Signal of Change – 15 สัญญาณเปลี่ยนอนาคตการศึกษา

Signal of Change - 15 สัญญาณเปลี่ยนอนาคตการศึกษา
Signal of Change – 15 สัญญาณเปลี่ยนอนาคตการศึกษา

ในยุดที่การศึกษากำลังเปลี่ยนผ่านอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสัญญาณที่กำลังบอกเราว่า การศึกษากำลังไปในทิศทางที่เราอาจไม่คุ้นชินอีกต่อไป อาจจะมีระบบการศึกษาที่ไม่จำเป็นต้องมีคุณครู? หรือเป็นระบบการศึกษาที่ปริญญาบัตรอาจไม่ช่วยการีนตีอะไรได้เลย? วันนี้ Eduzones จะพาทุกคนไปชม 15 สัญญาณเปลี่ยนอนาคตการศึกษา เหตุการณ์และแนวโน้มทางการศึกษาที่ค่อย ๆ ก่อตัวและอาจเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจะที่ส่งผลต่ออนาคตการศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้า

.

** ข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมไว้ในรายงานเรื่อง “อนาคตของการเรียนรู้” (Future of Learning) จัดทำโดยสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)**

.

  1. Credit Bank for Life-Long Learning

    ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ที่เปิดอิสระให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนสามารถภ่ายโอนความรู้ได้อย่างไม่มีขอบเขต ช่วยกระตุ้นการพัฒนาทักษะรอบด้าน เป็นการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

  2. Weakening Value of Degrees

    การให้คุณค่าต่อปริญญาบัตร วุฒิการศึกษา และชื่อเสียงของสถาบันต่างๆ จะลดลงในการเลือกบุคลากรเข้าทํางาน สังคมจะให้คุณค่าต่อทักษะที่เหมาะสมต่องานและความสามารถที่แท้จริงของบุคคลมากขึ้น

  3. Specialism Vs. Multipotentiality

    การรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่และการใช้แอปพลิเคชันอัจฉริยะ ที่จะทำให้ความสำคัญของผู้เชี่ยวชาญลดน้อยลง คนที่มีความสามารถหลากหลายจะที่ต้องการมากวว่าผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง

  4. School as a Mega Corporation

    วงการการศึกษาจะกลายเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุด เทคโนโลยีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพจะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าการศึกษาให้มีความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากขึ้น บริษัทเทคโนโลยีด้านการศึกษาจะทรงอิทธิพลและเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดการศึกษาทั่วโลก

  5. Echo Chamber

    การได้รับข้อมูลที่ถูกกรองจากความสนใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ ผ่านอัลกอริทึมที่ใช้ในโซเชียลมีเดียและเครื่องมือค้นหาข้อมูล ทําให้ผู้คนได้รับข้อมูลซํ้าเดิมที่ขึ้นกับความสนใจของตนเป็นส่วนใหญ่ ขาดความหลากหลายของข้อมูล ส่งผลให้ผู้คนไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับข้อมูลในด้านอื่น เกิดการเรียนรู้ในมุมมองที่จำกัด

  6. Teacher as a “Meddler in the Middle”

    ครูทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) ส่งเสริมให้ผู้เรียนขยายขอบเขตของการเรียนรู้ โดยผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจ และเรียนรู้ไปพร้อมกับครู ครูจะมีเวลาในการอํานวยความสะดวกการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นจาก 4 ชั่วโมง ใน พ.ศ. 2549 เป็น 14 ชั่วโมงใน พ.ศ. 2573 ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนเป็นปัจจัยสําคัญที่จะสร้างความร่วมมือดังกล่าว

  7. AI-Based Teaching & Tutoring

    ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้สอน ช่วยทําการวิเคราะห์และวางแผนให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตรงกับความสามารถและความสนใจของตนเองมากขึ้น แบ่งเบาภาระในการสอน และเพิ่มประสิทธิภาพ ของการสอนให้ดีและแม่นยํามากยิ่งขึ้น

  8. The World as Our Classroom

    การเรียนรู้ไม่ได้เกิดข้ึนเพียงแค่ในห้องเรียนหรือพื้นที่จํากัดอีกต่อไป กระบวนทัศน์ต่อการศึกษาของผู้คนในสังคมมุ่งไปสู่การเรียนรู้นอกสถานท่ี ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ณ สถานที่จริง หรือโลกออน์ไลน์ได้ เปรียบเสมือนโลกใบนี้เป็นห้องเรียน ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงมากกว่าการท่องจําเนื้อหา และไม่ได้ยึดติดกับสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว

  9. Integration of Tele-education and Virtual Schools

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษา ส่งผลให้การศึกษาสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านรูปแบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) และโรงเรียนเสมือน (Virtual School) ท่ีผู้เรียนกับผู้สอนไม่จําเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่ก็สามารถเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ได้ ส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นมากข้ึนในแง่ของสถานที่และเวลา

  10. Edutainment

    รูปแบบของการเรียนรู้ท่ีมีเนื้อหาสนุกสนาน สร้างความบันเทิงและความสุข ให้กับผู้เรียนมากขึ้น ผ่านสื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยี และวิธีการสอน ในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้ผู้เรียนจดจําและเข้าใจเนื้อหาต่างๆ ได้ดีมากข้ึน เพิ่มความกระตือรือร้นและความสนใจต่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

  11. Immersive Education (AR/VR)

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือน VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) เข้ากับการเรียนรู้ เช่น การเรียนศิลปะ การแพทย์ การศึกษา เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้ ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลาย สนุกสนาน และเข้าใจเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น

  12. Just-in-Time Knowledge and Learning

    การเรียนรู้แบบทันเวลาเป็นแนวทางในการเรียนรู้ระดับบุคคลหรือระดับองค์กรที่ส่งเสริมการฝึกอบรม การสนับสนุนความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ให้พร้อมในทุกเวลาที่ผู้เรียนต้องการ ทําให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้ได้ทันที ช่วยเร่งความเร็วของกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการทํางานให้มากข้ึน และลดปัญหาการเรียนรู้ที่ไม่ได้นํามาใช้จริง

  13. Cognitive Enhancement

    การเพิ่มความสามารถของสมองผ่านการกระตุ้นด้วยสารจากธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ โดยออกฤทธิ์เพิ่มการทํางานของสมองในแง่ของการเรียนรู้ ความจํา สมาธิ สติปัญญา การใช้เหตุผล และความคิดสรางสรรค์ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น

  14. Focus on Learning How to Learn

    ข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าในอนาคตด้วยมิติของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้เรียนจําเป็นต้องตื่นตัวและใส่ใจเรียนรู้ทักษะและวิธีเรียนรู้ (Learn) ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่จําเป็นเกิดประโยชน์และเกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเรียนรู้สิ่งที่เคยเรียนมาด้วยมุมมองใหม่ (Relearn) และการละทิ้งสิ่งที่เคยเรียนมา (Unlearn)

  15. Learning to be Human

    การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง (Self-development) ทักษะมนุษย์ (Soft Skills) ทักษะสังคม (Social Skills) เข้าถึงการเป็นมนุษย์และเกิดการค้นพบตนเอง (Self-actualization) มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักตนเองทั้งทางด้านสติปัญญา ทักษะ และอารมณ์ความรู้สึก กล้าที่จะตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตของตน นอกจากนี้การปลูกฝังเรื่องศีลธรรมจริยธรรมเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุขถือเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในโลกที่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

.

แหล่งที่มา : คลิก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *