รวมไว้ให้แล้ว!!ทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐบาล
มหาวิทยาลัยรัฐบาลเป็นมหาวิทยาลัยที่นักเรียนนักศึกษานิยมเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยรัฐบาลมีให้เลือกเรียนมากมายหลากหลายประเภทการเรียนและที่สำคัญยังได้มีการจัดสรรปันส่วนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่อาจจะขาดแคฃนทุนทรัพย์ในการชำระค่าเทอมหรือทุนทรัพย์ในด้านอื่นๆ บทความนี้เพชรจ้าจะมารวบรวมทุนการศึกษาและทุนความสามารถด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยรัฐบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2442 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 2425
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสรรทุนด้วยงบประมาณกว่า 600 ล้านบาท ต่อปีแก่นิสิตทุกระดับชั้นที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษาเพื่อให้นิสิตทุกๆ ฐานะมีโอกาสเท่าเทียมกันในการศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีทั้งหมด3ทุน ซึ่งมีรายละเอียดทุนดังต่อไปนี้
ทุนอุดหนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย (หลักสูตรปริญญาตรี)
แบ่งประเภทของทุนได้ ดังนี้
ทุนประเภท ก ทุนค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายรายเดือน
ทุนประเภท ข(1) ทุนค่าเล่าเรียน
ทุนประเภท ข(2) ทุนช่วยเหลือเฉพาะค่าใช้จ่ายรายเดือน
เงื่อนไขการรับทุน
1. เป็นผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี
หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี
2. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
3. เป็นผู้มีความประพฤติดี โดยมีผู้รับรองความประพฤติ
4. นิสิตต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่คณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด
ทุนภูมิพล
เป็นทุนสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย แบ่งประเภทของทุนได้ดังนี้
1. เงินทุนภูมิพลสำหรับนิสิตเรียนดีเยี่ยม รางวัลละ 10,000 บาท
เฉพาะนิสิตคณะรัฐศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
คุณสมบัตินิสิตผู้ขอรับทุนการศึกษา
1.1 เป็นนิสิตชั้นปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายมีผลการศึกษาเฉลี่ยทุกภาคการศึกษา
สูงที่สุดในคณะ และจะได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
1.2 มีความประพฤติเรียบร้อยและขาดแคลนทุนทรัพย์
(โดยคณะต้นสังกัดจะเป็นผู้เสนอชื่อคณะละ 1 คน)
2. เงินทุนภูมิพลสำหรับนิสิตเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รางวัลละ 10,000 บาท
คุณสมบัตินิสิตผู้ขอรับทุนการศึกษา
2.1 เป็นนิสิตชั้นปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป
2.2 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
2.3 มีความประพฤติเรียบร้อยและขาดแคลนทุนทรัพย์
(โดยคณะต้นสังกัดจะเป็นผู้เสนอชื่อคณะละ 1 คน)
3.รางวัลนิสิตทำชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย
เป็นทุนสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย แบ่งประเภทของทุนได้ ดังนี้
เงินรางวัลสำหรับนิสิตทำชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ รางวัลละ 2,500 บาท
โดยมีคุณสมบัติตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลเพิ่มเติม >>คลิก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผู้ประสาสน์การและอธิการบดีมาแล้ว 23 คน อธิการบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ และนายกสภามหาวิทยาลัย คือ ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558” ซึ่งได้มีผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอีก 30 วันต่อมา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีมีคุณธรรมมีความสามารถในด้านต่างๆแต่ขาดทุนทรัพย์ในเรื่องค่าเทอมหรือค่าใช้จ่ายบางส่วนทางมหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ได้มีทุน 5 ประเภทด้วยกันดังนี้
1. ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ และหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
- เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 หรือเป็นผู้ที่มีความสามารถศึกษาต่อจนจบการศึกษาได้
- เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยต้องโทษทางวินัยนักศึกษามาก่อน
- สำหรับทุนการศึกษาค่าลงทะเบียน ต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาอื่นอยู่ก่อน
ยกเว้น ทุนประเภทรางวัล หรือทุนที่ให้แก่ผู้ที่มีความสามารถพิเศษ หรือทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ
2. ทุนฉุกเฉิน
1. เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาคภาษาไทย และหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และในช่วงขอรับทุนฉุกเฉิน ต้องไม่ได้รับทุนการศึกษาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
2. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี เรียบร้อย และมีความจำเป็นทางการเงิน
3. เป็นผู้ไม่เคยได้รับโทษทางวินัยนักศึกษามาก่อน
4. ต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
3.ทุนสนับสนุนเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัย
1. เป็นนักศึกษาคณะพาณิชย์ฯ ภาคภาษาไทย หลักสูตร 4 ปี นักศึกษาควบตรี-โท หลักสูตร 5 ปี และนักศึกษาโครงการปริญญาตรีบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (BBA) ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
2. ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศจากงานวิเทศสัมพันธ์ของคณะฯ
3. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
4.ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์
1. มีสัญชาติไทย และได้รับปริญญาตรีขั้นเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้วไม่เกิน 3 ปีการศึกษา นับรวมถึงปีที่มีการพิจารณาคัดเลือกเพื่อรับทุน
2. มีอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ ในวันสิ้นปีปฏิทินในปีที่มีการคัดเลือก
3. ผลการสอบ TOEFL ได้คะแนนระบบ Paper-based Total ตั้งแต่ 600 ขึ้นไป/คะแนนระบบ Computer based Total ตั้งแต่ 250 ขึ้นไป ระบบ iBT TOEFL ตั้งแต่ 97 ขึ้นไป หรือผลสอบ IELTS ได้คะแนนตั้งแต่ 7 ขึ้นไป และผู้ที่ประสงค์จะไปศึกษาต่อในประเทศที่ใช้ภาษาอื่นเป็นสื่อการสอน ต้องแสดงผลการทดสอบซึ่งได้มาตรฐานตามที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศนั้นได้กำหนดไว้
4. สาขาที่จะไปเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นต้องเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในสาขานั้นๆ
5.ทุนภายนอก
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 (รหัส 65) หลักสูตรภาคภาษาไทย ภาคปกติ หรือ หลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ
- มีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย 3.00 ขึ้นไป
- มีความประพฤติดี เรียบร้อย เคารพและปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ และข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
- ขาดแคลนทุนทรัพย์
- พร้อมที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมเพื่อสังคม
- ไม่ได้รับทุนการศึกษาต่อเนื่อง และทุนอื่น ๆ ในขณะที่สมัคร ยกเว้นทุนเงินยืมเพื่อการศึกษาและทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล
ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง” ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” เมื่อ พ.ศ. 2497 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” เมื่อ พ.ศ. 2517 นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 11 ของประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการเรียนการสอนมาแล้วกว่า 73 ปี มีรองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน
ทุนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้มีการจัดสรรทุนให้กับนักเรียนนิสิตนักศึกษาเป็นทุนจากทางมหาวิทยาลัยทุนจากผู้สนับสนุนโดยแบ่งเป็นโครงการดังนี้
- ทุนการศึกษามูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ โครงการ “ทุนส่งน้องเรียนจบ”
จำนวน 50 ทุน ทุนละ 30,000 บาท
สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในหลักสูตร 4 ปี ต่อเนื่องจนจบการศึกษา
สนใจกรอกใบสมัคร >> คลิก
มูลนิธิตั้งเซ็กกิม (บริษัท นานมี จำกัด)มีความประสงค์จะมอบทุนการศึกษา จำนวน 20 ทุนๆละ 8,000 บาท ให้แก่นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีผลการเรียนดี มีจริยธรรม แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพื่อนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติในอนาคต
รายเอียดการขอรับทุน >> คลิก
ทุนมูลนิธิคุณแม่จินตนา ธนาลงกรณ์
มูลนิธิคุณแม่จินตนา ธนาลงกรณ์ มีนโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาแ ก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 30 ทุนๆ ละ15,000 บาท โดยนิสิตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามเกณฑ์ที่มูลนิธิฯกำหนดและมีความประสงค์จะสมัครขอรับทุนการศึกษาสามารถดาวน์โหลดใบสมัครที่แนบมานี้ ส่งผ่านมหาวิทยาลัยมายังส่วนกิจการนิสิตภายในวันที่ 8 กันยายน 2563
สามารถส่งด้วยตัวเองที่ไปรษณีย์ “มูลนิธิคุณแม่จินตนา ธนาลงกรณ์ เลขที่ 12 แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700”
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-649-5000 ต่อ 12087 คุณนฤมล (เจ้าหน้าที่ทุนการศึกษาของ มศว)
ทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความประสงค์จะให้ทุนการศึกษาและต่อเนื่อง ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 90 ทุน ทุนละ 30,000 บาท แก่นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 สำหรับหลักสูตร 4 ปี
*โดยมีคุณสมบัติตามาหลักเกณฑ์ดังรายละเอียดเอกสารแนบ
1. นิสิตที่มีความประสงค์จะสมัครขอรับทุนการศึกษารูปแบบที่ 1 (กลุ่มปกติ)
สามารถสมัครด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์
2. นิสิตที่เป็นผู้มีความยากจน (พิเศษ)
สามารถยื่นความประสงค์และใบสมัครพร้อมหลักฐาน
ผ่านทาง E-MAIL : COSCISCHOLARSHIP@GMAIL.COM
ทุนการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนิสิตที่มีความสามารถด้านต่างๆ ทั้งนิสิตที่มีผลการเรียนดี จิตสำนึกสาธารณะที่โดดเด่น หรือสร้างชื่อเสียงให้กับคณะเศรษฐศาสตร์ ได้แก่
- ทุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่มีผลการเรียนดี จํานวน 15 ทุน ประกอบไปด้วย
1) ทุนการศึกษาสําหรับนิสิตชั้นปีที่ 2 จํานวน 5 ทุน ๆ ละ 8,000
2) ทุนการศึกษาสําหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 จํานวน 5 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
3) ทุนการศึกษาสําหรับนิสิตชั้นปีที่ 4 จํานวน 5 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท
โดยมีเกณฑ์การพิจารณา คือ
(1) พิจารณาจากผู้ที่มีเกรดเฉลี่ยรวมสูงสุด จํานวน 4 ทุน
(2) พิจารณาจากผู้ที่มีเกรดเฉลี่ยเฉพาะปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ดูเฉพาะ เกรดเฉลี่ยปีนั้นๆ โดยหากเป็นผู้ที่มีรายชื่อซ้ำกับผู้ที่ได้รับคัดเลือกตามเกณฑ์เกรดเฉลี่ยรวม จะให้ ทุนแก่นิสิตลําดับถัดไป - ทุนการศึกษาสำหรับผู้มีจิตสาธารณะที่โดดเด่น จํานวน 6 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท
- ทุนการศึกษาสําหรับนิสิตพิการ จํานวน 1 ทุน ๆ ละ 10,000 บาท
- ทุนนิสิตแลกเปลี่ยนต่างประเทศ จํานวน 10 ทุน ๆ ละ 15,000 บาท
- เงินรางวัลสำหรับนิสิตที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะเศรษฐศาสตร์
5.1 รางวัลระดับชาติ ประเภทที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์โดยตรง
– รางวัลชนะเลิศ คนละ/หรือกลุ่มละ 10,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คนละ/หรือกลุ่มละ 8,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คนละ/หรือกลุ่มละ 5,000 บาท
– รางวัลชมเชยคนละ/หรือกลุ่มละ 2,000บาท
5.2 รางวัลระดับชาติ ประเภทศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
– รางวัลชนะเลิศ คนละ/หรือกลุ่มละ 8,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คนละ/หรือกลุ่มละ 6,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คนละ/หรือกลุ่มละ 3,000 บาท
– รางวัลชมเชยคนละ/หรือกลุ่มละ 1,000 บาท
5.3 รางวัลระดับชาติ สาขาอื่นๆ ประเภท วัฒนธรรม / กีฬา
– รางวัลชนะเลิศ คนละ/หรือกลุ่มละ 5,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คนละ/หรือกลุ่มละ 3,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คนละ/หรือกลุ่มละ 2,000 บาท
– รางวัลชมเชยคนละ/หรือกลุ่มละ 1,000 บาท
5.4 รางวัลสร้างชื่อเสียงให้แก่คณะเศรษฐศาสตร์ รางวัล คนละ/หรือกลุ่มละ 2,000 บาท
ทุนการศึกษา ชมรมวิทยาศาสตร์ มศว.
ด้วย ชมรมวิทยาศาสตร์ มศว มีความประสงค์มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี “ทุนชมรมวิทยาศาสตร์ มศว” ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อสนับสนุนการศึกษา ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีความประพฤติดีและขาดแคลนทุนทรัพย์ ใน 2 ประเภททุน ได้แก่
- ทุนแบบไม่ต่อเนื่อง จำนวนหลักสูตรละ 1 ทุน
- ทุนแบบต่อเนื่อง จำนวน 1 ทุน
ทั้งนี้ นิสิตที่ประสงค์ขอรับทุนฯ ดังกล่าว สามารถขอรับใบสมัครและสมัครได้ที่ภาควิชาที่ตนสังกัด ตั้งแต่บัดนี้ – 15 พฤศจิกายน 2563 (*หรือตามที่ภาควิชากำหนด)
หมายเหตุ : นิสิตสามารถสมัครทุนได้ทั้ง 2 ประเภท และหากได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับทุนฯ ทั้ง 2 ประเภท นิสิตตต้องสละสิทธิ์ทุนประเภทไม่ต่อเนื่อง
รายละเอียดเพิ่มเติม : หน่วยกิจการนิสิต คณะวิทยาศาสตร์ มศว โทร. 02-6495000 ต่อ 18438
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2531 ภายใต้ชื่อ “วิทยาลัยอุบลราชธานี” สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเปิดทำการสอนในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2533 รัฐบาลสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ได้มีมติยกฐานะวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็น “มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 19 สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2533 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ต่อมาสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้แต่งตั้งให้ “รองศาสตราจารย์สมจิตต์ ยอดเศรณี” ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรกของมหาวิทยาลัย
ทุนการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
-
ทุนนักศึกษาพิการเป็นเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการที่ได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร
-
ทุนอาหารกลางวันเป็นทุนช่วยเหลือค่าอาหารกลางวันให้แก่นักศึกษาที่มีความเดือดร้อนและประสบปัญหาค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าอาหารกลางวัน
นักศึกษาที่จะได้รับทุนการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับจำนวน โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 ตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี แบบมหาวิทยาลัยเปิดโดยรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครเดิมมหาวิทยาลัยในประเทศไทยช่วงก่อน พ.ศ. 2490 เป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบปิด ต้องสอบคัดเลือก มีเพียงมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ที่เป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบตลาดวิชา ไม่มีการสอบคัดเลือกและเปิดรับทุกคนที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2490 มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” และภายหลังจึงถูกแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยปิด เมื่อ พ.ศ. 2495 ทำให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยทั้งหมดต้องสอบคัดเลือก และเกิดการตกค้างของผู้ที่ต้องการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาแต่ไม่สามารถสอบติดมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก จนเกิดการขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษา แม้จะมีการเปิดมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มเติม ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษาได้ ภายหลังจึงมีผู้เสนอให้มีการนำรูปแบบของอดีตมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กลับมาเปิดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ และเป็นที่มาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ทุนการศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชบของกองกิจการนักศึกษา
1.) ทุนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสดาฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา (เฉพาะนักศึกษชั้นปีที่ 1 เท่านั้น)
2.) ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ประเภททุนเรียนดี
- ประเภททุนขัดสน
- ประเภททุนกิจกรรม
3.) ทุนการศึกษานักกีฬา
ทุนการศึกษาประเภทเรียนดี ประเภทส่งเสริมการศึกษา และประเภทกิจกรรม
คุณสมบัติทั่วไป
- เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป)
- เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย
- ไม่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือไม่เป็นนักศึกษา 8 ปีสมัครใหม่ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย รามคำแหง ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี
- ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาอื่น ๆ ในปีเดียวกัน
คุณสมบัติเฉพาะของผู้ขอรับทุนประเภทเรียนดี
- มีผลการเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคเรียนปกติ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงภาคฤดูร้อน/2562
- มีหน่วยกิตสะสมของอักษร ระดับคะแนน A ในทุกภาคการศึกษารวมแล้ว ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา ยกเว้นภาคฤดูร้อน
คุณสมบัติเฉพาะของผู้ขอรับทุนประเภทส่งเสริมการศึกษา
- มีผลการเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคเรียนปกติ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงฤดูร้อน/ 2562
- มีผลการเรียนพอใช้ คือ สอบไล่ได้เฉลี่ยในแต่ละปีการศึกษาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต รวมภาคฤดูร้อน
คุณสมบัติเฉพาะของผู้ขอรับทุนประเภทกิจกรรม
- เป็นนักศึกษาทำกิจกรรมเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
- มีผลการเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคเรียนปกติตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงภาคฤดูร้อน/ 2562
- ผู้มีผลการเรียนพอใช้ คือ สอบไล่ได้เฉลี่ยในแต่ละปีการศึกษาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต รวมภาคฤดูร้อน
- เป็นผู้มีความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการร่วมกิจกรรม มีผลงานสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ที่ประจักษ์ต่อชุมชน สังคมและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
สำหรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติ ทุนเรียนดี สามารถติดต่อรับใบสมัครหรือดาวโหลดทางเว็บไซต์ และยื่นพร้อมหลักฐาน ที่งานแนะแนวอาคารศิลาบาตร ชั้นลอย
สำหรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติ ทุนส่งเสริมการศึกษา สามารถติดต่อรับใบสมัครหรือดาวโหลดทางเว็บไซต์ และยื่นพร้อมหลักฐาน ที่คณะที่ตนศึกษาอยู่
สำหรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติ ทุนกิจกรรม สามารถติดต่อรับใบสมัครที่ชมรมหรือดาวโหลดทางเว็บไซต์ และยื่นพร้อมหลักฐาน ที่งานแนะแนวอาคารศิลาบาตร ชั้นลอย
ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก
ข้อมูลการขอทุนเพิ่มเติม >> คลิก
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร มหาวิทยาลัยที่ผลิตครูแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการสถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในนาม “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์” เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 ณ บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง สังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ มีบทบาทหน้าที่ผลิตครู เพื่อรองรับการขยายตัวของระบบราชการแบบใหม่ มีมิสเตอร์กรีนด์รอด ชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ในปีแรกมีนักเรียน 3 คน คือ นายนกยูง วิเศษกุล (พระยาสุรินทราชา) นายบุญรอด เศรษฐบุตร (พระยาภิรมย์ภักดี) และนายสุ่ม
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครได้จัดตั้งโครงการทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนนักศึกษาเรียนดีมีคุณธรรมและทุนการศึกษาตามความสามารถของผู้เรียน โดยจำแนกทุน เป็น 3 ประเภท ทุนให้เปล่า ทุนให้ยืมไม่มีดอกเบี้ย ทุนตามความสามารถ โดยรายละเอียดมีดังนี้
ทุนให้เปล่า
รายละเอียด
- ต้องเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- ไม่เป็นผู้ที่เข้าร่วมกองทุนเพื่อการกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- เป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าร่วมกองทุนเพื่อการกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- เป็นผู้ที่ไม่ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บุคคลในองค์กรณ์ หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
- ไม่อยู่ระหว่างในการถูกลงโทษให้พักการเรียน
- เป็นผู้ประพฤติดี ได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาและรองคณะบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาของคณะนักศึกษาที่สังกัด
- มีผลการเรียนจนถึงภาคล่าสุดไม่ต่ำกว่า 3.60
- เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์จนไม่สามารถชำระค่าเทอมได้
ทุนให้ยืมไม่มีดอกเบี้ย
- ต้องเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- ไม่เป็นผู้ที่เข้าร่วมกองทุนเพื่อการกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- เป็นผู้ที่ไม่ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บุคคลในองค์กรณ์ หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
- ไม่อยู่ระหว่างในการถูกลงโทษให้พักการเรียน
- เป็นผู้ประพฤติดี ได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาและรองคณะบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาของคณะนักศึกษาที่สังกัด
- มีผลการเรียนจนถึงภาคล่าสุดไม่ต่ำกว่า 2.00
- เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์จนไม่สามารถชำระค่าเทอมได้
ทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
สมเด็งพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราขกัญญา ทรงมีพระประสงค์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษา ด้านศิลปะ ในสถาบันอุตมศึกษาให้มีโอกาสในการศึกษาจนสำเร็จระดับปริญญาตรี โดยพระราชทานทุนการศึกษาต้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัญณวรีนารีรัตนราชกัญญา สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีในสถาบันอุตมศึกษา
สังกัดกระทรวงการอุคมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมต้านศิลปะ มีความประพฤติดี ให้เรียนจนสำเร็จการศึกษา เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ออกไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
- เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ด้านศิลปะทุกแขนงโดยเฉพาะศิลปะร่วมสมัย ศิลปะสมัยใหม่ นวัตศิลป์ ภัณฑารักษ์ การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ศิลปะสร้างสรรค์ ศิลปะประยุกต์ และ DIGITAL ART จะรับพิจารณาเป็นพิเศษ
- เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางด้านศิลปะ สามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม เศรษฐกิจ
- เป็นผู้ประพฤติดี ได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาและรองคณะบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาของคณะนักศึกษาที่สังกัด
- มีผลการเรียนจนถึงภาคล่าสุดไม่ต่ำกว่า 2.75
รายละเอียดทุนให้เปล่าและทุนให้ยืมไม่มีดอกเบี้ยเพิ่มเติม >>คลิก
รายละเอียดทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาเพิ่มเติม >>คลิก
รายละเอียดเพิ่มเติม >> คลิก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเต็มตัว ทิศทางการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ จึงเน้นการบริหารจัดการให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมของวิชาการหลายสาขา มีคณะหลากหลายให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ เป็นมหาวิทยาลัยแนว Comprehensive ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้เรียนหลงลืมความชัดเจนในการเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเฉพาะทาง ที่มีรากเหง้ามาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษามุ่งสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติคุณภาพ ซึ่งมีแผนพัฒนาและก้าวย่างอย่างมั่นใจไปบนทิศทางแห่งการพัฒนามหาวิทยาลัย ให้เป็นศูนย์รวมการศึกษาที่มาตรฐานโดยมีวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลนีราชมงคลธัญบุรี เปิดรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุ และมีความประสงค์จะขอรับทุนการศึกษา โดยมีทุนการศึกษามอบให้ 4 ประเภท
1. ทุนกองทุนพัฒนานักศึกษา
ลักษณะของทุน
• เป็นทุนการศึกษา ประเภททุนให้เปล่า
• มูลค่าทุนขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คณะ / วิทยาลัย
คุณสมบัติ
• นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกชั้นปี
• ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา
• ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาอื่นๆ ยกเว้น กยศ. / กรอ.
2. ทุนเพชรบัวสวรรค์
ลักษณะของทุน
• เป็นทุนการศึกษา ประเภท ยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร
คุณสมบัติ
• นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2
• ผลการเรียนอันดับ 1 ของคณะ /วิทยาลัย คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
• ผลการเรียนรายวิชาไม่ต่ำกว่า C
3. เงินยืมฉุกเฉินสําหรับนักศึกษา
ลักษณะของทุน
• เป็นเงินทุนประเภท กู้ยืมต้องใช้คืนโดยไม่มีดอกเบี้ย
คุณสมบัติ
• นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกชั้นปี
• มีความเดือนร้อนและมีความจําเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน
• ไม่อยู่ในระหว่างลาพักการศึกษาหรือถูกสั่งพักการเรียนและไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยนักศึกษา
• เป็นผู้มีความประพฤติที่ดี
• ไม่เป็นนักศึกษาที่ค้างชําระเงินยืมฉุกเฉินของมหาวิทยาลัย
4. ทุนจากหน่วยงานภายนอก
ลักษณะของทุน
• เป็นทุนที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน/องค์กร สาธารณะกุศล/ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
คุณสมบัติ
• นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกชั้นปี
• มีความประพฤติเรียบร้อย ขาดแคลนทุนทรัพย์
• ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมอยู่ในเกณฑ์ ที่มหาวิทยาลัยกําหนดหรือขึ้นอยู่กับผู้มอบทุนกําหนด ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาอื่นๆ ยกเว้น กยศ. / กรอ.
• มีคุณสมบัติอื่นๆตามที่ผู้มอบทุน กําหนด
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายสวัสดิการนักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา ชั้น 4
ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก