T-Score คืออะไร ? มาจากไหน ? และมีประโยชน์อย่างไร ?

น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัยกันว่า T-Score คืออะไร? คิดยังไง คะแนนนี้สามารถไปทำอะไรต่อได้บ้าง บทความนี้เลยจะมาไขข้อสงสัยให้กับน้องๆ กัน ว่า T-Score มันคืออะไรกันแน่ และน้องจะสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง

 

T-Score คืออะไร?

  • T-Score คือ ค่าทางสถิติ Ranking ที่ใช้คิดผลคะแนน TGAT/TPAT เพื่อนำไปใช้ในการประเมิน Ranking
  • ปกติในระดับชั้นเรียนประถมถึงมัธยมเราจะคุ้นชินกับการให้เกรดต่างๆ ผ่านเกณฑ์คะแนน (เช่น ถ้าได้คะแนนเกิน 80 คะแนน ก็จะได้เกรด 4 เป็นต้น) แต่ในการสอบแข่งขันต่างๆ การประเมินผลโดยเกณฑ์คะแนนนั้นอาจจะไม่เหมาะสม จึงมีแนวคิดการประเมินผลโดยใช้การทำ Ranking โดยเดิมหลักการในการประเมินผลคือ Z -Score โดยมีสมการดังนี้

 

 

แต่อย่างไรก็ตาม Z-Score จะมีซับซ้อนในการทำความเข้าใจ เพราะอาจจะมีค่า + 0 ดังนั้นจึงมีการสร้างค่าที่เรียกว่า T-Score  (คะแนนมาตรฐาน) และเทียบข้อมูลกับการแจกจงคะแนนแบบโค้งปกติ ซึ่งคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้

 

 

ซึ่งคะแนน T-Score มีไว้ใช้คิดผลคะแนน TGAT/TPAT เพื่อนำไปใช้ในการประเมิน Ranking โดยจะใช้สูตรคำนวณนี้

 

 

โดยค่า μ และค่า SD ของปี 2566 น้องๆ สามารถเข้าไปเช็คกันได้ที่ประกาศในเว็บไซต์ของ mytcas  กันได้เลย หรือกดที่ลิงค์นี้

แต่ถ้าใครยังไม่เข้าใจ กลัวคำนวณคะแนนไม่ถูก พี่ตั๋วได้ทำตัวช่วยคำนวณคะแนน T-Score ของวิศวะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ด้วยนะครับ

T-Score ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

ถ้าน้องคำนวณ T-Score ของตัวเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสามารถนำมาเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่อยากจะเข้าคณะเดียวกันกับเราได้ ว่าเราอยู่เหนือเขาเท่าไร กี่เปอร์เซนต์บ้าง เรียกได้ว่า เราสามารถคาดการณ์การติดมหาวิทยาลัยของเราได้ล่วงหน้า

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากจะเข้าคณะที่มีเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือก สูตรการคิดคะแนน แล้วคิดว่าการเปรียบเทียบกับคะแนนขั้นต่ำของปีที่แล้วไม่ได้ ก็ลองมาใช้คำนวณคะแนน T-Score กันก่อนเลือกอันดับได้น้า จะได้รู้ว่าเราควรจะวางมหาวิทยาลัยไหน ไว้อันดับที่เท่าไร ที่จะสามารถทำให้เราปลอดภัยได้

 

สูตรคำนวณค่า T-Score สำหรับ TCAS

 

 

สามารถไปดูวิดีโอและรายอะเอียดจากคุณ ณัฐพล ทิพธัญญาธร(พี่ตั๋ว)  เพิ่มที่นี่ได้นะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ physicsblueprint

T-Score คืออะไร? คิดคะแนนยังไง?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *