อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ สวนสุนันทา แนะ 4 ข้อควรทำ ป้องกันอันตรายจากฮีทสโตรก

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แนะ 4 เรื่องสำคัญควรทำสำหรับประชาชนคนไทยที่กำลังเผชิญกับสภาพภูมิอากาศเป็นพิษ และอุณหภูมิสูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

อาจารย์ ดร.กนิษฐ์ โง้วศิริ กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แนะนำว่า โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดพบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน มีอาการรุนแรงถึงขั้นทำให้เราเสียชีวิตลงได้ การป้องกันตนเองสามารถทำได้ง่าย ๆ เลยดังนี้

1 หลักเลี่ยงสถานที่แออัด หรือร้อนจัด ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ต้องมีอุปกรณ์ในการป้องกัน อย่างเช่น หมวก หรือร่มกันแดด

2 การออกกำลังกาย ถ้าต้องการออกกำลังกายจริง ๆ แล้ว ควรเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งหรือช่วงที่ยังมีแดดอยู่ ควรเลือกออกกำลังกายในโรงยิมหรือในที่ร่มจะดีกว่า

3 ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร วิธีดูยังไงว่าดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่นั้น จะต้องสังเกตจากปัสสาวะของตัวเรา ถ้าปัสสาวะสีเข้มแสดงว่าเราดื่มน้ำไม่พอ

4 สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย เท่านี้เราก็จะปลอดภัยจากฮีทสโตรก

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากสาเหตุใด
เกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงและได้รับความร้อนมากเกินไปทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หากพบเจอผู้เป็นโรคฮีทสโตรกสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น โดยนำเข้าในที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อน เมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ตามซอกลำตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ เพื่อระบาย ความร้อนร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน ราดน้ำเย็นลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลง ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

.

ข้อมูล : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *