โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ TGAT / TPAT/ A-Level TCAS67

สวัสดีค่ะ วันนี้พี่มีโครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ TGAT / TPAT/ A-Level มาให้น้องๆได้ลองทํากันดูนะคะ สามารถกดลิ้งก์เพื่อดูข้อสอบเพิ่มเติมได้เลยนะคะ

โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ

  • ทักษะการพูด (Speaking Skill) (50 คะแนน)

    1) การถามตอบ (Question-Response)

    • จำนวนข้อคำถาม (10 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

    2) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) จํานวน 3 บทสนทนา

    • จำนวนข้อคำถาม (3 – 4  ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

    3) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) จํานวน 2 บทสนทนา

    • จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    จํานวน: 30 ข้อ
  • ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (50 คะแนน)

    1) เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) จํานวน 2 บทความ

    • จำนวนข้อคำถาม (7-8 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 9 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)

    2) อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) จํานวน 3 บทความ

    หมายเหตุ : บทความทั่วไปที่ใช้ในการสื่อสาร มีจำนวนคำประมาณ 100– 200 คำ 

    • จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 9 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)

    จํานวน: 30 ข้อ
  • ระดับความยากง่ายของข้อสอบทั้งฉบับ

    • ระดับง่าย 20% (12 ข้อ)
    • ระดับปานกลาง 60% (36 ข้อ)
    • ระดับยาก 20% (12 ข้อ)
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

     

TGAT2 92 การคิดอย่างมีเหตุผล

สมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)
1) ความสามารถทางภาษา
2) ความสามารถทางตัวเลข
3) ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
4) ความสามารถทางเหตุผล
จำนวน: 80 ข้อ
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

 

TGAT3 93 สมรรถนะการทำงาน

1) การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
1.1 การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) ความเข้าใจในการกำหนดวิธีการรวบรวมประเด็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีหลักการในการสรุปผลการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ เช่น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

1.2 การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาหรือเล็งปัญหา พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างมี ข้อมูล มีหลักการ และสามารถนำความเชี่ยวชาญ หรือแนวคิดในสายวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางเลือก สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ นโยบาย และรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการพูดจูงใจผู้อื่น นำเสนอความคิดและรูปแบบของสินค้า บริการ และวิธีการดำเนินงานรูปแบบใหม่
จำนวน: 15 ข้อ
2) การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
2.1 การระบุปัญหา (Identifying problems) ประกอบด้วย ทำความเข้าใจบริบทแวดล้อม การระบุและทำความเข้าใจปัญหา การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการระบุปัญหา

2.2 การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) ประกอบด้วย การสร้างและหาทางเลือก และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสม

2.3 การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน และการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

2.4 การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) ประกอบด้วย เก็บข้อมูลจากการนำทางออกไปลองใช้ และสรุปผลจากการนำทางออกไปลองใช้
จำนวน: 15 ข้อ
3) การบริหารจัดการอารมณ์
3.1 ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) การรับรู้ ควบคุมสภาพอารมณ์ และทัศนคติ เพื่อรักษาอารมณ์ และประสิทธิภาพของตนเอง แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีภาระสูง มีความตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง รวมถึงจุดที่ต้องพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3.2 การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม

3.3 ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน
จำนวน: 15 ข้อ
4) การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
4.1 การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) การคิด และทำสิ่งต่าง ๆ โดยมีความต้องการของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในใจเสมอ โดยมุ่งเน้นการศึกษา และทำความเข้าใจความต้องการต่าง ๆ แสดงถึงความมุ่งมั่นต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง พร้อมพัฒนาและ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน

4.2 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) การมีจิตสำนึก ตระหนักให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4.3 การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) ความสามารถในการคิดค้น ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม โดยการมุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว และยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม
จำนวน: 15 ข้อ
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
เพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-1 คะแนน

การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ

1) เลือกตอบตัวเลือกเดียว

2) เลือกตอบหลายตัวเลือก

ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

 

TPAT2 20 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

ข้อสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็นข้อสอบ 3 ส่วน ผู้สอบสามารถเลือกสอบได้
TPAT21 ทัศนศิลป์ 100 คะแนน ประกอบด้วย
พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 60 คะแนน
หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 40 คะแนน
การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
การนําศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจําวัน
จำนวน: 50 ข้อ
TPAT22 ดนตรี 100 คะแนน ประกอบด้วย
องค์ประกอบดนตรี 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 50 คะแนน
จังหวะ (Rhythm)
ทํานอง (Melody)
เสียงประสาน (Harmony)
รูปพรรณ (Texture)
สีสันของเสียง (Tone Color)
ลักษณะของเสียง
รูปแบบ (Form)
บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 50 คะแนน
ประวัติและวรรณคดีดนตรี
เครื่องดนตรีและแหล่งกําเนิดของเสียง
ระดับของการฟัง
หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต
จำนวน: 50 ข้อ
TPAT23 นาฏศิลป์ 100 คะแนน ประกอบด้วย
พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์ 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 20 คะแนน
การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย
การสื่อสารด้วยท่าทาง 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 30 คะแนน
อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
การสื่อความหมาย
การแสดงออกทางสีหน้าแววตา
หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 30 คะแนน
ทิศทาง
ระดับ
ขนาด
การใช้พื้นที่ในการแสดง
การเคลื่อนที่และแปรแถว
ปฏิภาณไหวพริบสําหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 20 คะแนน
การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง
จำนวน: 50 ข้อ
การคิดคะแนนรวม
คะแนนรวม คำนวณจากการเฉลี่ยทั้งสามส่วน เต็ม 100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

TPAT3 30 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

ข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์  ประกอบด้วย 2  ส่วนคือ
ส่วนที่ 1: การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 60 คะแนน  ประกอบด้วย
ด้านตัวเลข (numerical reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
จำนวน: 45 ข้อ
ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 40 คะแนน  ประกอบด้วย
ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน)
จำนวน: 25 ข้อ
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

TPAT4 40 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม

หมวดที่ 1
เนื้อหา
การวัดความรู้ทั่วไปด้านศิลปะและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน

สมรรถนะ
ความเข้าใจความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ที่มีต่อกระบวนการคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน
การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ที่มีต่อกระบวนการคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
การนำความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ไปใช้กับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1 ความเข้าใจ

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 15 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
ระดับที่ 2 การวิเคราะห์

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 15 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
ระดับที่ 3 การสังเคราะห์

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 20 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
จำนวน: 24 ข้อ
หมวดที่ 2
เนื้อหา
การวัดความรู้ทั่วไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม

สมรรถนะ
ความเข้าใจด้านทฤษฏีสี จิตวิทยาการการใช้สี และทฤษฎีด้านความงามที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
การวิเคราะห์และการนำไปใช้
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1 ความเข้าใจ

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 15 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
ระดับที่ 2 การวิเคราะห์และการนำไปใช้

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 20 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
จำนวน: 16 ข้อ
หมวดที่ 3
เนื้อหา
การวัดความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม และงานระบบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม

สมรรถนะ
ความเข้าใจพื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม
การวิเคราะห์
การนำไปใช้
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1 ความเข้าใจ

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 15 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
ระดับที่ 2 การวิเคราะห์

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 15 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
ระดับที่ 3 การนำไปใช้

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 20 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
จำนวน: 24 ข้อ
หมวดที่ 4
เนื้อหา
การวัดการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง

สมรรถนะ
ความเข้าใจพื้นฐานด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง
การวิเคราะห์มิติสัมพันธ์และรูปทรง
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1 ความเข้าใจ

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 2 คะแนน รวม 16 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 15 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
ระดับที่ 2 การวิเคราะห์

จำนวน 8 ข้อ (ข้อละ 2.5 คะแนน รวม 20 คะแนน)
ระยะเวลาในการสอบ 30 นาที
ปรนัย 5 ตัวเลือก
จำนวน: 16 ข้อ

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

TPAT5 50 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู
1. ความสามารถทางการสื่อสาร

2. ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์

3. ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. ความสามารถทางการเข้าใจตนเองและผู้อื่น

5. ความสามารถทางการคิดเพื่อการเรียนรู้
จำนวน: 50 ข้อ
คุณลักษณะความเป็นครู
1. การมีมนุษยสัมพันธ์

2. ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

3. การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น

4. การเป็นผู้เรียนรู้และรักที่จะแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น

5. การส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความคิดสร้างสรรค์และการเป็นผู้นำ
จำนวน: 50 ข้อ
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก 

A-Level 61 Math1 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1

A-Level 62 Math2 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2

A-Level 63 Sci วิทยาศาสตร์ประยุกต์

  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

    1. ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
    2. การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
    3. การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
    4. ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์
    5. การดำรงชีวิตของพืช
    6. พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
    จำนวน: 7-9 ข้อ
  • วิทยาศาสตร์กายภาพ

    1. อะตอมและสมบัติของธาตุ
    2. สารโคเวเลนต์
    3. สารประกอบไอออนิก
    4. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
    5. พอลิเมอร์
    6. ปฏิกิริยาเคมี
    7. สารกัมมันตรังสี
    8. การเคลื่อนที่และแรง
    9. แรงในธรรมชาติ
    10. พลังงานทดแทน
    11. คลื่นกล
    12. เสียง
    13. แสงสี
    14. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    จำนวน: 14-16 ข้อ
  • วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ

    1. เอกภพและกาแล็กซี
    2. ดาวฤกษ์
    3. ระบบสุริยะ
    4. เทคโนโลยีอวกาศ
    5. โครงสร้างโลก
    6. การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
    7. ธรณีพิบัติภัย
    8. การเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
    9. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    10. ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
    จำนวน: 6-8 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ

    1. ปรนัย 5 ตัวเลือก (ข้อละ 3.2 คะแนน)
    2. เลือกตอบเชิงซ้อน (ข้อละ 4.2 คะแนน)
      • ตอบถูกทั้ง 3 ข้อย่อย ได้คะแนนเต็ม 4.2 คะแนน
      • ตอบถูก 2 ข้อย่อย ได้คะแนน 2.1 คะแนน
      • หากตอบถูกเพียง 1 ข้อย่อยจะไม่ได้คะแนน

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

  • หมายเหตุ

    1)  ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
    2)  ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จาก เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จาก เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 64 Phy วิชาฟิสิกส์

  • กลศาสตร์

    1. ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์

    2. การเคลื่อนที่แนวตรง

    3. แรงและกฎการเคลื่อนที่

    4. สมดุลกลของวัตถุ

    5. งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล

    6.โมเมนตัมและการชน

    7. การเคลื่อนที่แนวโค้ง

    8. การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย

    จำนวน: 8 – 10 ข้อ
  • คลื่นกล และแสง

    9. คลื่น

    10. เสียง

    11. แสง

    จำนวน: 5 – 7 ข้อ
  • ไฟฟ้า แม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    12. ไฟฟ้าสถิต

    13. ไฟฟ้ากระแส

    14. แม่เหล็กและไฟฟ้า

    15. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    จำนวน: 6 – 8 ข้อ
  • อุณหพลศาสตร์ และสมบัติเชิงกลของสาร

    16. ความร้อนและแก๊ส

    17. ของแข็งและของไหล

    จำนวน: 3 – 5 ข้อ
  • ฟิสิกส์แผนใหม่

    18. ฟิสิกส์อะตอม

    19. ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

    จำนวน: 3 – 5 ข้อ
  • ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

  • หมายเหตุ

    1. ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
    2. ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จาก เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จาก เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 65 Chem วิชาเคมี

ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 66 Bio วิชาชีววิทยา

  • ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

    1. ระบบนิเวศและไบโอม
    2. ประชากร
    3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    4. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและอนุกรมวิธาน
    จำนวน: 5 – 7 ข้อ
  • หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

    1. เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
    2. โครงสร้างและการทำงานของเซลล์
    จำนวน: 6 – 8 ข้อ
  • ระบบและการทำงานต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์

    1. ระบบย่อยอาหาร
    2. ระบบหมุนเวียนเลือด
    3. ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
    4. ระบบขับถ่าย
    5. ระบบหายใจ
    6. ระบบประสาทและการเคลื่อนที่
    7. ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
    8. ระบบต่อมไร้ท่อ
    9. พฤติกรรมของสัตว์
    จำนวน: 12 – 14 ข้อ
  • โครงสร้างและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในพืช

    1. เนื้อเยื่อและโครงสร้างภายในของพืช
    2. การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำของพืช และการลำเลียงของพืช
    3. การสังเคราะห์ด้วยแสงและสารอินทรีย์ในพืช
    4. การสืบพันธุ์ของพืชดอก
    5. การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
    จำนวน: 6 – 8 ข้อ
  • พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ

    1. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    2. สมบัติของสารพันธุกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างยีน การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม
    3. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
    4. เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
    5. วิวัฒนาการและพันธุศาสตร์ประชากร
    จำนวน: 6 – 8 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ

    1. ปรนัย 5 ตัวเลือก (ข้อละ 2.4 คะแนน)
    2. เลือกตอบเชิงซ้อน (ข้อละ 3.2 คะแนน)
      • ตอบถูกทั้ง 3 ข้อย่อย ได้คะแนนเต็ม 3.2 คะแนน
      • ตอบถูก 2 ข้อย่อย ได้คะแนน 1.6 คะแนน
      • หากตอบถูกเพียง 1 ข้อย่อยจะไม่ได้คะแนน

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

  • หมายเหตุ

    1. ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
    2. ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จาก เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จาก เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 70 Soc สังคมศึกษา

  • 1) ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

    1.1) ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

    1.2) การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 2) หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

    2.1) หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี
    มีค่านิยมที่ดีงาม การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย
    การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

    2.2) การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 3) เศรษฐศาสตร์

    3.1) บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

    3.2) สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ
    ความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 4) ประวัติศาสตร์

    4.1) เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ

    4.2) พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทวีปเอเซีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา

    4.3) ชาติไทย การเมืองเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 5) ภูมิศาสตร์

    5.1) โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

    5.2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดาเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    จำนวน: 10 ข้อ
    • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)

      ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

      ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 81 Thai ภาษาไทย

  • 1) การอ่าน

    1.1 การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา

    1.2 การจับใจความ/การสรุปสาระสำคัญของข้อความ

    1.3 การตีความ

    1.4 การวิเคราะห์จุดประสงค์/เจตนาของผู้เขียน

    1.5 การวิเคราะห์ข้อคิด/แนวคิดที่ได้จากการอ่าน

    1.6 การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน

    1.7 ท่าที/น้ำเสียง/อารมณ์ความรู้สึก/ความคิดเห็นของผู้เขียน

  • 2) การเขียน

    2.1 การเรียงลำดับข้อความ

    2.2 การเรียงความ

    2.3 การพรรณา/บรรยาย/อธิบาย

    2.4 การใช้เหตุผล

    2.5 การแสดงทรรศนะ

    2.6 การโต้แย้ง

    2.7 การโน้มน้าว

  • 3) การพูด การฟัง

    3.1 การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด

    3.2 การใช้ข้อความถาม และตอบที่สัมพันธ์กัน

    3.3 การตีความ/อนุมาน/วิเคราะห์สาร/บุคลิกของผู้พูดหรือผู้ฟัง

  • 4) หลักการใช้ภาษา

    4.1 การสะกดคำ

    4.2 การใช้คำตรงความหมาย

    4.3 ประโยคกำกวม/ประโยคบกพร่อง

    4.4 ประโยคสมบูรณ์

    4.5 ระดับภาษา

    4.6 การใช้สำนวนถูกต้องตามความหมาย

    4.7 ชนิดของประโยคตามเจตนา

    4.8 คำที่มีความหมายตรง/อุปมา

    4.9 คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

    4.10 ราชาศัพท์

  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 82 Eng ภาษาอังกฤษ

  • ทักษะการฟังและการพูด (Listening and Speaking Skills) (25 คะแนน)

    1) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversation) จำนวน 3 บทสนทนา

    • จำนวนข้อคำถาม (4 ข้อ/บทสนทนา รวม 12 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)

    2) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversation) จำนวน 1 บทสนทนา

    • จำนวนข้อคำถาม (8 ข้อ/บทสนทนา รวม 8 ข้อ)
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
    จำนวน: 20 ข้อ
  • ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (50 คะแนน)

    1) โฆษณา (Advertisement) จำนวน 2 บทความ

    • จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

    2) บทวิจารณ์สินค้าหรือบริการ (Product or service review) จำนวน 1 บทความ

    • จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

    3) รายงานข่าว (News report) จำนวน 1 บทความ

    • จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

    4) ภาพประกอบบทความ (Visual) เช่น กราฟ ตาราง แผนผัง หรือ แผนภูมิ จำนวน 2 เรื่อง

    • จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/เรื่อง รวม 6 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

    5) บทความทั่วไป ที่ มีจำนวนคำประมา ณ 500– 600 คำ หรือ 1 หน้ากระดาษ A4 จำนวน 2 บทความ

    • จำนวนข้อคำถาม 8 ข้อ/เรื่อง รวม 16 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 10 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
    จำนวน: 40 ข้อ
  • ทักษะการเขียน (Writing Skill) (25 คะแนน)

    1) เติมบทความให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 3 บทความ

    • จำนวนข้อคำถาม 5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 11 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

    2) เรียงประโยคให้เป็นย่อหน้าที่สมบูรณ์ (Paragraph organization) จำนวน 5 ย่อหน้า

    • จำนวนข้อคำถาม 5 ย่อหน้า รวม 5 ข้อ
    • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 3 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
    จำนวน: 20 ข้อ
  • ระดับความยากง่ายของข้อสอบทั้งฉบับ

    • ระดับง่าย 20% (16 ข้อ)
    • ระดับปานกลาง 60% (48 ข้อ)
    • ระดับยาก 20% (16 ข้อ)
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 83 Fre ภาษาฝรั่งเศส

  • สมรรถนะการใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสาร

    1) ทักษะการสื่อสารทั่วไป

    • การใช้คำศัพท์และสำนวน
    • การสื่อสารในสถานการณ์ชีวิตประจำวัน

    2) การใช้ไวยากรณ์พื้นฐาน

    3) ความสามารถในการอ่าน

    4) ความสามารถในการเขียน

    จำนวน: 50 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 84 Ger ภาษาเยอรมัน

  • สมรรถนะทางภาษาเยอรมัน

    1) ความสามารถในการเขียน

    2) การใช้คำศัพท์และสำนวนภาษาเยอรมันในสถานการณ์ชีวิตประจำวัน

    3) การอ่านตัวบทภาษาเยอรมัน

    จำนวน: 50 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 85 Jap ภาษาญี่ปุ่น

  • สมรรถนะการใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสารในสถานการณ์ชีวิตประจำวัน

    1) ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์พื้นฐาน

    2) ความสามารถในการสื่อสาร

    3) ความสามารถในการเขียน

    4) ความสามารถในการอ่าน

    จำนวน: 50 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

A-Level 86 Kor ภาษาเกาหลี

  • สมรรถนะการใช้ภาษาเกาหลีในการสื่อสาร

    1) ความสามารถในการใช้คำศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวัน

    2) ความสามารถในการอ่านและสังคมวัฒนธรรม

    3) ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์

    จำนวน: 50 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

    ตัวอย่างข้อสอบ คลิก

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับแนวข้อสอบและโครงสร้างข้อสอบในรายวิชาต่างๆ หวังว่าจะเป็นแนวทางให้น้องๆไม่มากก็น้อยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *