เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับปรับปรุง

เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน

การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ

จากปัญหาความด้อยคุณภาพของผู้เรียนที่ไม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ตนเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้การศึกษาจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนจุดเน้นรากฐานเนื้อหา (content-base) ไปเป็นฐานสมรรถนะ (competency-base)

 

1. ตัวอย่างสมรรถนะการจัดการตนเอง

• สาวทำงานออฟฟิศ 2 คน ทำงานที่เดียวกัน เงินเดือนเท่ากัน แต่คนหนึ่งรู้จักกำหนดเป้าหมายชีวิต วางแผนการใช้จ่ายและการเก็บออม อีกคนหนึ่งใช้จ่ายอย่างไม่มีการวางแผนและไม่มีเงินเก็บ

สาวคนแรกน่าจะมีอนาคตที่มั่นคงกว่าสวคนที่ 2 เพราะเธอเป็นผู้มี สมรรถนะการจัดการตนเอง รู้จักตั้งเป้าหมาย กำกับตนเองได้

• วันหนึ่งเจ้ากาแฟสุนัขของทิมถูกรถชนตายทิมเสียใจและมีความโศกเศร้ามากหลังจากฝังเจ้ากาแฟแล้ว เขาก็เกิดความคิดว่าถึงอย่างไรเจ้ากาแฟก็จากไปแล้ว การเสียใจไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ เขาคิดว่า เขาน่าจะไปหาสุนัขที่ไม่มีเจ้าของมาเลี้ยงแทนเจ้ากาแฟดีกว่า เพราะเท่ากับว่าเขาได้ช่วยชีวิตสุนัขอีกตัวหนึ่ง รวมทั้งเป็นการทำบุญให้เจ้ากาแฟอีกด้วย

ทิมมี สมรรถนะการจัดการตนเอง รู้จักการจัดการอารมณ์ รับรู้ได้และเข้าใจอารมณ์ของตนเอง สามารถฟื้นคืนคสามรู้สึก และสามารถจัดการปัญหาได้

 

2. ตัวอย่างสมรรถนะการคิดขั้นสูง

• ข้าราชการ 2 คน คนหนึ่งทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย อีกคนทำเช่นเดียวกันแต่มักทำได้ดีกว่าและได้งานมีประสิทธิภาพมากกว่าที่สั่ง รวมทั้งมีความคิดดี ๆเสนอเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

ข้าราชการ คนที่ 2 เป็นผู้ที่ทำงานโดยใช้ สมรรถนะการคิดขั้นสูง รู้จักคิดเชิงระบบและคิดสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดงานให้ดีขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกิดผลงานที่ดี ข้าราชการผู้นี้น่าจะมีอนาคตอันสดใส เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน
• นักศึกษาคนหนึ่งอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ เรื่อง การลงทุนด้วยเงิน 3,000 บาท และได้รับผลตอบแทน 10 เท่า ภายในเวลา 3 เดือน จึงมาชักชวนเพื่อนให้ร่วมลงทุน แต่เพื่อนปฏิเสธและพยายามอธิบายให้นักศึกษาดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นการหลอกลวง ต่อมาทราบข่าวภายหลังว่ามีการจับขบวนการหลอกให้ลงทุนดังกล่าว

เพื่อนของนักศึกษาคนนี้ เป็นผู้มี สมรรถนะการคิดขั้นสูง รู้จักการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ว่าควรเชื่ออะไรไม่ควรเชื่ออะไร โดยอาศัยการวิเคราะห์ และประเมินตามหลักฐานแนวคิด และรู้จักให้เหตุผลในการปฏิเสธ และโน้มน้าวให้เพื่อนเชื่อ

 

3. ตัวอย่างสมรรถนะการสื่อสาร

• เด็กหญิงคนหนึ่งวิ่งเข้ามากอดคุณยายซึ่งกำลังจะออกไปซื้อของ เธอทักทายถามไถ่คุณยายด้วยถ้อยคำที่ไพเราะน่ารัก และขอให้คุณยายซื้อของเล่นที่เธอเคยเห็นเพื่อนเล่น และอยากได้ แต่เธอไม่รู้ว่าของเล่นนั้นเรียกว่าอะไร โดยเธอก็พยายามอธิบายให้คุณยายเข้าใจด้วยภาษาของเธอเอง จนคุณยายเข้าใจว่าหลานสาวต้องการอะไร

เด็กหญิงคนนี้นับว่าเป็นผู้มีสมรรถนะการสื่อสาร สามารถเลือกใช้วิธีการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ตลอดจนการสื่อความหมายผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสื่อสาร

 

4. ตัวอย่างสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม
• ในช่วงเวลาที่เกิดพายุปลาบึก ป้าสายได้รวบรวมแม่บ้านในหมู่บ้าน 10 คน เข้าช่วยเจ้าหน้าที่ในการดูแลเด็ก ๆ และคนแก่ในศูนย์อพยพ ป้าสายแบ่งหน้าที่ให้ทำตามถนัดทั้งการจัดหาอาหารการจัดยาดูแลผู้ป่วย และให้กำลังใจแก่ผู้ที่เป็นห่วงกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เสียหาย โดยมีป้าสายเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งทำให้ทุกคนมีสุขภาพกาย ใจที่ดี พร้อมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป

ป้าสายและกลุ่มแม่บ้านมีสมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม เพราะมีทักษะในการทำงานร่วมกันและปฏิบัติตามบทบาทเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายในส่วนป้าสายนั้น มีความเป็นผู้น้ำและใช้ภาวะผู้นำอย่างเหมาะสม สามารถประสานและนำกลุ่มแม่บ้านให้ปฏิบัติงานได้ โดยนำความสามารถของสมาชิกแต่ละคนมาใช้เพื่อ การปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ

 

5. ตัวอย่างสมรรถนะการเป็นผลเมือที่เข้มแข็ง
• นักเรียน พบว่า แหล่งน้ำของหมู่บ้านเริ่มส่งกลิ่นเหม็นเพราะมีคนนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้ง เมื่อศึกษาระเบียบของหมู่บ้าน พบว่ามีข้อห้ามอยู่แต่ไม่ได้บังคับใช้จริงจังจึงรวมตัวกันกับเพื่อนๆไปปรึกษาผู้ใหญ่บ้านเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาสรุปได้ว่า ควรมีการแจ้งข้อมูลผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้านและติดป้ายประกาศเตือนพร้อมแจ้งบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน

ปัญหาสาธารณะไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องมีคนกล้าคิด และรวมตัวกัน เพื่อพิจารณาหาผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบ นักเรียนกลุ่มนี้จัดว่าเป็นผู้มี สมรรถนะการเป็นผลเมืองที่เข้มแข็ง

 

คุณสมบัติหรือลักษณะสำคัญของสมรรถนะ

จากตัวอย่างที่ยกมาดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงลักษณะของผู้มีสมรรถนะ 10 ด้าน ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และหากวิเคราะห์เจาะลึกลงไปอีกจะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีสมรรถนะต่าง ๆ ดังกล่าวมีคุณสมบัติร่วมที่เหมือนกันคือ สามารถทำ (งาน/กิจกรรม) ได้สำเร็จ

การที่บุคคลจะสามารถทำงานใด ๆ ได้สำเร็จนั้นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่
1. มีความรู้และนำความรู้มาใช้ในสถานการณ์ได้ เช่น เด็กหญิงไม่รู้ว่าของเล่นมีชื่อเรียกว่าอะไร แต่เธอก็ใช้ความรู้จากคำที่เธอรู้ พยายามชี้แจง จนคุณยายเข้าใจ
2. มีทักษะ เด็กหญิงมีทักษะการใช้ภาษาสื่อสารเป็นทุนเดิมและพยายามใช้ทักษะการพูดของเธอชี้แจงจนคุณยายเข้าใจ
3. มีเจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่ส่งเสริมพฤติกรรม การกระทำให้บรรลุผล เช่น ความอยากได้ของเล่น เป็นแรงจูงใจที่ทำให้เด็กหญิงพยายามอธิบายจนคุณยายเข้าใจ

 

ความหมายของสมรรถนะ
สมรรถนะจึงเป็นความสามารถของบุคคลในระดับที่สามารถปฏิบัติงานใดงานหนึ่งได้สำเร็จ โดยใช้ความรู้
ทักษะ เจตคติ/คุณลักษณะ ที่ตนมีอยู่

สมรรถนะเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถของบุคคลในการนำความรู้ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของตนมาประยุกต์ใช้ในงาน หรือในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จนประสบความสำเร็จ

สมรรถนะจึงเป็นผลรวมของความรู้ ทักษะ เจตคติ หรือคุณลักษณะ ที่ทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในการทำงาน การแก้ปัญหา และการคำรงชีวิต สรุปว่า

คนที่มีสมรรถนะ คือ คนที่ทำงานได้สำเร็จ โดยใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ / คุณลักษณะต่างๆ ที่ตนมีอยู่

อะไรไม่ใช่สมรรถนะ

– คนมีความรู้ แต่ไม่ใช้ความรู้หรือไม่สามารถใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ยังไม่ถือว่ามีสมรรถนะ(เช่น ผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษ แต่ไม่สามารถพูดคุยกับชาวต่างชาติหรือใช้ความรู้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานได้)
– คนมีทักษะ แต่ไม่สามารถนำทักษะนั้นมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ก็ยังไม่ถือว่ามีสมรรถนะ (เช่นมีทักษะการอ่าน เขียน ฟัง พูดภาษาอังกฤษ สอบผ่านการทดสอบ แต่ไม่กล้าหรือไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้)คนมีเจตคติที่ดี แต่ไม่นำมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆก็ถือว่ายังไม่มีสมรรถนะ (เช่น ชอบภาษาอังกฤษ มีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ แต่อายหรือไม่กล้าพูดสื่อสารกับชาวต่างชาติ)

 

ระดับของสมรรถนะ

   สมรรถนะเกิดขึ้นได้ เมื่อบุคคลมีโอกาสได้ฝึกใช้สมรรถนะความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ตนมีในการเกิดขึ้น
ทำงาน การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่างๆ จนเกิดความชำนาญ และความมั่นใจ ทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้สำเร็จดังตัวอย่าง

พ่อแม่ในชนบทมักใช้ให้ลูก ๆ ช่วยทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตั้งแต่เล็ก โดยการสั่ง/ สอนให้ทำบ้าง ทำให้ดูหรือให้เห็นเป็นตัวอย่างบ้าง เด็กต้องทำตาม เมื่อทำบ่อย ๆก็จะทำได้เองและเรียนรู้การใช้ทักษะที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ จนเกิดความชำนาญ เช่นนี้ กล่าวได้ว่า เด็กมีสมรรถนะในการทำงานนั้น

ในกรณีข้างต้น เด็กมีสมรรถนะในการทำงานนั้น เพราะเด็กใช้ความรู้จากที่พ่อแม่บอก หรือทำให้ดู แล้วลองทำตาม ขั้นแรกอาจทำผิด ๆ ถูก ๆ พ่อแม่ให้ทำใหม่ก็เรียนรู้เพิ่มขึ้น ต่อมาก็เริ่มคิดแก้ปัญหาเอง และทำได้ดีขึ้นจนคล่องแคล่วและชำนาญ

องค์ประกอบสำคัญของสมรรถนะ 

1. ความรู้ (Knowledge)

2. ทักษะ (Skill)

3. คุณลักษณะ /เจตคติ (Attribute / Attitude)

4. การประยุกต์ใช้ (Application)

5. การกระทำ / การปฏิบัติ (Performance)

6. งานและสถานการณ์ต่าง ๆ (Tasks / Jobs / Situations)

7. ผลสำเร็จ (Success) ตามเกณฑ์ที่กำหนด (Performance Criteris)

 

วิธีการพัฒนาสมรรถนะให้เกิดขึ้น

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่รอบข้างเด็ก สามารถช่วยพัฒนาเด็กให้มีสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในระดับที่ต้องการได้ไม่ยากนักโดยการส่งเสริมให้เด็กนำความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ไปใช้ในการทำงาน การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ และช่วยให้กำลังใจในการทำงาน ให้คำแนะนำ ส่งเสริมคุณลักษณะที่จำเป็น และเพิ่มความคู้แบะทักษะให้เด็กทำงานได้ดีขึ้นตามลำดับ เด็กก็จะเกิดสมรรถนะที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ

 

เข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคคลากรทางการศึกษา

ลักษณะสำคัญของหลักสูตรอิงมาตรฐาน

ทุกคนคงจะเข้าใจกันแล้วว่า หลักสูตรปัจจุบันที่ใช้กันอยู่เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-Based Curriculum) ซึ่งกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดให้ครูใช้เป็นเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน โดยมาตรฐานและตัวชี้วัดจะครอบคลุมความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือคุณลักษณะที่จำเป็นต้อการบรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัดนั้น ๆ

ลักษณะสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum) 

หลักสูตรฐานสมรรถนะแตกต่างจากหลักสูตรปัจจุบันตรงที่ การกำหนดเป้าหมายจะมุ่งไปที่สมรรถนะของผู้เรียนว่า ผู้เรียนจะต้อง ทำอะไรได้ ซึ่งต่างจากหลักสูตรอิงมาตรฐานที่มาตรฐานและตัวชี้วัดจำนวนมาก เน้นไปที่ผู้เรียนส่า จะต้องรู้อะไร สรุปได้ว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะเน้น ทักษะ (Skill) ในขณะที่หลักสูตรอิงมาตรฐานค่อนข้างเน้น เนื้อหาสาระ (Content) แต่สิ่งสำคัญ คือ การสร้างเจตคติ (Attitude)

หลักสูตรฐานสมรรถนะจึงเป็นหลักสูตรที่ยึกความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้เป็นหลักเพื่อประกันว่า ผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่ง ๆ จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

องค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ

หลักสูตรฐานสมรรถนะ จะกำหนดมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standards) ขึ้นเป็นสมรรถนะขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ สมรรถนะ ที่กำหนดให้ผู้เรียน โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ

สมรรถนะหลัก

สมรรหลักที่เรียกว่า Core Competency มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามวิชาหรือคร่อมวิชา คือ เป็นสมรรถนะที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ลึกซึ้งขึ้น สมรรถนะในลักษณะนี้ กล่าวได้ว่าเป็นสมรรถนะประเภทนี้ “content-free” คือ ไม่เกาะติดเนื้อหา หรือไม่ขึ้นกับเนื้อหา ตัวอย่างสมรรถนะประเภทนี้ เช่น สมรรถนะการคิดขั้นสูง สมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม สมรรถนะการจัดการตนเอง ซึ่งสมรรถนะเหล่านี้ สามารถใช้เนื้อหาสาระใด ๆ ก็ได้ในการพัฒนา เพียงแต่ว่าสมรรถนะบางสมรรถนะอาจพัฒนาได้ดีกว่าในเนื้อหาบางเนื้อหา

สมรรถนะเฉพาะ

สมรรถนะอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า สมรรถนะเฉพาะ Specific Competency เป็นสมรรถนะเฉพาะวิชา/สาขาวิชา

ซึ่งจำเป็นสำหรับวิชานั้น ๆ เช่น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจะมีสมรรถนะเฉพาะของวิชา เช่น สมรรถนะด้านการพูดในโอกาสต่าง ๆ สมรรถนะด้านการประพันธ์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ก็มีสมรรถนะด้านการวาดภาพ การปั้น การประดิษฐ์

สาระวิชาต่าง ๆ จะมีสมรรถนะเฉพาะวิชาของตน ซึ่งมีลักษณะเป็น “ทักษะ” (Skill) หากผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะจนสามารถใช้งานได้ และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะนั้น

ระดับของสมรรถนะ

สมรรถนะทั้ง 2 ประเภทไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะหลัก หรือสมรรถนะเฉพาะ ต่างก็มีระดับตั้งแต่ง่ายไปยาก ซึ่งหลักสูตรจะกำหนดให้ผู้เรียนแบบไต่ระดับ ไปตามระดับความสามารถของตน

ตัวอย่างเช่น สมรรถนะหลักด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งก็คือ การคิดที่มีการใช้วิจารณญาณพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนการตัดสินใจ การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาจะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับง่าย คือ สามารถคิดจำแนกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อคิดเห็น ต่อไปจึงเพิ่มระดับให้กว้างขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น

หลักสูตรฐานสมรรถนะโดยทั่วไป

หลักสูตรฐานสมรรถนะโดยทั่วไป จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ Learning Competenciy) สำหรับผู้เรียนรู้ในช่วงวัยหรือช่วงชั้นต่าง ๆ ให้แก่ครู เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน

หลักสูตรฐานสมรรถนะนอกจากจะกำหนดสมรรถนะไว้ให้แล้ว อาจกำหนดสาระการเรียนรู้ขั้นต่ำสำหรับการพัฒนาสมรรถนะที่กำหนดสมรรถนะไว้ให้แก่ผู้เรียนหรืออาจให้โรงเรียนและครูกำหนดได้จามความเหมาะสม

สมรรถนะและสาระการเรียนรู้ที่กำหนดให้นั้น เป็นขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับเด็กไทยทุกคน หลักสูตรจะต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับโรงเรียนและครูในการจัดการเรียนรู้สาระทักษะและคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการตามความแตกต่างกันของผู้เรียนภูมิสังคม และบริบทในสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย

การกำหนดสมรรถนะที่เป็นเกณฑ์กลาง/มาตรฐานกลางสำหรับการจัดการศึกษาในแต่ละช่วงวัย จะเอื้ออำนวยให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบต่าง ๆ ตามแนวคิดของตนได้ โดยยัดสมรรถนะเป็นเกณฑ์กลาง

การจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ (Competency-Based Instruction )

ในการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะนั้น ครูจะมีมาตรฐานสมรรถนะ และจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะที่จัดไว้อย่างเป็นลำดับเป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน ครูมีเป้าหมายที่จะช่วยให้พัฒนาให้ ผู้เรียนทำอะไรได้ (ในระดับที่กำหนด) ครูจะต้องวิเคราะห์ว่า ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้อะไร ตึงจะช่วยให้ทำสิ่งนั้นได้ ซึ่งเอื้อให้มีการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์และลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็น ผู้เรียนต้องได้รับความรู้และฝึกใช้ความรู้ในการทำ รวมทั้งพัฒนาคุณลักษณะที่ควรจะต้องมีในการทำสิ่งนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้ในระดับที่กำหนด ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการคิด การปฏิบัติ การลงมือทำ การได้รับข้อมูลย้อนกลับ การปรับปรุง พัฒนาและได้รับการส่งเสริมให้นำความรู้ทักษะ และคุณลักษณะที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดสมรรถนะในระดับที่ต้องการ โดยผู้เรียนแต่ละคนอาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยแตกต่างกันได้

การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ (Competency-Based Assessment)

การวัดสมรรถนะเป็นการช่วยให้เห็นความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียนโดยครูทำการทดสอบพฤติกรรมการปฏิบัติของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด   ซึ่งจะเน้นการประเมินองค์รวมของสมรรถนะด้วยเครื่องมือประเมินตามความเหมาะสม และประเมินเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะรับการประเมิน หากประเมินผ่าน ผู้เรียนจะสามารถก้าวสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ชั้นต่อไปได้หากยังไม่ผ่าน ผู้เรียนจะได้รับการสอนซ่อมเสริม จนกระทั่งบรรลุผล ผู้เรียนแต่ละคนจะก้าวหน้าไปตามความสามารถของตน อาจก้าวหน้าไปได้เร็วในบางสาระ และอาจไปได้ช้าในบางสาระตามความถนัดของตน

การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โดยทั่วไปมีหลักการและลักษณะสำคัญดังกล่าว แต่ในโรงเรียนต่าง ๆ การกำหนดสมรรถนะ และการออกแบบหลักสูตรอาจมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งมักเป็นไปตามความต้องการบริบท และลักษณะเฉพาะของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่

เนื่องจากเด็กไทยส่วนใหญ่ได้รับความรู้จำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตได้เท่าที่ควร รวมทั้งยังขาดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบันและอนาคต ทำให้มีขีดความสามารถค่ำในการแข่งขันกับนานาประเทศซึ่งจะกระทบต่อความอยู่รอดและความอยู่ดีของประชาชนและประเทศชาติจึงจำเป็นที่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็ซึ่งเป็นอนาคตของชาติจึงจำเป็นที่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติได้มีความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนในการช่วยกันพัฒนาผู้เรียนในทุกระดับการศึกษา ให้เป็นผู้มีทักษะและสมรรถนะที่จำเป็น ทันต่อความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Disruption

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *