รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “การศึกษาไทย”มีบทบาท – หน้าที่อย่างไรในปัจจุบัน

 

 

กระทรวงศึกษาธิการ

เป็นหน่วยงานรัฐที่กากับดูแลการศึกษาของชาติเพื่อการพัฒนาคุณภาพของประชาชน ทั้งหมดโดยการกาหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการต่างๆ เข้ามาควบคุมการศึกษาตั้งแต่ ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา การฝึกหัดครูการศึกษาสงเคราะห์ การศึกษาพิเศษ การศึกษาผู้ใหญ่ และการส่งเสริม โรงเรียนเอกชน และการศึกษาประชาชนในรัฐบาล

 

 

สำนักงานรัฐมนตรี

สำนักงานรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1.รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี

2.สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และประชาชน

3.ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง

4.ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี

5.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

 

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (อังกฤษ: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education) เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในอดีตเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ภายหลังการปฏิรูประบบราชการ ในปี พ.ศ. 2545 ทําให้สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รวมเอากิจการของกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (กค.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และกรมพลศึกษาบางส่วนเข้ามาด้วยกัน

กระทั่งวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยมีสาระสำคัญคือการยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 และยกฐานะ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งมีผลทำให้กรมดังกล่าวไม่เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

 

 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหัวหน้าส่วนราชการและขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับพื้นฐานตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

 

 

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) หรือ “กรมอาชีวศึกษา” (เดิม) เป็นหนึ่งในสี่หน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลงานการศึกษาในด้านการอาชีวศึกษา เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 

 

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ในการเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬากับการศึกษาทุกระดับ การเสนอนโบายและแผนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการประเมินผลการจัดการศึกษา

 

                                                                                                                                                      

สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดิมมีชื่อว่า “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน”

ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[2] ทำให้ สช. ถูกควบรวมกับหลายหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ แล้วเปลี่ยนเป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2559 ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้โอนอำนาจหน้าที่ของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในส่วนของการอาชีวศึกษาไปสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อันมีผลทำให้สถาบันอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนถูกควบรวมเข้าด้วยกันโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 

 

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในประเทศไทย ยกฐานะมาจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดิมมีฐานะเป็นกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ชื่อว่า “สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู” (ก.ค.) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาภายหลังการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการยุบรวมกรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ สำนักงาน ก.ค. ถูกยุบรวมเป็น สำนักงาน ก.ค.ศ. ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ในวันที่ 21 มีนาคม 2545

ต่อมามีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ. ตามมาตรา 7 (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ. และแต่งตั้ง นางสาวตรีนุช เทียนทอง เป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

“สำนักงาน ก.ค.ศ.” มีหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งเป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[1] โดยในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาชื่อย่อว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548

ในปี 2549 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร

 

 

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง (มิใช่สถาบันอุดมศึกษา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในส่วนงาน) และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษาและผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

 

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 34 กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่ ดังนี้

  1. รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพและการพัฒนาวิชาชีพ
  2. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คุรุสภามอบหมาย
  3. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคุรุสภา

การดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กำหนดให้เลขาธิการคุรุสภารับผิดชอบบริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รวมทั้งดำเนินการตามที่ประธานกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย โดยรับผิดชอบต่อคณะกรรมการคุรุสภา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1.บริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของคุรุสภา ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ และประกาศของคณะกรรมการคุรุสภา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการคุรุสภา ตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

2. ดูแลรักษาทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต

3.ควบคุมดูแลทรัพย์สินของคุรุสภา

4. เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนแผนดำเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณของปีต่อไป ต่อคณะกรรมการคุรุสภาเพื่อพิจารณา

5. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภาต่อคณะกรรมการคุรุสภา

 

 

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 ในมาตรา 8 กำหนดให้สำนักงานฯ มีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้

1. พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก กำหนดกรอบแนวทางและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

2. พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก

3. ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก

4. กำกับดูแลและกำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกที่ดำเนินการโดยผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งให้การรับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานอาจดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกเองก็ได้

5. พัฒนาและฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพหรือวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ

6. เสนอรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกำกับหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการศึกษา และสำนักงบประมาณ เพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายทางการศึกษา และการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา รวมทั้งเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

 

 

 

 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

รับผิดชอบดำเนินงานธุรการ งานประสานงานการจัดประชุม จัดทำรายงานการประชุม และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ที่ประชุมมอบหมายให้จัดดำเนินการ หรือดำเนินการตามมติของที่ประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ติดตามผลตามมติของที่ประชุม โดยดำรงตำแหน่งมีวาระ 4 ปี

 

เป็นยังไงบ้างค่ะสำหรับความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไทยที่ Eduzones ได้รวบรวมไว้ใครที่สนใจสามารถเข้ามาอ่านรายละเอียดในนี้ได้เลยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *