คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรับผลการประเมินนิสิต ไม่มีเกรด A-F

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรับผลการประเมินนิสิต ไม่มีเกรด A-F
.
เหตุผลที่ปรับเกณฑ์
- สร้างสมดุล ระหว่าง การสร้างแพทย์ที่ไว้วางใจ กับ การดูแลสุขภาวะของนิสิต
- ส่งเสริมให้นิสิตเน้นการเรียนรู้ ลดความเครียดที่ไม่จำเป็นจากการคาดหวังเกรด
- ให้นิสิตเคิบโตและพัฒนาเป็นแพทยืในแบบของตนเอง
- พัฒนาการประเมินผลให้ทัดเทียมกับโรงเรียนแพทย์ชั้นนำระดับโลก
.
ถ้าไม่มีเกรด จะแสดงผลอย่างไร?
- ใช้การประเมินผลแบบ non-tiered grading system (S/U)
- S : Satisfactory สำหรับการผ่านการประเมินผลอย่างครบถ้วน
.
แล้วจะพัฒนาตนเองได้อย่างไร?
- คณะจะมีรายงานผลการศึกษาโดยละเอียดให้นิสิตแต่ละคนสามารถไปพัฒนาตนเองได้
.
สำหรับการรเรียนต่อเฉพาะทาง ?
- คณะได้เชิญอาจารย์ผู้ดูแลการคัดเลือกแพทย์เฉพาะทางทุกสาขาวิชามาประชุมร่วมกันแล้ว ที่ประชุมเห็นว่า ให้คณะจัดทำระเบียนประวัติเพื่อแสดง “ความเป็นแพทย์ในแบบของนิสิตแต่ละคน” ซึ่งประกอบด้วย วิชาที่นิสิตเลือกเรียน รางวัล ผลงานวิจัย นวัตกรรม ประวัติการทำกิจกรรมที่โดดเด่น และ “ความเป็นเลิศ (Excellence)”
.
คณะจำแนก ความเป็นเลิศ (Excellence) ในการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็น 3 ด้าน
- ความเป็นเลิศด้านวิชาการ (academic)
- ความเป็นเลิศด้านสมรรถนะและการปฏิบัติงาน (competency & performance)
- ความเป็นเลิศด้านความเป็นวิชาชีพ (professionalism)
.
ยังคงมีเกียรตินิยมหรือไม่ ?
- คณะตระหนักถึงความคาดหวังของนิสิตและผู้ปกครอง ในช่วงเปลี่ยนผ่านแนวคิดนี้ จึงยังคงไว้ซึ่งการให้ปริญญาเกียรตินิยม โดยการให้ปริญญาเกียรตินิยมจะพิจารณาจาก
- ความเป็นเลิศในการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้
- ระยะเวลาการศึกษา
- การไม่เคยได้รับสัญลักษณ์
- การไม่เคยถูกตัดคะแนนความประพฤติ
- การไม่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
.
แหล่งที่มา : คลิก