เยาวชนรวมพลังสร้างชุมชนปลอดไข้เลือดออกผ่านโครงการ “Dengue-zero School Project โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก”

ไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขของไทยที่พบว่ามีการระบาดทุกปี ซึ่งโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถแพร่เชื้อได้เมื่อยุงกัดคนที่มีเชื้อแล้วไปกัดคนอื่นต่อ อีกทั้งยังแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน พื้นที่เสี่ยงสูงมักพบได้ในเขตเมืองใหญ่ที่มีความหนาแน่นของบ้านเรือนและประชากร เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนมากถึง 1,600 ราย จากจำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศกว่า 7,600 ราย และตลอด 15 ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยมากถึง 1.2 ล้านราย นับว่าโรคนี้เป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจของประเทศ 

กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย และสำนักการศึกษา ภายใต้สังกัดกรุงเทพมหานครได้ผนึกกำลังกับภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวโครงการ Dengue-zero School Project โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก” เพื่อสนับสนุนการสร้างการตระหนักรู้ในเรื่องของโรคไข้เลือดออกให้กับน้องๆ นักเรียน และคุณครูจาก 10 โรงเรียนนำร่อง ในพื้นที่เสี่ยงของกรุงเทพมหานคร ซึ่งโครงการนี้มีนักเรียนจำนวนกว่า 7,900 คน เข้าร่วมเพื่อเรียนรู้และรู้จักวิธีป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ น้องๆ นักเรียนและคุณครูได้เรียนรู้และรู้จักวิธีป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับที่บ้านและชุมชนของตนเอง อีกทั้งต่อยอดสู่การนำเสนอโครงการเข้าประกวด “สุดยอดโรงเรียนปลอดไข้เลือดออก” ที่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดค่าร้อยละของภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลายได้ต่ำที่สุด โดยจะได้รับถ้วยเกียรติยศ ประกาศนียบัตร และทุนการศึกษาสูงสุดมูลค่า 30,000 บาท 

นพ. สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เผยว่า “จากจำนวนผู้ติดเชื้อไข้เลือดออก สถิติอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่มากที่สุดอยู่ที่ 5-14 ปี เท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการให้ทั้งโรงเรียน สถานพยาบาล และชุมชนต่าง ๆ เฝ้าระวังพร้อมมาตรการจัดการลูกน้ำยุงลายที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของโรค เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้ และลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อาจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น การให้ความสำคัญด้วยการสร้างความตระหนักรู้ให้กับน้อง ๆ นักเรียน เพื่อให้พวกเขานำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อกับเพื่อน ๆ และครอบครัว รวมถึงการนำไปใช้กับชุมชนของพวกเขา ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเริ่มดำเนินการโดยทันที อีกทั้งการผสานความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออกให้แก่โรงเรียนและชุมชนถือเป็นแนวทางสำคัญเพื่บรรลุเป้าประสงค์ในการสร้างชุมชนปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน 

กิจกรรมที่จัดขึ้น ณ วันเปิดโครงการ “Dengue-zero School Projectโรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก” อัดแน่นเวิร์คช็อปตั้งแต่สาเหตุของโรค พาหะนำโรค รวมไปถึงการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก และการควบคุมปริมาณและกำจัดพาหะนำโรคในพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งมีการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ โดยกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งเป็นฐานความรู้ทั้งหมด ฐาน ได้แก่ 1. วงจรชีวิตของยุง ไข่ ลูกน้ำ และตัวโม่งของยุงชนิดต่าง ๆ 2. การจำแนกยุงตัวโตเต็มวัยแต่ละชนิด 3. การควบคุมโรคที่เกิดจากยุงที่เป็นพาหะด้วยวิธีการต่าง ๆ 4. การจำลองสภาวะที่ดึงดูดยุง และ 5. การป้องกันยุงกัด (การทาสารกันยุงการทาสารปรับปรุงพื้นผิวสัมผัส) 

ด.ญ.ทัชสิวรรณ คุ้มไข่น้ำ หรือกระปุก อายุ 13 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนชุมชนบ้านพัฒนา กล่าวถึงความประทับใจในการเข้าร่วมกิจกรรม Dengue-zero School Project โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออกในครั้งนี้ว่า ก่อนจะมาเข้าร่วมโครงการนี้ ยังไม่มีความรู้ในการป้องกัน และควบคุมปริมาณยุงลายสักเท่าไหร่ และคิดว่าโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก ๆ ไม่น่าจะติดกันได้ง่าย แต่หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็ได้รู้ว่า จริง ๆ แล้วโรคไข้เลือดออกใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่คิดมาก มันอยู่รอบตัวเรามาโดยตลอด จากในกิจกรรมได้รับความรู้มากมาย ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ ๆ ที่เรียนรู้นอกห้องเรียน และหลังจากจบกิจกรรมในวันนี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้จัดบอร์ดที่โรงเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เพื่อน ๆ ที่ยังไม่มีความรู้ ให้ได้รู้จักโรคไข้เลือดออกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการป้องกันที่ถูกวิธีค่

 

ด.ช.มนัสพร แสนสุข หรือเทพ อายุ 14 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนวัดราชสิงขร กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม “หลังจากที่คุณครูที่โรงเรียนประกาศรับสมัครนักเรียนมาเข้าร่วมโครงการผมก็ไม่รอช้าที่จะตอบรับการเข้าร่วมโดยทันที เพราะไม่ได้มีความรู้มากนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แต่อยากนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัว มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคนี้ด้วย ซึ่งต้องขอบคุณ พี่ ๆ วิทยากรทุกท่านที่ให้ความรู้ได้เป็นอย่างดีในทุก ๆ ฐานกิจกรรม โดยหลังจากนี้จะนำความรู้ที่ได้ไปส่งต่อให้กับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน และครอบครัว เพื่อให้ทุกคนปลอดภัยและห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกครับ”  

 

..วรรณภา ธรรมศรี หรือตาต้า อายุ 13 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนวัดปทุมวนาราม กล่าวถึงกิจกรรมที่ตนชื่นชอบที่สุด หลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในฐานความรู้ที่ ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของยุง ไข่ ลูกน้ำ และตัวโม่งของยุงชนิดต่าง ๆ รู้สึกชื่นชอบเป็นพิเศษ เนื่องจากได้เห็นลูกน้ำ และยุงที่มีชีวิตในหลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงยุงบางชนิดที่ไม่มีโอกาสได้เห็นในชีวิตจริงมาก่อนจึงค่อนข้างตื่นเต้น และประทับใจมาก พี่ ๆ วิทยากรให้ความรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจและสนุกสนาน สร้างแรงบันใจในการคิดโครงการนำเสนอได้อีกด้วยค่ะ 

โครงการ “Dengue-zero School Project โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก” ยังมีแผนที่จะเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการป้องกัน โดยการนำแนวคิดและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ และคุณครูที่ได้เข้าร่วมโครงการ ไปต่อยอดสู่การนำไปปฏิบัติจริง ทั้งในโรงเรียนและชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการยังสามารถเป็นกระบอกเสียงและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น เพื่อช่วยลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกให้เป็น “ศูนย์” และร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใสด้วยสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากไข้เลือดออกได้อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *