INSPIRE IDOL : อ.อิ๊ก ครูผู้มี “passion” ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง

INSPIRE IDOL : อ.อิ๊ก ครูผู้มี "passion" ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง
INSPIRE IDOL : อ.อิ๊ก ครูผู้มี “passion” ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง

‘อาจารย์อิ๊ก’ ณัฐวรินธร บวรภัควุฒิสิริ   ผู้หญิงเก่งที่ผ่านการทำงานมากมากมายในบทบาทที่หลายหลายไม่ว่าจะเป็นอาจารย์พิเศษโรงเรียนนายร้อยตำรวจสอนมา 10 กว่าปี อาจารย์พิเศษด้านการตลาดออนไลน์อีกหลายมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นหนึ่งในทีมโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และเป็นอนุกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

.

จุดเริ่มต้นของอาจารย์อิ๊กเติบโตมาในฐานะคนชั้นกลาง(เกือบล่าง)ของประเทศ อาจารย์อิ๊กเติบโตมาในครอบครัวฐานะปานกลาง แม้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครแต่ก็เกือบหลุดเข้าฝั่งปริมณฑล อาจารย์อิ๊กใช้ชีวิตมัธยมด้วยการไปยืนรอรถเมล์ที่ป้ายเก่าๆ โทรมๆ ทุกครั้งที่ฝนตก ผู้คนแถวนั้นก็ทำได้เพียงเบียดกันเข้ามาหลบฝนในป้ายเล็กๆ หรือแม้แต่เวลาที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง เก้าอี้ที่ป้ายรถเมล์ก็ไม่เคยเพียงพอผู้คนที่ต้องการใช้งานมัน ทำได้แค่รอรถเมล์ที่ใช้เวลานานแสนนานกว่าจะมาถึง แม้จะได้ขึ้นรถเมล์ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทาง นับครั้งได้ที่ขึ้นรถเมล์แล้วอาจารย์อิ๊กจะได้นั่งอย่างสบายใจ แต่การเดินทางของอาจารย์อิ๊กก็ไม่จบเพียงเท่านั้น หลังจากที่เดินทางมาถึงป้ายรถเมล์แล้ว เธอก็ยังต้องใช้เวลาเดินข้ามสะพานลอย ก่อนขึ้นมอเตอร์ไซด์ ตามด้วยเดินทางข้ามคลองถึงจะได้ถึงโรงเรียนของเธอจริงๆ

.

เพราะเหตุการณ์วนลูปในแต่ละวันเหล่านี้ ทำให้อาจารย์อิ๊กเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมระบบสาธารณูปโภคในไทยที่ไม่ดีกว่านี้ ทำไมประชาชนต้องใช้ชีวิตในแต่ละวันไปด้วยความยากลำบาก ที่น่ากลัวมากกว่านั้นคือความลำบากเหล่านี้กลับกลายเป็นความเคยชินของใครหลายๆคน

.

เมื่ออาจารย์อิ๊กเรียนจบมา ก็ยังถูกปลูกฝังในเรื่องของการเอ็นทรานซ์ การเอ็นทรานซ์ กลายเป็นความหวังเดียวของเหล่าผู้คนชนชั้นล่างไล่มาจนถึงชนชั้นกลาง เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยทำให้หลุดพ้นจากชีวิตเดิมๆ เพิ่มฐานเงินเดือนที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต แต่ถึงแบบนั้นไม่ใช่ว่าแค่ตั้งใจเรียนแล้วจะเพียงพอ การเรียนพิเศษ การเข้าโรงเรียนดีๆเพื่อหาความรู้มาสอบเอ็นทรานซ์ ก็เป็นเรื่องที่คนมีเงินเท่านั้นที่จะเข้าถึงได้ง่ายกว่า การเรียนแค่ในห้องเรียนกลับไม่เพียงพอ ใครไม่เรียนพิเศษก็ถูกมองว่าแปลกแยก เหล่าพ่อแม่ในยุคของอาจารย์อิ๊ก หรือแม้กระทั่งตอนนี้ ก็ต้องดิ้นรนหาเงินมาส่งเสียให้ลูกได้เรียนพิเศษ 

.

อาจารย์อิ๊กก็ยิ่งเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมระบบการศึกษาไทยถึงไม่เท่าเทียมกัน เธอและคนไทยอีกหลายๆคน กำลังเป็นเหยื่อของความเหลื่อมล้ำทั้งในแง่ของสาธารณูปโภค และในแง่ของการศึกษา ระบบการศึก ษาของไทยไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและตลาดแรงงาน ทำให้เมื่อเรียนจบมากลายเป็นว่าความรู้เหล่านั้นไม่สามารถใช้ได้จริง ผู้ที่เรียนกลับเป็นได้แค่หนึ่งในแรงงานมนุษย์ไม่สามารถหลุดออกจากกรอบความยากจน และฐานเงินเดือนขั้นต่ำดังเดิมได้

.

จุดนี้ที่ทำให้ อาจารย์อิ๊กเริ่มหันกลับมามองตัวเองว่า แล้วอะไรหล่ะ ที่ตัวเองอยากทำ? อาจารย์อิ๊กจึงได้คำตอบว่า เธออยากพัฒนาและแก้ไขปัญหาแบบที่เคยประสบมาก่อน อยากให้คนรุ่นหลัง หลุดออกจากการกรอบการใช้ชีวิตแบบที่เธอเคยเจอมา นั่นคือเป็นที่มาของ “passion” แรกที่ผลักดันทำให้เป็นมาเป็นครูเพื่อที่จะได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคคลหรือนักเรียนของเธอให้มีความรู้ความสามารถที่จะนำไปสู่ทักษะที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับตัวเองได้ โดยแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาที่เธอมีตอนนี้ คือปรับ เปลี่ยน เนื้อหาการศึกษา การใช้หลักสูตรเดียวกันทั้งประเทศอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง  หากเรามองในอีกมุมหนึ่ง แล้วลองปรับรูปแบบการศึกษาให้เหมาะกับในแต่ละท้องถิ่น สร้างคุณค่าจากสิ่งที่มีอยู่รอบตัวและหาได้ง่าย ปรับบทเรียนตามบริบทของแต่ละพื้นี่ เอามาใช้ได้จริง จะช่วยให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยไม่เลือกออกจากระบบการศึกษาเพื่อไปหาเลี้ยงตัวเองเลยอย่างเช่นปัจจุบัน เธอเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะปฏิรูปการศึกษาได้เป็นอย่างดี ละเกิดการเปลี่ยนแปลงให้แก่สำคัญได้อย่างแน่นอน

.

เธอเชื่อว่า การแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ควรเร่งแก้ไขมากที่สุดตอนนี้ และเป็นจุดที่มีผลมากที่สุด สิ่งที่ทำได้คือผลักดันทักษะของครูที่เป้นต้นแบบของเด็กในทุกที่ มากกว่ามุมของการศึกษาก็คือมุมคุณครู การผลักดันที่มากกว่าการเท่าเทียมคือการผลักดันคุณภาพเป็นสำคัญ

จากแรงผลักดันนี้เองที่นำมาสู่ “passion” ที่อยากจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศชาติ  อาจารย์อิ๊กจึงก้าวเข้ามาสู่วงการการเมือง ในฐานะว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขตดอนเมือง พรรครวมไทยสร้างชาติ  ซึ่งแน่นอนว่านอกจากความตั้งใจที่อยากเข้าไปรับใช้พี่น้องประชาชนในเขตดอนเมืองแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เธอจะสามารถทำได้แน่นอนถ้าได้เป็น ส.ส. ก็คือ การผลักดันนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาตามที่ตั้งใจไว้มาตลอดว่า “การศึกษาของประเทศนี้ต้องดีกว่านี้ได้”

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาต้องค่อย ๆ หมดไป ถึงแม้มันจะฝังรากลึกในประเทศไทยมานาน  เราต้องผลักดันการสร้างนโยบาย การสร้างกฎหมาย การใช้ข้อบังคับที่เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพที่สูงสุดเพื่อให้ประโยชน์มากที่สุดต่อระบบการศึกษาไทย 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *