คุรุสภา จัดประกวด ครูภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2566 – หมดเขต 31 มีนาคม 2566

ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนดคัดเลือกครูภาษาไทยในประจำการของสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งผู้สอนภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาที่มีผลงานดีเด่นเพื่อประกาศเกียรติคุณเป็นครูภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวนไม่เกิน 50 รางวัล จะได้รับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ โล่ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และยกย่องเชิดชูเกียรติครูภาษาไทยที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้ครูภาษาไทยพัฒนาตนเองและจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมและกระตุ้นให้สร้างนวัตกรรมการการจัดการเรียนรู้ที่เพิ่มคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับรางวัลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทางวิชาชีพต่อไป
.
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น
- เป็นครูหรืออาจารย์ประจำสอนภาษาไทยในสถานศึกษา
- ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
- ปฏิบัติการสอนในวิชาภาษาไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ออกประกาศ
- เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ยกเว้นอาจารย์ประจำในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ)
- มีความประพฤติดี และไม่อยู่ในระหว่างการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ถูกดำเนินการทางวินัย หรือเป็นผู้เคยถูกลงโทษทางวินัย แม้จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินแล้วก็ตาม รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
- มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาไทยที่เหมาะสมกับสถานภาพและความพร้อมของผู้เรียนแต่ละคน มีความเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทย
- ไม่เคยได้รับรางวัลการยกย่องเป็นครูภาษาไทยดีเด่น
.
หลักเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย 3 ด้าน
- ด้านการจัดการเรียนรู้
- ด้านผลงานวิชาการ ใ
.
- ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา จำนวน 2 รายการ
- ระดับอุดมศึกษา จำนวน 2 รายการ
.
ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน โดยการเสนอผลงานหรือเสนอชื่อ มี 2 วิธี คือ ครูหรืออาจารย์ประจำที่สอนภาษาไทยในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน สามารถเสนอผลงานด้วยตนเอง หรือ ได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลอื่น โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณบดี ผู้บริหารองค์กรหรือหน่วยงาน ลงนามรับรองแบบประวัติและผลงาน ผู้รับรองอาจเสนอชื่อผู้เข้ารับรางวัลได้มากกว่าหนึ่งคน ทั้งนี้ หากเสนอผลงานด้วยตนเองแล้ว ต้องไม่ให้บุคคอื่นเสนอผลงานซ้ำอีก โดยผู้เสนอผลงานหรือได้รับการเสนอชื่อ กรอกแบบรายงานประวัติและผลงานตามแบบที่คุรุสภากำหนด .
** ส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 **
.
วิธีการคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น ในจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพครูหรืออาจารย์ทุกสังกัด ในจังหวัด โดยแต่งตั้งกรรมการคัดเลือกฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ให้มีผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาภาษาไทย หรือผู้แทนจากทุกสังกัด ร่วมเป็นกรรมการคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น ตามคุณสมบัติที่กำหนดในประกาศฯ ให้ได้จังหวัดละ 3 คน แล้วประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อรับฟังคำคัดค้านภายใน 7 วัน และให้บันทึกข้อมูลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อลงในระบบ “ยกย่องวิชาชีพ งานรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น” (tepis2.ksp.or.th) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2566 และให้ส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกฯ ไปยังสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยไม่ต้องรอฟังคำคัดค้าน ทั้งนี้ ให้ส่งรายงานการประชุมสรุปผลการคัดเลือกฯ พร้อมทั้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในรูปแบบไฟล์ PDF ทางอีเมล Pichayut@ksp.or.th ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เพื่อดำเนินการคัดเลือกต่อไป
.
ในส่วนของการคัดเลือกครูผู้สอนดีเด่น ในกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาคัดเลือกแทนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จะประกาศผลภายในเดือนธันวาคม 2566 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพถือเป็นที่สุด และกำหนดมอบรางวัลในงานวันครู พ.ศ. 2567 หรือตามความเหมาะสม
.
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th และสอบถามได้ที่ สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ กลุ่มยกย่องวิชาชีพ โทร. 0 2281 4843
.
อ่านเพิ่มเติม : ประกาศการคัดเลือกรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น-ประจำปี2566
แหล่งทื่มา : คุรุสภา