โลกผุพัง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม” ช่วยได้ สมัครเรียนศาสตร์แห่งอนาคตสาขานี้ที่ “สวนสุนันทา” รอบ Portfolio ได้แล้ววันนี้!
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี รอบ Portfolio สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้จนถึง 5 มกราคม 2566
ทำไมต้องเรียนสาขานี้??…
จากสถานการณ์ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแหล่งที่มาที่สำคัญคือภาคอุตสาหกรรม ทำให้หลายหน่วยงานได้ออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมหลายข้อบังคับด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีการกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูและผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูและสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
การออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ มากมายดังกล่าว ทำให้หลักสูตรชีววิทยาสิ่งแวดล้อม แขนงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อบริหารจัดการงานต่าง ๆ ตามที่มีการออกกฎระเบียบได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในขณะนี้จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยใช้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559 และข้อบังคับ
ข้างต้นเป็นแนวคิดในการปรับปรุงหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะครบถ้วนตามความต้องการมากที่สุด
อาชีพมากมาย ทำได้หลากหลายหลังเรียนจบ!!…
หากถามถึงอาชีพที่ทำได้แบบตรง ๆ วุฒิหลังเรียนจบ มีอะไรบ้าง ตอบได้เลยว่า เยอะแยะไปหมด ทั้งงานราชการและภาคเอกชน หรือจะเป็นอาชีพอิสระ มุ่งหน้าสู่การเป็นเถ้าแก่น้อยร้อยล้านก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะอย่างที่บอก สาขานี้คือความจำเป็นของอนาคตชาวโลก
อาชีพสุดว้าว…
– อาชีพผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม
– เป็นเจ้าหน้าที่อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
– ผู้ควบคุมระบบมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ และกากอุตสาหกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม
– นักวิชาการสิ่งแวดล้อมด้านการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
– นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน
– นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานลักษณะอื่น เช่น สถาบันวิจัย กรมกอง
– พนักงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น ฝุายขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์
– ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
– อาชีพอิสระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
.
รู้แล้วอย่าช้า โอกาสดี ๆ ในชีวิตเปิดกว้างไว้รอแล้ววันนี้!!