สสวท. เผย เทคนิค Active Learning เนื้อหาจาก Online Seminar

สสวท. เผย เทคนิค Active Learning เนื้อหาจาก Online Seminar
สสวท. เผย เทคนิค Active Learning เนื้อหาจาก Online Seminar

วิทยากร : Mr.Glen D. Westbroek ; Award-winning Science Teacher, Orem Junior High School, Utah, USA

  • Milken Family Foundation Recipient
  • Presidential Award for Excellence in Math and Science Education
  • Utah Governor’s Medal for Science and Technology
  • UtSTA D. Peterson Lifetime Achievement Award

ตอนที่ 1/3

เทคนิคที่ใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning (สรุปเนื้อหาจาก Online Seminar เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 หัวข้อ Active Learning : From Principles to Practice)

Mr.Glen Westbroek ได้นำเสนอรูปแบบหรือเทคนิคที่วิทยากรได้ใช้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้แบบ Active learning ได้แก่

1. การกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของผู้เรียน

2. การแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน (Pair and Share) หรือการเรียนรู้แบบคู่คิด Think-pair-share เทคนิคเพื่อนคู่คิด

3. การใช้การอภิปรายกลุ่ม (Group discussion)

4. การให้ตัวเลือก (Choice example)

5. รูปแบบอื่น ๆ

ตอนที่ 2/3

ประสบการณ์การจัด Active Learning เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้เชิงรุกในห้องเรียนจริง ซึ่งวิทยากรได้เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนดังนี้

บทบาทของครูในช่วงการเริ่มต้นชั้นเรียน : วิทยากรเริ่มต้นจากการกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้รูปถ่าย วีดิทัศน์ ที่พบทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน หรือเป็นภาพหรือวีดิทัศน์ที่ไม่เคยพบเห็น หรือ ต้องคิดเพิ่มเติมต่อ หรือชวนให้สงสัย ตัวอย่างคำถามที่วิทยากรใช้ ระหว่างให้นักเรียนดูรูปภาพแล้วตอบคำถามภายในเวลาที่กำหนด  เช่น

  • What are you observing?  นักเรียนกำลังดูรูปภาพของอะไร
  • What are you noticing? นักเรียนได้ข้อสังเกตอะไรบ้าง
  • What did you wonder? นักเรียนรู้สึกประหลาดใจกับอะไร
  • What is it that you want to know more about based on that picture? หลังจากดูภาพแล้วนักเรียนอยากรู้อะไรอีกบ้างแต่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เห็นในภาพ

นอกจากการตอบคำถามแล้ว วิทยากรแนะนำว่าครูสามารถใช้การจับคู่ (Pair and share) กับเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพภายในเวลาที่กำหนด หลังจากที่นักเรียนสนใจสงสัยใคร่รู้แล้วนอกจากการตอบคำถามนักเรียนของวิทยากรแล้ว วิทยากรยังได้เพิ่มเติมว่า หลังจากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคู่ของตนเองแล้วทั้งห้องเรียนจะพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ การใช้การอภิปรายกลุ่ม (Group discussion) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่วิทยากรนำมาใช้ โดยวิทยากรใช้โอกาสที่นักเรียนกำลังสนใจให้นักเรียนนำเสนอ โดยนักเรียนจะเริ่มต้นโดยใช้คำพูดว่า

I notice…………… ฉันพบว่า

I wonder ………….. ฉันสงสัยว่า

ในระหว่างการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นักเรียนอาจเลือกใช้คำศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง แนวความคิดไม่ตรงกับคำตอบแต่ในช่วงนี้วิทยากรให้คำแนะนำว่า ยังไม่ควรแก้ไขคำศัพท์หรือข้อความทันที เพื่อให้นักเรียนรู้สึกสบายใจ กล้าแสดงออกและมั่นใจกับสิ่งที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นต่อไป ในบางครั้งคำตอบของนักเรียนก็ทำให้วิทยากรประหลาดใจและไม่เคยคิดมาก่อน

บทบาทของครูระหว่างการทำกิจกรรม : สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นเป็นสิ่งที่วิทยากรพยายามมากที่สุด คือเมื่อนักเรียนถามวิทยากรว่าคำตอบคืออะไร วิทยากรจะตอบกลับทันทีว่า “ครูไม่ทราบ และนักเรียนล่ะทราบไหม” นักเรียนจะยิ่งสงสัยและพยายามที่จะหาคำตอบเหล่านั้น แต่ก็มีบ้างที่วิทยากรต้องช่วยแนะนำการหาคำตอบให้นักเรียนแต่ไม่ได้บอกคำตอบ การให้ตัวเลือก (Choice example) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่วิทยากรนำมาใช้ในห้องเรียน คือการให้ตัวเลือกให้นักเรียนได้ตัดสินใจ เพราะเมื่อนักเรียนได้เลือกเอง เป็นหน้าที่ของตนเองที่จะหาคำตอบ ทำให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ไม่ใช่ผู้ฟังอย่างเดียว นอกจากนี้ในระหว่างการทำกิจกรรมวิทยากรจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อที่จะให้นักเรียนได้สังเกตอย่างละเอียดละออและเกิดกระบวนคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตัวอย่างคำถามเช่น

  • What did you observe? นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
  • Why do you think that happened? นักเรียนคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • What do you think happened that you could not see? นอกจากสิ่งที่นักเรียนเห็นนั้นมีอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง
  • What could you do next? นักเรียนจะทำอะไรต่อไปอีก
  • Why do you think that? ทำไมนักเรียนถึงคิดแบบนั้น

ไม่เพียงแต่การใช้คำถามแต่วิทยากรจะพานักเรียนใช้ข้อมูลหลักฐานที่ได้จากการทดลองมาอธิบายเหตุผล ความสัมพันธ์ เพื่อหาความสอดคล้องกับคำกล่าวอ้างและข้อสันนิษฐานได้อย่างไร

หลังทำกิจกรรม : วิทยากรจะใช้คำถาม เช่นWhat do you still wonder? นักเรียนยังมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มอีก

บทบาทของครูในช่วงสรุปผลการทำกิจกรรม : วิทยากรได้แนะนำให้นักเรียนเริ่มต้นโดยใช้ประโยคเช่น ฉันเห็นด้วย เพราะ…….. I agree with you because…………..หรือ ไม่เห็นด้วย เพราะ ………….I disagree with you because ……………….

หลังจากนักเรียนนำเสนอแล้ววิทยากรอาจจะใช้คำถามเพิ่มเติม เช่น

  • Can you clarify ……………….. นักเรียนช่วยอธิบายเรื่อง…….ให้กระจ่างขึ้นได้ไหม
  • Can you explain …………..….. นักเรียนช่วยอธิบายเรื่อง……….ได้ไหม
  • Did you consider ……………. นักเรียนได้ใช้เรื่อง………..มาพิจารณาด้วยหรือไม่
  • Could you also include ……… นักเรียนช่วยนำ…………… เข้าไปได้รวมด้วยได้หรือไม่ หากรวมแล้วจะเป็นอย่างไร

แต่หากนักเรียนตอบไม่ได้ วิทยากรจะกระตุ้นนักเรียนใช้ข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาอธิบาย และหากการทดลองที่นักเรียนทำผิดพลาด ล้มเหลวจนไม่สามารถหาคำตอบได้ วิทยากรจะสอบถามนักเรียนเรื่องสาเหตุที่ทำให้การทดลองล้มเหลว หากมีเวลาจะแก้ไขจะแก้ไขอย่างไรแทนการต่อว่าที่นักเรียนไม่สามารถหาคำตอบได้

สิ่งสุดท้ายที่วิทยากรทำในช่วงจบกิจกรรมคือ การตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน โดยวิทยากรใช้ กฎ 5 นิ้ว คือการใช้จำนวนนิ้วบอกความระดับความเข้าใจของนักเรียน หรือ การอธิบายโดยใช้คำ 10 คำ

วิธีการอื่น ๆ ที่วิทยากรนำมาใช้ในห้องเรียน เช่น

  • การใช้วีดิทัศน์ โดยวิทยากรใช้ภาพ ที่ตัดมาจากวีดิโอ มาให้นักเรียนลองคาดการณ์จากสิ่งที่เห็น จากนั้นวิทยากรให้นักเรียนดูวีดิทัศน์ โดยไม่เปิดเสียงอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเปรียบเทียบสิ่งที่คาดการณ์กับสิ่งที่เห็น
  • การใช้คลิปเสียง โดยวิทยากรการเปิดเสียงให้นักเรียนฟัง แล้วคาดการณ์สิ่งที่ทำให้เกิดเสียง
  • การใช้จังหวะและการเคลื่อนไหว  โดยวิทยากรให้โจทย์คำถามกับนักเรียน จากนั้นให้ช่นบรือคิดจากหลักางคำถาม เช่น
  • ้น่า ยังไม่ควรแก้ไขคำนักเรียนที่ตอบแบบที่ 1 ให้เดินมาอยู่ฝั่งซ้าย หากตอบข้อที่ 2 ให้อยู่ฝั่งตรงข้าม จากนั้นให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแสดงความคิดเห็นโดยใช้หลักฐาน ข้อมูล และหากเจอหลักฐานสนับสนุนบางครั้งที่ไม่ตรงกับคำตอบของตนก็สามารถเปลี่ยนคำตอบโดยย้ายตำแหน่งได้
  • Provide different perspective การใช้มุมมอง/ แนวคิด/ ทัศนคติที่แตกต่าง ในการกระตุ้นความสนใจของนักเรียน

.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คลิก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *