ย้อนดูไทม์ไลน์ “ระบบการคัดเลือกนักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัย” มีอะไรที่เปลี่ยนเเปลงบ้าง?

ย้อนดูวิวัฒนาการ “ระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย” เปลี่ยนเเปลงยังไงบ้าง?

ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนเเปลงระบบการสอบให้ไปตามกับยุคสมัยเพื่อใช้คัดเลือกนักเรียนมัธยมให้ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย จากยุค “Entrance” สู่ยุค TCAS มีอะไรที่ถูกเปลี่ยนเเปลงไปบ้าง วันนี้ทางเพจ Eduzones จะชวนเพื่อนๆมาย้อนดูวิวัฒนาการการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง เเละเเต่ละยุคต้องเจอกับการสอบรูปเเบบไหนบ้าง

ระบบการคัดเลือกนักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัย เปลี่ยนระบบมาทั้งหมด 5 ครั้ง มีอะไรบ้าง?

1.ระบบ Entrance ยุคเเรก ปี (2504-2542)

ระบบการสอบยุคเเรกที่ยังไม่มีหน่วยงานกลางเข้ามาดูเเลเป็นทางการ เเต่เกิดจากความร่วมมือกันของเเต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในยุคนั้น จัดขึ้นมากันเอง เพื่อเเก้ปัญหาเรื่องของนักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายสมัครสอบเเต่ละที่หลายครั้ง โดยมีสภาการศึกษาเเห่งชาติเป็นผู้ประสานงาน

รูปแบบการสอบยุคนี้ เปิดให้นักเรียนเลือกคณะที่สนใจเข้าศึกษาได้ 4 อันดับ (ภายหลังปี 2516 เปลี่ยนเป็น 6 อันดับ) จากนั้นก็เข้าสอบ เอ็นทรานซ์ 

โดยใช้คะเเนนสอบ เอ็นทรานซ์ 100% ไม่ต้องใช้เกรดเฉลี่ยในโรงเรียนเเละสามารถสอบเทียบได้ หากมีความรู้ความสามารถ ซึ่งเป็นการสอบเเบบครั้งเดียว หากไม่ติดต้องรอสอบใหม่ปีหน้า

2.ระบบ Entrance ยุคใหม่ ปี (2542-2548)

โดยเปิดให้สอบ เอ็นทรานซ์ 2 ครั้งคือ ช่วงเดือนตุลาคม เเละเดือนมีนาคม เพื่อให้นักเรียนได้รู้คะเเนนสอบของตัวเองก่อน เเละสามารถเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดของตัวเองก่อน เเละสามารถนำคะเเนนที่ดีที่สุดของตัวเองมายื่นได้ สามารถเลือกยื่นได้ 4 อันดับ 

รวมถึงสัดส่วนคะเเนนที่เปลี่ยนไปจากเดิมใช้คะเเนนสอบ เอ็นทรานซ์100% ในยุคนี้ได้มีการเพิ่มวิธิคิดสัดส่วนคะเเนนใหม่ โดยใช้เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมปลาย (GPAX) มาร่วมคิดคะเเนนด้วย ประมาณ 10%

3.ระบบ Admissions : O-NET, A-NET ปี (2549-2552)

ในยุคต่อมา ระบบ Admissions ก็ได้มีการยกเลิกระบบเอ็นทรานซ์เข้าสู่ยุคระบบกลางการรับนิสิต ที่เรียกว่า “Admissions” เเทน เเละได้มีการเพิ่มรูปเเบบข้อสอบเเบบใหม่ขึ้นมาในชื่อ O-NET เเละ A-NET เข้ามาเป็น 1 ในสัดส่วนการคิดคะเเนนในยุคนี้

ซึ่งสัดส่วนคะเเนนนั้น ประกอบด้วยเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมปลาย (GPAX) 30% รวมกับคะเเนน O-NET เเละ A-NET

การสอบ O-NET จะเป็นการสอบขั้นพื้นฐานทั่วไป 8 วิชา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย สอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ส่วน A-NET จะเป็นข้อสอบเสริมที่จะมีความยากขึ้นกว่า O-NET เน้นด้านการคิดวิเคราะห์มากขึ้นอีก 5 วิชา เเต่ A-NET สามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้งและสามารถเลือกคะเเนนครั้งที่ดีที่สุดได้

4.ระบบ Admissions : GAT/PAT ปี (2553-2560)

หลังจากถูกตั้งคำถามในเรื่องมาตรฐานของข้อสอบ A-NET ที่ทำให้หลายมหาวิทยาลัยหันมาเปิดรับตรงมากขึ้น ก็ได้มีการยกเลิกการสอบ และปรับมาใช้ข้อสอบแบบใหม่ซึ่งเป็นการสอบวิชาความถนัดในด้านต่าง ๆ หรือที่คุ้นหูกันว่า GAT/PAT

โดย GAT จะเป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป ส่วน PAT จะเป็นการทดสอบความถนัดทางด้านวิชาชีพ เปิดให้สอบได้ 2 – 3 ครั้งแล้วแต่ปี

ซึ่งสัดส่วนคะแนนยังคงมีคะแนน O-NET มาคิด 30% รวมกับ GPAX 20% และคะแนน GAT/PAT ครั้งที่ดีที่สุดประมาณ 50 % ซึ่งแล้วแต่คณะ แล้วแต่มหาวิทยาลัยจะกำหนด

ต่อมาในปี 2555 ทางกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท. ให้ความเห็นว่าการสอบ GAT/PAT นั้นไม่ตอบโจทย์การคัดเลือกนักเรียกจริง ๆ จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดสอบ 7 วิชาสามัญ รวมถึงระบบ ‘เคลียริงเฮาส์’ เพิ่มเข้ามาในปีนี้ เพื่อลดปัญหาเด็ก ๆ สอบติดแต่กั๊กที่เรียนกัน

กระทั่งปี 2558 ได้มีการปรับลดวิชาในข้อสอบ O-NET ลงจาก 8 วิชาเหลือ 5 วิชา โดยตัดวิชาศิลปะ, พลศึกษา, สุขศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยีออก

แต่พอในปี 2559 แม้จะลดวิชา O-NET ลงไปแล้ว แต่ก็ได้เพิ่มการสอบจาก “7 วิชาสามัญ” เป็น “9 วิชาสามัญ” แทน โดยได้มีการเพิ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กสายศิลป์เพิ่ม

5.ระบบ TCAS ปี (2561-2564)

ระบบล่าสุดที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ได้มีการเลิกใช้คำว่า “Admission” เปลี่ยนมาเรียกว่าระบบ  Thai University Central Admission System หรือ TCAS แทน ซึ่งรูปแบบการสอบในยุคนี้ ได้เลื่อนการสอบทั้งหมดมาสอบช่วงหลังจบ ม.6 ทั้งหมด และลดการสอบทั้งหมดเหลือเพียงอย่างละครั้งเดียว

โดยมีการเปิดรับสมัครทั้งหมด 5 รอบ ได้เเก่

รอบที่ 1 ยื่นด้วยเเฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ไม่มีการสอบข้อเขียน เเละให้ทางมหาวิทยาลัยคัดเลือกเด็กโดยตรง

รอบที่ 2 รับเเบบโควต้า (Quota) เหมาะสำหรับเด็กที่อยู่ในพื้นที่/ภาคที่มีโควต้าโรงเรียน เเละโครงการความสามารถพิเศษ

รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน เลือกได้ 4 สาขา โดยไม่มีลำดับ (อาจจะผ่านได้ทั้งหมด 4 อันดับ เเล้วเลือกสาขาที่ต้องการ)

รอบที่ 4 การรับเเบบเเอดมิชชั่น เลือกได้ 4 สาขา โดยมีลำดับคล้ายกับระบบ Admission เดิม

รอบที่ 5 รับตรงเเบบอิสระ บางเเห่งอาจจะเรียกว่ารอบเก็บตก คัดเลือกโดยสถาบัน/มหาวิทยาลัย โดยตรงเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กมีที่เรียนในสถาบันที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น

จนถึงปี 2564 ได้มีการยุบรอบการคัดเลือดเหลือ 4 รอบ โดยมีเกณฑ์รอบรับตรงร่วมเเละรอบเเอดมิชชั่นเหมือนเดิม เเต่เปิดให้ยื่นคะเเนนพร้อมกัน

นักเรียนสามารถเลือกได้สูงสุด 10 อันดับ มีการประกาศผล 2 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กสละสิทธ์ เเละมีการประมวลผลเรียกตัวสำรอง ให้มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้

อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ยิบย่อยอีกเช่นกัน โดยในการรับเข้าปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลงจากรับ 5 รอบ เหลือเพียง 4 รอบ โดยเอารอบ 3 และ 4 เข้ามาไว้รวมกัน แต่ยังคงใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกันเช่นเดิม เสมือนเป็นการให้สิทธิ์ยื่นคะแนน 2 ครั้ง ใน 1 รอบ

แม้ว่าระบบ TCAS ที่ใช้อยู่นี้จะมีอายุเพียงแค่ 5 ปีก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ได้มีการปรับเกณฑ์ครั้งสำคัญอีกครั้ง กลายเป็น TCAS 2.0 โดยจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2566

วัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ ?

  1. ลดความซ้ำซ้อนของรายวิชาสอบ
  2. เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งาน โดยเนื้อหาจะออกไม่เกินหลักสูตร
  3. เปลี่ยนจากการสอบ GAT/PAT/วิชาสามัญ เป็น TGAT/TPAT/A-Level แทน
  4. มีให้เลือกสอบผ่านคอมพิวเตอร์ หรือกระดาษ อย่างใดอย่างหนึ่ง
  5. คะแนนเต็ม 100 คะแนน เท่ากันทุกวิชา

 

TCAS66 ได้มีการเปลี่ยนจากการสอบ GAT/PAT เป็น TGAT/TPAT โดย TGAT มีเนื้อหาประกอบไปด้วย การสื่อสารภาษาอังกฤษ การคิดอย่างมีเหตุผล และสมรรถนะการทำงานในอนาคต เต็ม 300 คะแนน

ส่วน TPAT จะมีความคล้าย PAT เเต่จะตัดให้เหลือเพียง วิชาสถาปัตยกรรม (PAT4)

ครุศาสตร์ (PAT5) ศิลปกรรมศาสตร์ (PAT6) เเละได้เพิ่มวิชา กสพท เเละวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เเละวิศวกรรม เข้ามา โดยเเต่ละวิชามีคะเเนนเต็ม 100 คะเเนน

ส่วนด้าน 9 วิชาสามัญก็มีการเปลี่ยนเเปลงรูปเเบบด้วย หรือเรียกว่า A-Level โดยส่วนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไม่เยอะมาก เเค่ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักสูตรในห้องเรียน เพิ่มวิชาภาษาต่างประเทศอื่นๆ หรือ PAT7 เดิมเข้ามา เเละได้มีการรวบวิชาคณิตสาสตร์ 1 เเละ 2 เข้ามาอยู่รวมกัน เเต่สามารถที่จะเลือกทำเเค่ส่วนใดส่วนหนึ่งได้

นอกจากเปลี่ยนเเปลงวิชาที่สอบเเล้ว เกณฑ์รับเข้ายังคงเหมือนระบบก่อนหน้านี้ที่ได้มีการอัปเดตในปี 2564 เเต่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าระบบดังกล่าวนี้จะถูกใช้ต่อไปอีกนานเเค่ไหน ยังไงนักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ต้องรอติดตามเเละทำความเข้าใจกับกฎเกณฑ์ระบบคัดเลือกเข้าศึกษาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้พลาดจากคณะเเละสาขาที่ตัวเองฝันไว้

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *