อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวศูนย์พัฒนาทักษะนวัตกรรม (Innovative Skills Center) เพื่อเสริมศักยภาพความสามารถพิเศษด้านดิจิทัล ให้กับบุคคลรุ่นถัดไป
อาลีบาบา คลาวด์ – ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป – ได้ประกาศความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเปิด Alibaba Cloud Academy Skills Center ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมของอาลีบาบา คลาวด์ แห่งแรกในโลก โดยมีเป้าหมายในการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับผู้มีความสามารถรุ่นใหม่ในประเทศไทยผ่านโครงการอบรมและโครงการริเริ่มในชุมชน นอกจากนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้นำเทคโนโลยีมีเดียโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์มาใช้ในการไลฟ์สตรีมมิ่งงานกิจกรรมต่าง ๆ และการสอนออนไลน์ เพื่อเสริมความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย
ศูนย์เสริมทักษะนวัตกรรมของอาลีบาบา คลาวด์ ตั้งอยู่ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นก้าวสำคัญในขับเคลื่อนโครงการบ่มเพาะผู้มีความสามารถในประเทศไทย ที่นี่เปิดโอกาสให้นิสิตจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป เข้าถึงหลักสูตรอบรมที่หลากหลายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงการเข้าร่วมค่ายบูทแคมป์ที่ได้รับการรับรองด้วยประกาศนียบัตร นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขัน AI และโครงการพัฒนาทักษะผู้นำแต่ละหลักสูตรการอบรมมีหัวข้อที่หลากหลาย ครอบคลุมเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยเริ่มจาก Generative AI และตามด้วยหลักสูตรด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งรวมถึงการประมวลผลแบบยืดหยุ่น (elastic computing) และการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า
ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับบุคลากรที่มีความสามารถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีมีเดียโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์ มาใช้เพื่อสนับสนุนการก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์ของมหาวิทยาลัย เดิมทีการไลฟ์สตรีมมิ่งนั้นต้องใช้เงินลงทุนเรื่องอุปกรณ์และการติดตั้งจำนวนมาก แต่อาลีบาบา คลาวด์ มีโซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์ เช่น ApsaraVideo Live และ Object Storage Service (OSS) เพื่ออำนวยความสะดวกการทำงานของสำนักงาน ฯ เช่น การจัดการสตรีม, การจัดการงานผลิตสื่อ งานบันทึกและแก้ไขออนไลน์ ช่วยให้บริการด้านเสียงและการถ่ายทอดสดมีความคมชัดสูงและไม่สะดุด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านมีเดียนี้ช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ เช่น งานเปิดบ้านแบบเวอร์ชวลหรือการสอนออนไลน์และการประชุมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรวดเร็วและความหน่วงน้อยที่สุด ทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นในระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม, ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปิดตัว Alibaba Cloud Academy Skills Center โดยกล่าวว่า “นี่เป็นก้าวที่สำคัญของจุฬาฯ ในการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นการมอบโอกาสการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้กับนิสิตและประชาคมจุฬาฯ เพื่อให้นิสิตมีเครื่องมือที่จำเป็นในการเสริมสร้างทักษะ และตอบโจทย์ความท้าทายในอนาคต นอกจากนี้ เรายังรู้สึกยินดีที่ได้นำโซลูชันด้านมีเดียของอาลีบาบา คลาวด์มาใช้ เพื่อเริ่มการทรานส์ฟอร์มสู่ระบบคลาวด์ ซึ่งจะช่วยด้านนวัตกรรมดิจิทัลของจุฬาฯ มอบประสบการณ์การศึกษาที่เหนือกว่า และสร้างมาตรฐานใหม่ในการเป็นเลิศทางวิชาการ”
คุณเซลิน่า หยวน ประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศของอาลีบาบา คลาวด์, กล่าวว่า “อาลีบาบา คลาวด์ มุ่งมั่นส่งเสริมนวัตกรรมผ่านการทำงานร่วมกัน เราตื่นเต้นมากที่ได้เปิดศูนย์ทักษะนวัตกรรมแห่งแรกของเราที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำมาซึ่งความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นทั่วโลก การทำงานร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเลิศทางวิชาการในประเทศไทย นับเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น เราหวังว่าศูนย์เสริมทักษะออฟไลน์และเทคโนโลยีไลฟ์สตรีมมิ่งแห่งแรกของเราจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ขยายขีดความสามารถด้านการวิจัย และเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับสากล”
ศูนย์ Alibaba Cloud Academy Skills Center มีพื้นที่ฝึกอบรมเฉพาะที่ตั้งอยู่ชั้น 4 ของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากงานฝึกอบรมแล้ว ศูนย์นี้ยังมีบทบาทเสมือนแพลตฟอร์มสำหรับการสรรหาบุคลากรเชิงกลยุทธ์ โดยมีการนำเสนอโอกาสในการทำงานประจำและโอกาสฝึกงานในด้านต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของอาลีบาบา คลาวด์ในการพัฒนาและบ่มเพาะผู้มีความสามารถในท้องถิ่น พร้อมทั้งเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานในระดับภูมิภาค
อาลีบาบา คลาวด์ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้มีความสามารถในประเทศไทย โดยสนับสนุนบริการด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง และจัดอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นิสิต อาจารย์ และนักวิจัย ผ่านโครงการ Academic Empowerment Program (AAEP) ที่เปิดตัวไปแล้ว โครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และแผนพัฒนา 20 ปีของประเทศที่เน้นการส่งเสริมนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสำหรับความยั่งยืน และมีนิสิตนักศึกษาหลายพันคนจากหลากหลายประเทศได้รับประโยชน์จากโครงการนี้