จากเด็กออทิสติก สู่ศาสตราจารย์ผิวดำอายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ – เจสัน อาร์เดย์

จากเด็กออทิสติก สู่ศาสตราจารย์ผิวดำอายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ - เจสัน อาร์เดย์
จากเด็กออทิสติก สู่ศาสตราจารย์ผิวดำอายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ – เจสัน อาร์เดย์

จากเด็กออทิสติก สู่ศาสตราจารย์ผิวดำอายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เจสัน อาร์เดย์

.

Prof Jason Arday
PROF JASON ARDAY

เจสัน อาร์เดย์ จากเด็กหนุ่ยผู้มีภาวะออทิซึม และมีพัฒนาการล่าช้าในทุกด้าน ไม่สามารถพูดได้จนกระทั่งอายุ 11 ปี และอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้จนถึงอายุ 18 ปี ก้าวเข้าสู่บุคคลผิวดำอายุน้อยที่สุดที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในวัย 37 ปี 

.

เจสัน เป็นเด็กที่มักมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวรอบตัวอยู่เสมอ

“ทำไมบางคนถึงเป็นคนไร้บ้าน” เขายังจำเรื่องที่ตัวเองเฝ้าสงสัยในวัยเด็กได้ “ทำไมถึงมีสงคราม”

เจสัน ซึ่งปัจจุบันเป็นนักสังคมวิทยา เกิดและเติบโตในย่านแคลปแฮม ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน เขาเล่าถึงช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ตราตรึงใจในวัยเด็ก เช่น การได้ดูข่าวนายเนลสัน แมนเดลา ถูกปล่อยตัวออกจากคุก และการที่แอฟริกาใต้คว้าแชมป์ในศึกรักบี้ชิงแชมป์โลกเมื่อปี 1995

South Africa's president Nelson Mandela congratulates South Africa's rugby team captain François Pienaar before handing him the William Webb trophy after his team's victory over New Zealand (15-12) in the final of the Rugby World Cup at Ellis Park in Johannesburg 24 June 1995
GETTY IMAGES

เขาจำได้ถึงความรู้สึกสะเทือนใจที่ได้เห็นความทุกข์ยากของผู้อื่น และเกิดความรู้สึกอย่างแรงกล้าในการทำบางอย่างเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้

“ผมเคยคิดว่าถ้าตัวเองไม่ได้เป็นนักฟุตบอลหรือนักสนุกเกอร์อาชีพ ผมก็จะช่วยโลก” เจสันเล่า

แม่คือบุคคลสำคัญที่ช่วยให้เขามีความมั่นใจในตัวเองและมีทักษะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

แม่แนะนำให้เขารู้จักดนตรีประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่ามันจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาของเขา อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาสนใจในวัฒนธรรมสมัยนิยม ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญในงานวิจัยบางชิ้นของเขาในเวลาต่อมา

การสนับสนุนจากแม่ รวมทั้งซานโดร ซานดรี ผู้เป็นทั้งเพื่อนและอาจารย์ที่ปรึกษา ก็ทำให้เจสันเริ่มอ่านหนังสือออกช่วงวัยรุ่นตอนปลาย

จากนั้นเขาก็มุ่งมั่นด้านการเรียนจนคว้าปริญญาตรีด้านพลศึกษาและศึกษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ก่อนจะได้ฝึกเป็นครูสอนวิชาพลศึกษาที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง

เจสันเล่าว่า การโตมาในสังคมผู้ด้อยโอกาส และได้ทำงานเป็นครูทำให้เขาเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความไม่เสมอภาคที่ฝังรากในสังคม ซึ่งเยาวชนคนหนุ่มสาวจากชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติต่าง ๆ ต้องเผชิญในการศึกษา

Prof Jason Arday

ตอนอายุ 22 ปี เจสันสนใจศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี เขาจึงหารือเรื่องนี้กับที่ปรึกษา

“ซานโดรบอกผมว่า ‘ฉันคิดว่าเธอทำได้ ฉันคิดว่าเธอจะฝ่าฟันไปได้ และจะชนะ'” เจสันเล่า

“พอมองย้อนไป ผมคิดว่านั่นคือครั้งแรกที่ผมเชื่อมั่นในตัวเองจริง ๆ นักวิชาการหลายคนบอกว่าพวกเขาต้องสะดุดกับการทำงานประจำเพื่อหารายได้ ทว่าตั้งแต่นาทีนั้น ผมรู้สึกมุ่งมั่นและตั้งใจ ผมรู้ว่านี่คือเป้าหมายของผม”

การเรียนต่อเพื่อทำงานด้านวิชาการไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับเจสันที่มีทักษะภาคปฏิบัติและได้รับคำแนะนำเพียงน้อยนิด ส่งผลให้เขาต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ

ตอนกลางวันเจสันจะทำงานเป็นครูพลศึกษา และจะใช้เวลาตอนกลางคืนศึกษาด้านสังคมวิทยาและหัดเขียนบทความวิชาการ

“ตอนที่ผมเริ่มเขียนบทความวิชาการ ผมไม่มีความรู้ในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ” เขาเล่า

“ผมไม่มีที่ปรึกษา และไม่มีใครสอนเรื่องการเขียนให้ผม”

“ทุกอย่างที่ผมส่งไป ถูกปฏิเสธอย่างรุนแรง”

“กระบวนการพิชญพิจารณ์ก็โหดมาก แทบจะเป็นเรื่องตลก แต่ผมมองว่ามันคือประสบการณ์การเรียนรู้ และเริ่มชอบมัน”

Jason Arday
PROF JASON ARDAY

ความพยายามของเจสันไม่เสียเปล่า เพราะทำให้เขาคว้าปริญญาโท 2 ใบ รวมทั้งปริญญาเอกด้านศึกษาศาสตร์

เมื่อถามว่าเขารู้สึกว่าตัวเองคือนักสังคมวิทยาเมื่อใด เจสันตอบว่าน่าจะเป็นช่วงปี 2015

“เมื่อมองย้อนไป นี่คือวิถีทางของผม” เขาบอก

งานในฐานะนักวิชาการของเจสันก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2018 เขาได้ตีพิมพ์บทความวิชาการชิ้นแรก และได้ขึ้นเป็นผู้บรรยายอาวุโสของมหาวิทยาลัยโรแฮมตัน ในกรุงลอนดอน จากนั้นก็ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยเดอรัม และได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยา

ในปี 2021 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาการศึกษาที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ทำให้ในตอนนั้นเขากลายเป็นศาสตราจารย์อายุน้อยที่สุดในสหราชอาณาจักร

ล่าสุดเจสันได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นับเป็นศาสตราจารย์ผิวดำอายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยอันเลื่องชื่อนี้

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติการศึกษาอุดมศึกษาระบุว่า ในปี 2021 มีอาจารย์ผิวดำสอนในมหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักรเพียง 155 คน จากทั้งหมดกว่า 23,000 คน

Department of Education
 

เจสันกำลังจะเข้ารับตำแหน่งใหม่นี้ในวันที่ 6 มี.ค. และเขามีความสนใจเป็นพิเศษในการเพิ่มจำนวนชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติต่าง ๆ ในแวดวงการศึกษาระดับอุดมศึกษา

“งานของผมมุ่งเน้นว่าเราจะเปิดประตูรับผู้ด้อยโอกาสให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร และทำให้แวดวงอุดมศึกษามีความเสมอภาคอย่างแท้จริง” เขาบอก

“หวังว่าการเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จะช่วยให้ผมผลักดันเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระระดับชาติ และระดับโลก”

“ถ้าเราอยากทำให้การศึกษาครอบคลุมคนทุกกลุ่ม เครื่องมือที่ดีที่สุดที่เรามีคือ ความสามัคคี ความเข้าใจ และความรัก”

.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : BBC

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *