วิศวะฯ มธ. (TSE) เปิด 4 เหตุผล ที่ทำให้ TEPE วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ มธ. เป็นหลักสูตรวิศวกรรมแห่งอนาคต ที่น่าเรียนใน TCAS66

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat school of Engineering) หรือ TSE เผย 4 เหตุผลที่ทำให้ TEPE วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ มธ. หรือ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ (Thammasat English Programme of Engineering) เป็นหลักสูตรที่น่าเรียนใน TCAS66 ที่มาพร้อมการพัฒนาทักษะที่จำเป็น รองรับความต้องการของอนาคต ได้แก่ 1.) เป็นหลักสูตรวิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ 2.) มีพาร์ทเนอร์ด้านการศึกษา ที่พร้อมเติมเต็มโอกาสของคนรุ่นใหม่ตลอดหลักสูตร 3.) มีแผนการเรียนที่หลากหลาย สามารถเลือกเส้นทางอนาคตของตนเองในช่วงภาคการศึกษาสุดท้าย 4.) เรียนสนุกไปกับวิธีการสอนที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ Gen Z ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ ตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE เผยว่า ภายหลังที่ TSE ได้เปิดตัวหลักสูตร ‘วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ’ สำหรับการรับสมัครนักศึกษาปีการศึกษา 2566 ภายใต้แนวคิด TEP-TEPE : The Next Concept of Engineering Education” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสานองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมร่วมกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ สู่การต่อยอดด้านการเรียนและการทำงานของคนรุ่นใหม่ โดยการพัฒนาหลักสูตรใหม่ของโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ (Thammasat English Programme of Engineering) หรือ TEPE มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ที่มีความต้องการ ‘แรงงานศักยภาพสูง’ ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรด้านวิศวกรรม ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังเตรียมตัวเพื่อยื่นคะแนนสอบในระบบ TCAS66 จำนวนมาก ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 4 เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ TEPE วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ มธ. เป็นหลักสูตรแห่งอนาคตที่น่าจับตาใน TCASS ดังนี้

  1. เป็น “4 หลักสูตรวิศวะ นานาชาติเชิงบูรณาการ”  โดยเป็นการควบรวมศาสตร์มากกว่า 2 สาขาไว้ด้วยกัน ซึ่งหลักสูตรใหม่ ประกอบด้วย
  • หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล (Electrical and Data Engineering)
  • หลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Civil Engineering and Real Estate Development)
  • หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม (Mechanical Engineering and Industrial Management)
  • หลักสูตรวิศวกรรมเคมีและการจัดการ (Chemical Engineering and Management)

ทั้งนี้ นอกจากผู้เรียนจะได้รับความรู้ด้านวิศวกรรมแล้ว ยังได้รับความรู้ด้านการจัดการทางวิศวกรรมและผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี ที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจด้านวิศวกรรมได้ในอนาคตอีกด้วย

  1. มี “พาร์ทเนอร์ด้านการศึกษา” ที่พร้อมเติมเต็มโอกาสคนรุ่นใหม่ตลอด 4 ปีการศึกษา ได้แก่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. (TDS) ผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สู่อีกขั้นของการบูรณาการทักษะด้านวิศวกรรมโยธาและการออกแบบ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรง  มหาวิทยาลัยอีแกม ลาซาล ประเทศฝรั่งเศส (ECAM LaSalle, France) สถาบันการศึกษาที่มีเครือข่ายการศึกษาที่ครอบคลุมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเปิดโอกาสให้คณาจารย์และนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และการทำงานในระดับนานาชาติ ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา โครงการ Summer / Winter School หรือโครงการฝึกงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ อีแกม ลาซาล ยังได้จัดตั้ง Training Center ไว้ที่ มธ. ศูนย์พัทยา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ TSE เป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ EEC และตอบโจทย์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ดังกล่าว

 

  1. มี “แผนการเรียนที่หลากหลาย” สำหรับนักศึกษา TEPE สามารถเลือกเส้นทางอนาคตของตนเองในช่วงภาคการศึกษาสุดท้ายของชั้นปีที่ 4 ได้ถึง 3 แผนการเรียน ได้แก่

  • เลือกทำโครงการศึกษาวิจัยในหัวข้อหรือประเด็นที่ตนเองสนใจ (Research Track)
  • เลือกแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียน พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ TSE (Exchange Track)
  • เลือกฝึกประสบการณ์ที่สถานประกอบการจริงภายใต้คู่สัญญาของ TSE ได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา (Long-Term Internship Track)

 

  1. เรียน “สนุกไปกับวิธีการสอนที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ Gen Z” เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของ TSE ในการปรับเปลี่ยนวิธีและระบบการเรียนการสอนที่สามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของนักศึกษา Gen Z ในยุคปัจจุบัน ได้ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ อีกทั้งคณาจารย์ของ TSE ทุกท่านยังมีความตั้งใจในการพัฒนารูปแบบหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศระหว่างการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ จดจำสิ่งต่าง ๆ และกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้ปรับรูปแบบบางรายวิชาที่ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเอง ในรูปแบบการเรียนแบบ E-Learning Platform ในกลุ่มรายวิชาศึกษาทั่วไปอีกด้วย

“TSE มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาหลักสูตร TEPE วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ ให้เป็นหลักสูตรที่พร้อมเดินไปข้างหน้าพร้อมคนรุ่นใหม่ ซึ่งเราใช้ประสบการณ์กว่า 33 ปี ด้านการศึกษาด้านวิศวกรรมมาต่อยอด พร้อมกับการปรับแนวคิดด้านการสอน เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ซึ่ง TSE ได้นำจุดแข็งของหลักสูตรเดิมคงไว้ และเพิ่มทักษะที่ตอบโจทย์อนาคตในทุกมิติ ทั้งฮาร์ดสกิลและซอฟท์สกิล โดย TSE พร้อมแล้วที่จะเดินเคียงข้างคนรุ่นใหม่บนเส้นทางด้านวิศวกรรม กับ 4 หลักสูตรใหม่ ที่พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่แล้ว ในระบบ TCAS66” รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตร TEPE วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ มธ. ในโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ (Thammasat English Programme of Engineering) สามารถติดตามความเคลื่อนไหว พร้อมรายละเอียดการรับสมัคร TCAS66 ได้ที่เว็บไซต์ https://engr.tu.ac.th/ หรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดทางเฟซบุ๊กเพจ TEP-TEPE คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (https://www.facebook.com/teptepetu/) ซึ่งสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-3001 ต่อ 3256 หรือ 083-618-3410 และไลน์ไอดี (Line ID) @tse-thammasat

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *