การแพทย์เฉพาะทาง อาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ

ในปี2022ได้มีการจัดอันดับ10สายอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมากที่สุดใน ปี 2022 หนึ่งในสิบอาชีพที่มีความต้องการมากที่สุดคืออาชีพในหมวด การแพทย์ และ สุขภาพ และที่ต้องการมากที่สุดคือ กลุ่มแพทย์เฉพาะทางในโรคต่างๆเพราะในปัจจุบันนั้นโรคภัยไข้เจ็บได้พัฒนาสายพันธ์ุรุนแรงมากขึ้นและคนอายุน้อยๆก็เริ่มเป็นโรคที่ในวัยผู้ใหญ่เป็นและคนในสังคมหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นตั้งแต่อาหารการกินจนไปถึงเรื่องของการรักษาสุขภาพ อาชีพแพทย์เฉพาะทางจึงมีความจำเป็นต่อตลาดแรงงานมากที่สุด และการศึกษาด้านแพทย์เฉพาะทางนั้นก็กลายเป็นสายการเรียนที่มาแรงมากในตลอดหลายปีที่ผ่านมา น้องๆนักเรียนนักศึกษาคงอยากทราบว่าในประเทศไทยจะมีมหาวิทยาลัยไหนบ้างเปิดหลักสุตรแพทย์เฉพาะทาง บทความนี้พี่เพชรจ้าจะมารวบรวม วิชาการแพทย์เฉพาะทางและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนการแพทย์เฉพาะทางเพื่อเป็นแนวทางและความรู้ให้น้องๆกันค่ะ

โดยการแพทย์เฉพาะทางมีทั้งหมด 15 ประเภทได้แก่

วิทยาศาสตร์การแพทย์

สาขาที่นำวิชาวิทยาศาสตร์และการแพทย์รวมเข้าด้วยกัน โดยในประเทศไทยที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยที่นี่จะเน้นการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ถึง 4 หลักสูตรด้วยกันคือ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา >> คลิก

จะประกอบไปด้วยวิชา

  • วิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กายวิภาคศาสตร์
  • สรีรวิทยา
  • ประสาทวิทยาศาสตร์
  • จุลชีววิทยา
  • ไวรัสวิทยา
  • โรคติดเชื้อ
  • จุลชีวนิติเวชวิทยา
  • ภูมิคุ้มกันวิทยา
  • ระบาดวิทยา
  • ปรสิตวิทยา
  • อณูชีววิทยา
  • เภสัชวิทยา
  • พิษวิทยา
  • กีฏวิทยาทางการแพทย์ (โรคที่มาจากแมลง แมลงพาหะนำโรคชนิดต่าง)

กุมารเวชศาสตร์

สาชาวิชาที่เกี่ยวกับการดูแล ทารก เด็ก วัยรุ่น โรคในเด็ก และให้คำปรึกษาเรื่องราวของเด็กต่างๆ

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนกุมารเวชศาสตร์ เฉพาะทางได้แก่

คณะแพทยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
  • กุมารเวชศาสตร์โรคไต
  • กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
  • กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ
  • กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา
  • โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
  • กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด

 

จักษุวิทยา

สาขาวิชาการแพทย์เกี่ยวกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็น การรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา การดูแลรักษาดวงตา และการทำอุปกรณ์เพื่อดวงตา โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

เลนส์สัมผัส

กระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา

จักษุวิทยาการตรวจคลื่นไฟฟ้า

จักษุวิทยาโรคต้อหิน

สายตาเลือนลาน

ประสาทจักษุวิทยา

จักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ

ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง

จักษุวิทยาเด็กและตาเข

จักษุสาธารณสุข

จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา

 

จิตเวชศาสตร์

สาขาวิชาการแพทย์เกี่ยวกับ ความรู้สึก ความคิด การบกพร่องทางอารมณ์ การดูแลรักษาอาการทางจิต การดูแลบริหาร

จิตใจในด้านต่างๆมีวิชาทางเลือก 2 วิชา คือ จิตเวชศาสตร์ จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โดยมหาวิทยาลัยและสถาบันที่เปิดสอนที่ด้วยกันทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

โรงพยาบาลศรีธัญญา  หลักสูตรอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์

ข้อมูลจาก ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย >> คลิก

 

นิติเวชศาสตร์

สาขาวิชาการวิเคราะห์ชันสูตรศพ การค้นหาร่องรอยเบาะแสหากเกิดเหตุการณ์ที่เสียชีวิตอย่างไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยนิติเวชศาสตร์มีวิชาสอนด้วยกัน 5 วิชา พิษวิทยา นิติซีโรวิทยา วัตถุพยานทางวิทยา การตรวจฟันทางวิทยา และ นิติจิตเวชศาสตร์ โดยมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้วยกัน 5 แห่ง

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชวิทยา
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์

รังสีวิทยา

สาขาวิชาการเรียนในด้านรังสีรักษาโรค เรียนรู้เครื่องมือในการรักษาโรค

  • รังสีวิทยาทั่วไป
  • ภาพวินิจฉัยระบบประสาท
  • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
  • รังสีร่วมรักษาของลำตัว
  • ภาพวินิจฉัยชั้นสูง
  • รังสีวิทยาวินิจฉัย
  • รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์

มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีการเปิดสอนทั้งหมด 14 มหาวิทยาลัยด้วยกัน

1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิค
5. มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชารังสี
6. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยพะเยา คณสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิค
8. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชารังสีเทคนิค
9. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาการเทคนิค
11. มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเทคนิคการแพทย์
12. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
13 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะเทคนิคการแพทย์
14. วิทยาลัยนครราชสีมา คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

เวชศาสตร์ป้องกัน

สาขาวิชาการป้องกันโรคภัยต่างๆ เช่นโรคติดต่อ เชื้อโรค โรคความพิการ ซึ่งจะแตกต่างจากการรักษาโรค

  • สาธารณสุขศาสตร์
  • ระบาดวิทยา
  • เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก
  • เวชศาสตร์การบิน
  • อาชีวเวชศาสตร์
  • สุขภาพจิตชุมชน
  • เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
  • เวชศาสตร์การจราจร

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

ศัลยศาสตร์

สาขาวิชาการแพทย์เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดต่างๆ เช่นการผ่าตักตกแต่ง การผ่าตัดลำไส้ การผ่าตัดทรวงอก การผ่าตัดเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดมะเร็งชนิดต่างๆ

  • ศัลยศาสตร์
  • ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
  • ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ
  • ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • ศัลยศาสตร์ตกแต่ง
  • ศัลยศาสตร์ทรวงอก
  • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
  • กุมารศัลยศาสตร์

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

สาขาวิชาการแพทย์ ศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการดูแลผู้หญิงและทารกระหว่างการตั้งครรภ์, การคลอด, และระยะหลังคลอด ส่วนการผดุงครรภ์ นั้นจะไม่อาศัยทักษะการศัลยศาสตร์ สูติแพทย์ส่วนมากมักจะเป็นแพทย์นรีเวชวิทยาด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา

  • สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
  • มะเร็งนรีเวชวิทยา
  • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

 

โสต ศอ นาสิกวิทยา

สาขาวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก

  • โสต ศอ นาสิกวิทยา
  • ศัลยศาสตร์เสริมสร้างใบหน้า

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

 

ออร์โธปิดิกส์

อยู่ในหมวดสาขาวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษา ข้อ กระดูก เส้นเอ็น กายภาพบำบับเบื้องต้น

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

 อายุรแพทย์

เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ได้ผ่านการสอบเพื่อประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆทางอายุรศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา

  • อายุรศาสตร์
  • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
  • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
  • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
  • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาคลินิก
  • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
  • อายุรศาสตร์โรคไต
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • เวชบำบัดวิกฤต
  • อายุรศาสตร์โรคเลือด
  • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • ประสาทวิทยา
  • ตจวิทยา
  • อายุรศาสตร์โรคทรวงอก

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

พยาธิวิทยา

เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology)

พยาธิวิทยาทั่วไป

พยาธิวิทยากายวิภาค

พยาธิวิทยาคลินิค

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

วิสัญญีแพทย์

คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ โดยมักทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัดเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดของคนไข้ก่อนทำการผ่าตัดเพียงชั่วคราว ผู้ที่จะเป็นวิสัญญีแพทย์ได้ต้องจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตก่อน แล้วจึงจะมาต่อเฉพาะทาง สาขาวิสัญญีวิทยา ใช้เวลาศึกษาประมาณ3ปี ส่วนพยาบาลก็สามารถเรียนรู้ฝึกทักษะเกี่ยวกับวิสัญญีวิทยาได้ โดยการฝึกเป็นวิสัญญีวิทยา ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปี และทำงานภายใต้การควบคุมดูแลของวิสัญญีแพทย์

  • วิสัญญีวิทยา
  • วิสัญญีวิทยาเพื่อการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่และทรวงอก
  • วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท
  • การระงับปวด

โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนได้รับการรับรองจากแพทยสภา 20 มหาวิทยาลัย โดยรายชื่อของมหาวิทยาลัยจะอยู่ด้านล่างของบทความ

เวชศาสตร์ครอบครัว

สาขาการแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่งที่รวมความรู้ทางการแพทย์และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลสุขภาพของครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมที่ประกอบด้วยความผูกพัน, ความรัก, การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ของบุคคลภายในครอบครัว

  • เวชศาสตร์ครอบครัว
  • เวชศาสตร์ครอบครัวการบริบาลแบบประคับประคอง

โดยมหาวิทยาลัยที่จะนำมายกตัวอย่าง ได้รับการรับรองจากแพทย์สภา  โดยจะแบ่ง ตามภูมิภาคทั้ง 4 ภาค

มหาวิทยาลัยภาคกลาง

มหาวิทยาลัยมหิดล ศิริราชพยาบาล  >> คลิก

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  >> คลิก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรสถานวิทยาศาสตร์คลินิก >> คลิก

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล  >> คลิก

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยที่นี่จะเน้นการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ถึง 4 หลักสูตรด้วยกันคือ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา >> คลิก

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า >> คลิก

คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง >> คลิก

 

มหาวิทยาลัยภาคเหนือ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก

มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก 

มหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก

 

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์  >> คลิก

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์  >> คลิก

มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก

มหาวิทยาลัยภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์  >> คลิก

มหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์  >> คลิก 

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ >> คลิก

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ >> คลิก

 

น้องๆนักเรียนมัธยมปลายทุกภูมิศาสตร์ ที่ต้องการศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์ ต้องเตรียมตัวดังนี้

GPAX และ GPA ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย

O – NET คณิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา

GAT 1 เชื่อมโยง และ ความถนัดทางภาษาอังกฤษ

PAT 1 ความถนัดทางคณิศาสตร์

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

9 วิชาสามัญ

การสอบ กสพท

Portfolio ตามกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย

การสอบวัดความสามารถเพิ่มเติมที่ทางแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *