อ่านเร็ว จำไว ต้องทำยังไง?

อ่านเร็ว จำไว  ต้องทำยังไง?
อ่านเร็ว จำไว ต้องทำยังไง?

ช่วงสอบแบบนี้ หลายคนคงกำลังมองห้ามวิธีการอ่านที่แสนจะประหยัดเวลาแต่สามารถจดจำได้เป็นอย่างดี มาดูกันสิว่าการอ่านให้ได้แบบนั้นต้องมีเคล็ดลับอะไรบ้าง

.

ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ
การอ่านหนังสือไม่จำเป็นต้องออกเสียงในใจ ใครที่อ่านหนังสือโดยมีคำก้องอยู่ในหัว แสดงว่ายังอ่านไม่เป็น ขณะนั้นสมองส่วนความเข้าใจ วิเคราะห์และจินตนาการจะไม่สามารถทำงานได้ เพราะถูกขัดขวางจากคำก้องที่เกิดขึ้น ขณะอ่านในใจไม่จำเป็นต้องอ่านคำทุกคำเหมือนกับการอ่านออกเสียง เช่น คำว่า ประ- ชา – ธิป – ปะ – ไตย สามารถอ่านรวมเป็นคำเดียว แล้วเข้าใจความหมายได้โดยที่ไม่ต้องสะกดทีละคำ
สมองของคนเรา พร้อมที่จะตีความหมายของคำออกมาโดยที่ไม่ต้องอ่านทั้งหมดอยู่แล้ว ลองดูจากประโยคนี้

“ ผลการศกึาษวจิยัจาก มวหายิทาลย เชยีงหใม่ ”

เราจะอ่านได้ทันทีเลยว่า “ ผลการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ ทั้งที่คำอ่านผิด นั่นก็เพราะสมองสามารถมองแบบองค์รวมได้โดยอัตโนมัติ
ในบทความต่างๆ หนังสือทุกเล่ม ประโยคทุกประโยค จะมีทั้งส่วนที่สำคัญและไม่สำคัญ พยายามหาส่วนสำคัญให้เจอและเน้นไปที่จุดนั้น ลองดูประโยคด้านล่างนี้

“การเลือกตั้งตามกระบวนการ
ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา
จบลงด้วย โอบามา ผู้ชิงตำแหน่งผิวสี
ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
แมคเคน พ่ายแพ้อย่างหมดรูป ”

คนที่อ่านเป็น จะรู้ทันทีว่าเนื้อของประโยคนี้อยู่ที่คำว่า โอบามาได้เป็นประธานาธิบดี และในประโยคนี้ ควรขีดเส้นใต้เฉพาะคำว่า โอบามา ไว้สำหรับอ่านในรอบที่สอง เพราะพอสะดุดกับคำว่า โอบามา ก็จะเข้าใจทันทีว่า มันคือการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
ในการอ่านบทความ คำวิเศษณ์ คำขยายนาม คำพรรณนา ไม่จำเป็นต้องใส่ใจ เช่นประโยคข้างบน ข้อความแรกๆทั้งหมดเป็นคำพรรณนา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ โอบามาได้เป็นประธานาธิบดีเท่านั้น ส่วนประโยคก่อนหน้าคำว่าโอบามา และประโยค “ผู้ชิงตำแหน่งผิวสี” “พ่ายแพ้อย่างหมดรูป” ก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน บทความหนึ่งๆจะมีคำพรรณนาอยู่มากกว่าครึ่ง เมื่อชำนาญในการอ่าน สายตาจะข้ามคำเหล่านี้ไปเอง

.

การอ่านจับใจความสำคัญ
เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย

เริ่มต้นด้วยการหา key concept
ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า
เราต้องการรู้อะไร
และจะอ่านส่วนไหนบ้าง

อ่านเจาะประเด็น
ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า

.

ต้องประเมินแหล่งข้อมูล 
ประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่นเป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร ฯลฯ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *