โครงการ ปตท. X มสธ. ให้ทุนจุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล เรียนปริญญาตรีนิเทศศาสตร์การสื่อสารดิจิทัล
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจรับทุนการศึกษาโครงการ ปตท. X มสธ. จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล
ระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาการสื่อสารดิจิทัลในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กาญจนบุรี อุดรธานี สงขลา และลำปาง
กำหนดการ
รับสมัคร 20 ก.ค.-20 ส.ค. 66 ประกาศผล 31 ส.ค. 66
ส่งใบสมัครได้ที่
– ทางจดหมาย จ่าหน้าซองถึง
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (โครงการปตท.Xมสธ.)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาคารวิชาการ 3
เลขที่ 9/9 ม.9 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
โทร. 02-5048386 02-5048351-3
– สแกนส่งทางอีเมล stou.ptt@gmail.com
คุณสมบัติผู้รับทุนการศึกษาตามโครงการ ปตท. X มสธ. จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล
1) คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครรับทุน
1.1) เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า (โดยไม่เคยจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า และไม่อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับ ปริญญาตรีหรือสูงกว่า)
1.2) เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีการประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อย กว่า 5 ปี
1.3) เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีอายุเกิน 25 ปี
2)คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครรับทุน
2.1) มีทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในจังหวัดเป้าหมาย 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สงขลา อุดรธานี ลำปาง
2.2) สามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ (Ms. team) ได้ โดยจะมีการสอนเสริมผ่านออนไลน์ภาคเรียนละ 1 ครั้ง/ชุด วิชา รวม 3 ครั้ง จจำนวน 6 วัน ในวันเสาร์อาทิตย์ และจะมีการติวเข้มพิเศษ ช่วงเย็นหลังเลิกงาน ครั้งละ 2 ชม. จำนวน 2 ครั้ง/ชุดวิชา รวม 12 ชั่วโมง
2.3) สามารถเรียนแบบเผชิญหน้าได้ โดยจะมีการสอนเสริมแบบเผชิญหน้าภาคเรียนละ 1 ครั้ง/ชุดวิชา รวม 3 ครั้ง จำนวน 6 วัน ในวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนภายในตัวจังหวัดเป้าหมายที่ตัวเองสมัครไว้ได้ ได้แก่ กาญนบุรี สงขลา อุดรธานีลำปาง
2.4) สามารถเข้าร่วมทำกิจกรรมแบบเผชิญหน้าได้ (กิจกรรมสานสัมพันธ์) ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2-3 วัน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมภายในตัวจังหวัดเป้าหมายที่ตัวเองสมัครไว้ได้ ได้แก่ กาญนบุรี สงขลา อุดรธานี ลำปาง
2.5) มีคุณสมบัติตามกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
กลุ่มที่ 1 ผู้นำ ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรก านัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้รักษาความสงบประจำหมู่บ้าน สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ไกล่เกลี่ย อาสาสมัครยุติธรรม ประธานชุมชน กรรมการชุมชน กลุ่มสตรี กรรมการกองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ องค์กรไม่แสวง ผลกำไร หรือชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีบัตรแสดงตัว หรือผู้บังคับบัญชารับรอง
กลุ่มที่ 2 เยาวชน ที่เพิ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือเยาวชน ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ หรือเทียบเท่า และมีการประกอบ อาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
กลุ่มที่ 3 ผู้พิการ (ผู้พิการแขนขา ที่สามารถเรียนในระบบปกติได้) ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กลุ่ม เปราะบาง หรือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
2.6) เป็นผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีประวัติและประสบการณ์การทำงานที่ดี มีจิตอาสา มีทักษะความเป็นผู้น า มีทักษะ การสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยี มีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน และมีความสนใจด้านนิเทศศาสตร์
การคัดเลือกผู้สมัครตามโครงการ ปตท. X มสธ. จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล – โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) – คัดเลือกจากเอกสารสมัครตามคุณสมบัติ (รอบแรก)
– คัดเลือกจากสัมภาษณ์(รอบที่ 2)
– การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด
เงื่อนไขการรับทุนตามโครงการ ปตท. X มสธ. จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล
– พร้อมลงนามในเอกสารการเป็นผู้รับทุนจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เงื่อนไขทุนที่นักศึกษาได้รับ
– ค่าบำรุงการศึกษา 7 ภาคการศึกษา 3,500 บาท
– ค่าลงทะเบียนเรียน 20 ชุดวิชา 28,200 บาท
– ค่าเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ 100 บาท
– ค่ากิจกรรม
เงื่อนไขทุนที่นักศึกษาต้องจ่ายเอง
– ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 800 บาท จ่ายครั้งแรกในภาคแรก และสามารถขอรับคืนได้บางส่วนหลังจบการศึกษา – ค่าธรรมเนียมลาพักการศึกษา (หากมีการลาพักการศึกษา) 500 บาท
– ค่าธรรมเนียมต่ออายุสถานภาพ หากไม่สามารถเรียนจบตามกำหนด 300 บาท
– ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต เมื่อจบการศึกษา 500 บาท
– ค่าธรรมเนียมขอเอกสารสำคัญ ฉบับละ 50 บาท
– ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพแบบเผชิญหน้า เป็นค่าที่พักและอาหาร 5 วัน 4 คืน เป็นเงิน 2,600 บาท
– ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมชุดวิชาฝึกปฏิบัติ หากมีการฝึกปฏิบัติแบบเผชิญหน้า เป็นค่าที่พักและอาหาร 4 วัน 3 คืน ชุด วิชาละ 2,200 บาท จำนวน 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชาการสร้างสรรค์คอนเทนต์และสตรีมมิ่ง และชุดวิชาการสื่อสารแบรนด์ (แต่ถ้าเป็นการฝึกปฏิบัติออนไลน์นักศึกษาจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้)
ดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ เว็บไซต์ https://commarts.stou.ac.th/activity/ptt_x_stou
หรือติดต่อมาที่ สาขาวิชานิเทศศาสตร์
โทรศัพท์ 02-5048386 , 02-5048351-3