ม.เกริก จัดประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 19 ชูแนวคิด “การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน”

มหาวิทยาลัยเกริก จัดงานประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2566 “การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน” โดยมี นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติ อาคาร 2 มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพมหานคร


นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา กล่าวว่า การที่มหาวิทยาลัยเกริกได้จัดการประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี นับเป็นเรื่องที่ดีแก่วงการวิชาการ เพราะการจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งเวทีในการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ตลอดจนเป็นเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ และการบริการวิชาการแก่สังคมนั้น นับเป็นคุณูปการด้านการศึกษาที่สามารถบูรณาการสู่การพัฒนาประเทศในหลายมิติได้เป็นอย่างดี ดูจากผลงานทีนำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้มีหลายชิ้นที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติและใช้ได้จริง อีกทั้งบางผลงานยังสามรถนำไปต่อยอดหรือพัฒนาให้เป็นวิถีใหม่ในการพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมต่างๆในโลกได้ ขอชื่นชมสำหรับสิ่งที่ ม.เกริก ทำในวันนี้เพราะเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีให้กับหลายสถาบันการศึกษาและ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากร มหาวิทยาลัยเกริก ที่ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับชาติในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรต่างที่สนใจ เชื่อว่าประโยชน์จาการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นส่วนอีกหนึ่งส่วนสำคัญในการพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคม และประเทศชาติได้สืบไป


ด้าน รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน ว่า การจัดประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2566 หัวข้อ “การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน” ในครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งจากภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคม โดยการนำเสนอผลการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR) ร่วมกับชุมชน การเปิดโอกาสให้นักศึกษา มีส่วนร่วมในการแสดงผลงานด้านการวิจัย อันจะเกิดประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยและสังคมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกริกยังได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญในวงการ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำจากประเทศมาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน มาบรรยายพิเศษด้วยระบบ online และ onsite การนำเสนอผลการวิจัย การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน การนำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น หรือ CBR ซึ่งมหาวิทยาลัยดำเนินการมากว่า 8 ปี และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิชาการภายนอกจากภาคีเครือข่ายสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ Nanyang Institute of Management, Asian Islamic Universities Association (AIUA), Islamic University of Maldives (IUM) เป็นต้น โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมภายในห้องประชุม และทางออนไลน์ประมาณ 1,000 คน ซึ่งประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยต่างๆหล่านี้ก็ค่อนข้างหลาหลาย เช่นการพัฒนากลุ่มอาชีพระดับชุมชนให้มีความมั่นคงและมีการยอมรับโดยถูกต้องตามกฎหมาย และยังได้รับสิทธิ์ในการส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนจากภาครัฐ ในการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยน์ต่อการพ้ฒนา คาดหวังว่าการจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเพื่อนำไปบูรณาการด้านการศึกษา หรือใช้ในการการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงานประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 19 นี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ Achieving Sustainability through Reinvention and Resilience Towards UNISSA Smart Islamic Institution โดย Prof. Dr. Abdul Hafidz Omar, Dean of Faculty of Islamic Technology, Universiti Islam Sultan Sharif Ali (UNISSA) Brunei Darussalam และ การบรรยายพิเศษ หัวข้อ The current needs and issues in cross-border higher education โดย Prof. Liu Zhenping, Vice-Dean, School of International Education of Nanning Normal University อีกทั้งยังมีการนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2 เรื่อง โดยเป็นทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเกริก ได้แก่ 1. โครงการวิจัย “การพัฒนากลุ่มอาชีพน้ำพริกเห็ดสู่วิสาหกิจชุมชน กับการมีส่วนร่วมของ ชุมชนพูนทรัพย์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ” โดย ผศ.ดร.ชเนตตี พิพัฒนางกูร และคณะ 2. โครงการวิจัย “การยกระดับความรู้สู่การพัฒนาหลักสูตรบัญชีชุมชนที่มีมาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ” โดย ผศ.จินดาจอกแก้ว และคณะ และปิดท้ายด้วยการนำเสนอผลงานวิชาการของอาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลภายนอกอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *