กสศ.จัดเวทีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ เเละรวบรวมข้อมูลที่มาของปัญหาพร้อมทั้งเเนวเเก้ไข

การขับเคลื่อนนโยบายครั้งนี้ทาง กสศ. สหภาพยุโรป มูลนิธิเเอ็คชั่นเอดเเละเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศไทย สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย สมาคมไทบ้าน เครือข่ายโรงเรียนปลายทางครูรักษ์ถิ่น ชมรมนักจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงและห่างไกลได้จัดเวทีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกล อย่างมีส่วนร่วม ครั้งที่ 1 “ยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ห่างไกล ความเสมอภาคที่เป็นจริงได้” 

โดยมีผู้อำนวยการ ครูจากโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศเข้าร่วมยื่นข้อเสนอทางออกการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก เเละมี พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ร่วมรับฟังและรับข้อเสนอจากเครือข่ายไปทำงานต่อตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข”

ภายในงานก็จะมีการเเลกเปลี่ยน รับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอเเนะ เเละความร่วมมือจากภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน เเละภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ได้มาร่วมเเลกเปลี่ยนความเห็นในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ห่างไกล ความเสมอภาคที่เป็นจริงได้ ในครั้งนี้ด้วย

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)  ได้กล่าวว่ามีข้อเสนอนโยบาย 4 ประเด็น  สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่เรียกว่า Stand Aloneหรือ protected school ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กบนเกาะ บนดอย ไม่สามารถยุบและควบรวมได้ตามมติคณะรัฐมนตรี  บางโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติเเละเขตป่าสงวนต้องการการดูแลสนับสนุน โรงเรียนเหล่านี้เป็นความหวังเดียวที่อยู่ในพื้นที่นั้นที่จะมีการศึกษา  ถ้าเราสามารถสนับสนุนให้โรงเรียนเหล่านี้จัดการศึกษาต่อไปได้ ความหวังก็จะยังมีอยู่ในชุมชน

ประเด็นที่ 1 คือ เรื่องของคน

ระบบผลิตเเละพัฒนาครูที่ตอบโจทย์ชุมชน เเละการจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอ

ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องของงบประมาณ

ปรับสูตรจัดสรรงบประมาณเพื่อมาตรฐานโรงเรียนคุณภาพโรงเรียนขั้นต่ำ

ประเด็นที่ 3 คือ นวัตกรรมการเรียนการสอน

ห้องเรียนคละชั้นเเละเทคโนโลยีทางการศึกษา

ประเด็นที่ 4 คือ All for Education

ชุมชน/ท้องถิ่นร่วมเป็นเจ้าของ

เเละข้อเสนอเรื่องของโรงเรียนขนาดเล็ก Non-Protected school

  1. เปลี่ยนโจทย์โรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นเเหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัยตั้งเเต่วัยเด็ก วัยทำงาน เเละวัยสูงอายุ (ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต เชื่อมโยงกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ.2566)
  2. ปรับกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคเพื่อให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียนได้ เช่นการใช้งบประมาณข้ามหน่วยงาน หรือ การถ่ายโอนสังกัดเพื่อท้องถิ่นสามารถดูเเลโรงเรียนได้อย่างเต็มที่

เเละทั้งหมดนี้คือข้อเสนอของกสศ.เเละหน่วยงานทั้งระดับพื้นที่และระดับประทศ และระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนให้อนาคตของโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น protected school  หรือ non protected school สามารถที่จะมีความยั่งยืนและเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง

รวมทั้งภายในงานยังมีศูนย์เเบ่งต่อมูลนิธิกระจกเงา ร่วมกับ กสศ. จัดงาน

“ธนาคารโอกาสเเละถนนครูเดิน” นำข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์การเรียนการสอน มาบริจาคให้กับคุณครูเเละเด็กในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล

 

ติดตามรับชมการถ่ายทอดวิดิโอย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/EEFthailand/videos/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *