนอยู่มหาวิทยาลัยอื่นมาก่อนแล้วย้ายที่เรียนมาอยู่ที่ใหม่เป็นเด็กปี 1 อีกรอบ
  • ติดโปร : สัญญาณที่ส่อว่าจะโดนรีไทร์ มักจะมาจากการติด F เยอะมากๆ

 👑✨ หมวดเกียรตินิยม

  • Honors : ออน-เออะ : เป็นคำที่แสดงให้เห็นว่าบัณฑิตที่จบการศึกษานั้นสามารถทำคะแนนได้ดีจนได้รับเกียรตินิยม
  • First-Class Honors : เฟิร์ส คลาส ออน-เออะ : เกียรตินิยมอันดับ 1
  • Second-Class Honors : เซค’เคินดฺ คลาส ออน-เออะ : เกียรตินิยมอันดับ 2
  • Gold Medal : โกล เมด’เดิล : บัณฑิตที่สามารถทำคะแนนได้ยอดเยี่ยมเป็นที่หนึ่งของรุ่นหรือได้รับเกียรตินิยมเหรียญทอง

📝✨ หมวดคณะวิชา

  • Faculty of Medicine : แฟค’เคิลที ออฟ เมทดิซีน : คณะแพทยศาสตร์
  • Faculty of Dentistry  : แฟค’เคิลที ออฟ เดน’ทิสทรี : คณะทันตแพทยศาสตร์
  • Faculty of Veterinary Medicine : แฟค’เคิลที ออฟ เฝท-เออะริเนริ เมทดิซีน :  คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • Faculty of Pharmaceutical Sciences : แฟค’เคิลที ออฟ ฟามัซยู-ทิแค็ล ไซ’เอินซฺ : คณะเภสัชศาสตร์
  • Faculty of Nursing : แฟค’เคิลที ออฟ เนิร์ซซิง : คณะพยาบาลศาสตร์
  • Faculty of Allied Health Sciences : แฟค’เคิลที ออฟ แอ็ลไลด เฮลท ไซ’เอินซฺ :  คณะสหเวชศาสตร์
  • Faculty of Public Health : แฟค’เคิลที ออฟ พลับลิค เฮลท : คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • Faculty of Psychology : แฟค’เคิลที ออฟ ไซคอล’โลจี : คณะจิตวิทยา
  • Faculty of Science : แฟค’เคิลที ออฟ ไซ’เอินซฺ : คณะวิทยาศาสตร์
  • Faculty of Engineering : แฟค’เคิลที ออฟ เอนจินเนียริ่ง : คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • Faculty of Information Technology : แฟค’เคิลที ออฟ อินฟอเมชั่น เทคนอล’โลจี : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • Faculty of Architecture : แฟค’เคิลที ออฟ อาร์คิเทค’เชอะ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • Faculty of Commerce and Accountancy : แฟค’เคิลที ออฟ คอม’เมิร์ซฺ เเอนท แอ็คเคาน-แท็นซิ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • Faculty of Business Administration : แฟค’เคิลที ออฟ บิซ’ซิเนส อัดมินัสเตรชั่น : คณะบริหารธุรกิจ
  • Faculty of Economics : แฟค’เคิลที ออฟ อีคะนอม’มิคซฺ : คณะเศรษฐศาสตร์
  • Faculty of Education : แฟค’เคิลที ออฟ เอดูเค’เชิน : คณะศึกษาศาสตร์
  • Faculty of Arts : แฟค’เคิลที ออฟ อาท : คณะอักษรศาสตร์
  • Faculty of Social Sciences : แฟค’เคิลที ออฟ โซเชียล ไซ’เอินซฺ : คณะสังคมศาสตร์
  • Faculty of Political Science : แฟค’เคิลที ออฟ โพะลีททิแค็ล ไซ’เอินซฺ : คณะรัฐศาสตร์
  • Faculty of Law : แฟค’เคิลที ออฟ ลอว : คณะนิติศาสตร์
  • Faculty of Communication Arts : แฟค’เคิลที ออฟ คอมมิวนิเคชั่น อาท : คณะนิเทศศาสตร์
  • Faculty of Liberal Arts : แฟค’เคิลที ออฟ ลีเบอะแร็ล อาท : คณะศิลปศาสตร์
  • Faculty of Journalism and Mass Communication : แฟค’เคิลที ออฟ เจอร์’นัลลิสซึม เเอน เเมส คอมมิวนิเคชั่น : คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
  • Faculty of Agriculture : แฟค’เคิลที ออฟ แอ็กเกลอคอลทรู : คณะเกษตรศาสตร์
  • Faculty of Fisheries : แฟค’เคิลที ออฟ ฟีเชอะริ : คณะประมง
  • Faculty of Forestry : แฟค’เคิลที ออฟ ฟอ-เร็ซทริ : คณะวนศาสตร์
  • Faculty of Humanities : แฟค’เคิลที ออฟ ฮิวแมน’นิที : คณะมนุษยศาสตร์
  • Faculty of Sociology and Anthropology : แฟค’เคิลที ออฟ โซซีออล’โลจี เเอน แอนโธรพอล’ โลจี : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

 

คำศัพท์เฉพาะหรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมากเพราะถ้าหากน้อง ๆ ยังไม่เข้าใจหรือไม่เก็ทในความหมายของคำนั้นก็จะทำให้เกิดการสื่อสารหรือเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดได้  ดังนั้น การเรียนรู้คำศัพท์เหล่านี้ก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเลยทีเดียว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *