คิวเอส ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืน ประจำปี 2567

คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืน (QS World University Rankings: Sustainability) ประจำปี 2567

การจัดอันดับครั้งนี้ครอบคลุมมหาวิทยาลัย 1,397 แห่ง มากกว่าปีที่แล้วซึ่งเป็นการจัดอันดับครั้งแรกถึงสองเท่า และเป็นการประเมินมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาจากผลกระทบทางสังคม ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ซึ่งผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยโทรอนโต ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก ตามด้วยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในอันดับ และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในอันดับ 3

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืนของคิวเอส ประจำปี 2567 – 20 อันดับแรก
 2567 
1 มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto) แคนาดา
2 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley) สหรัฐอเมริกา
3 มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (The University of Manchester) สหราชอาณาจักร
4 มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (University of British Columbia) แคนาดา
5 มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ (The University of Auckland) นิวซีแลนด์
6 อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) สหราชอาณาจักร
7 มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (The University of Sydney) ออสเตรเลีย
8 มหาวิทยาลัยลุนด์ (Lund University) สวีเดน
9 มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (The University of Melbourne) ออสเตรเลีย
10 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น (Western University) แคนาดา
=11 มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW Sydney) ออสเตรเลีย
=11 มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala University) สวีเดน
13 มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) แคนาดา
14 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ (Delft University of Technology) เนเธอร์แลนด์
=15 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สหรัฐอเมริกา
=15 มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh) สหราชอาณาจักร
17 มหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) สหราชอาณาจักร
18 สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (ETH Zurich) สวิตเซอร์แลนด์
19 มหาวิทยาลัยเดอรัม (University of Durham) สหราชอาณาจักร
20 มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) สหราชอาณาจักร

 

คุณเจสสิกา เทอร์เนอร์ ( Jessica Turner) ซีอีโอของคิวเอส ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดอันดับในฐานะเครื่องมือชี้วัดความพยายามของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการจัดการกับความท้าทายที่สำคัญ พร้อมกับชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่นักศึกษาให้ความสำคัญมีการเปลี่ยนแปลงไป [1] โดย 79% ให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนของสถานศึกษา และ 82% ศึกษาค้นคว้าแนวปฏิบัติเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาใส่ใจผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ข้อมูลสำคัญ

· แคนาดามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา และมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียครองอันดับสูงสุดของโลกในด้านความเท่าเทียม

· สหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เป็นผู้นำด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ขณะที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) มหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอนอาร์เบอร์ (University of Michigan-Ann Arbor) และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) มีความเป็นเลิศด้านโอกาสและความสามารถในการทำงาน

· สหราชอาณาจักรมีความโดดเด่นด้านธรรมาภิบาลและการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ติด 10 อันดับแรก

· มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ (อันดับ 14) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาคพื้นยุโรป

· สวีเดนมีมหาวิทยาลัยลุนด์ที่โดดเด่นในด้านความเท่าเทียม การแลกเปลี่ยนความรู้ และการวิจัยสิ่งแวดล้อม

· มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) (อันดับ 22) เป็นผู้นำของเอเชีย โดยรั้งอันดับ ด้านผลกระทบทางสังคม และรั้งอันดับ ด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

· มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) รั้งอันดับ ด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อม

· มหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan University) (อันดับ 142) ครองอันดับสูงสุดของจีน และมหาวิทยาลัยเดลี (University of Delhi) (อันดับ 220) ครองอันดับสูงสุดของอินเดีย

· มหาวิทยาลัยซิดนีย์ครองอันดับ ของโลกด้านผลกระทบทางสังคม ขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ตามมาเป็นอันดับ 2

· มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) (อันดับ 50) เป็นผู้นำของแอฟริกาในด้านความยั่งยืน ส่วนมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งเบรุต (American University of Beirut) เป็นผู้นำในตะวันออกกลาง และมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (Universidade de São Paulo) (อันดับ 67) เป็นผู้นำในลาตินอเมริกา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *